ลาลเจาก์
ตั้งชื่อตาม | การปฏิวัติรัสเซีย |
---|---|
ที่ตั้ง | ศรีนคร ชัมมูและกัศมีร์ อินเดีย |
PIN | 190001 |
พิกัด | 34°04′16″N 74°48′38″E / 34.0712°N 74.8106°E |
ลาลเจาก์ (อักษรโรมัน: Lal Chowk, แปลว่า จัตุรัสแดง) เป็นจัตุรัสนครในศรีนคร ชัมมูและกัศมีร์ ประเทศอินเดีย ชื่อของจัตุรัสตั้งโดยนักเคลื่อนไหวฝ่ายซ้ายที่ได้รับแรงบันดาลใจจากการปฏิวัติรัสเซียและต่อสู้กับมหาราชาแห่งรัฐมหาราชาชัมมูและกัศมีร์ มหาราชาหริ สิงห์[1] ที่นี่ถือเป็นสถานที่นัดพบและปราศรัยทางการเมืองของศรีนครมาอย่างยาวนาน ทั้งนายกรัฐมนตรีอินเดีย ชวาหัรลาล เนห์รู และผู้ว่าการชัมมูและกัศมีร์ เฉก อับดุลลอห์ ล้วนเคยปราศรัยแก่สาธารณชนในศรีนครโดยเลือกปราศรัยอยู่ที่ลาลเจาก์
พื้นที่ของลาลเจาก์กินพื้นที่สองฝั่งของถนนเรสซิเดนซี (Residency Road) ระหว่างสะพานอมิรา กาดัล และโรงเรียนตินเดล บิสโก และกลายมาเป็นศูนย์กลางย่านการค้าที่สำคัญของศรีนครนับตั้งแต่ศตวรรษที่ยี่สิบเป็นต้นมา[2] ปลายฝั่งตะวันออกของลาลเจาก์เป็นวงเวียน และตรงกลางมีหอนาฬิกา (ฆัณฏาฆัร; ganta ghar) ซึ่งสร้างขึ้นโดยบายัจอิเล็กตริกัลส์ในปี 1980[3][4]
ประวัติศาสตร์
[แก้]ลาลเจาก์เป็นสถานที่ที่ซึ่งชวาหัรลาล เนห์รู นายกรัฐมนตรีอินเดียคนแรก กางธงชาติอินเดียสู่สาธารณะในปี 1948 ไม่นานหลังได้รับเอกราชจากจักรวรรดิอังกฤษ[1] ภายหลังสงครามระหว่างอินเดียกับปากีสถานในปี 1947-48 เนห์รูได้ยืนปราศรัยที่ลาลเจาก์โดยให้คำมั่นสัญญาแก่ชาวกัศมีร์ว่าจะให้ลงคะแนนเสียงในประชามติเพื่อตัดสินอนาคตของดินแดนกัศมีร์ นอกจากนี้ เฉก อับดุลลอห์ ผู้ว่าการชัมมูและกัศมีร์คนแรกที่มาจากการเลือกตั้ง ยังประกาศความภักดีต่อเนห์รูและอินเดียที่ลาลเจาก์ เขากล่าวกลอนคู่ภาษาเปอร์เซีย ว่า "Man Tu Shudam, Tu Man Shudi, Taqas Na Goyed, Man Degram Tu Degri" (เราเป็นท่าน และท่านเป็นเรา; เมื่อนั้นไม่มีใครจะว่าเราแยกกันได้)[1]
การชักธงที่หอนาฬิกา
[แก้]ในปี 1990 กลุ่มแบ่งแยกดินแดนกัศมีร์ได้ประกาศท้าทายให้ใครก็ตามไปแขวนธงชาติที่ลาลเจาก์ หองกำลังรักษาความปลอดภัยแห่งชาติรับคำท้านี้และนำธงชาติอินเดียขึ้นแขวนที่ลาลเจาก์[1] หอนาฬิกา (ฆัณฏาฆัร) กลายมาเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญทางการเมืองในปี 1992 เมื่อหัวหน้าพรรคบีเจพี มุรลี มโนหัร โชษี นำเอาธงชาติอินเดียห้อยลงบนยอดหอนาฬิกาเนื่องในวันสาธารณรัฐ[5][6] ร่วมกับกองทัพอินเดีย นับจากนั้นมา หองกำลังรักษาชายแดน และ กองกำลังตำรวจกลาง เป็นผู้จัดพิธีชักธงชาติอินเดียขึ้นที่หอนาฬิกาฆัณฏาฆัรเรื่อยมาจนถึงปี 2009 ซึ่งยกเลิกพิธีนี้ไปเพราะว่า "เป็นพิธีการที่ไม่มีความจำเป็น" เนื่องจากหอนาฬิกานี้ "ไม่มีความสำคัญใดในทางการเมือง"[7] นับจากนั้นมา พิธีชักธงในวันสาธารณรัฐและวันเอกราชได้เปลี่ยนไปจัดที่สนามกีฬาบากชี ในย่านวาฌีร์บาฆ (Wazir Bagh) แทน
หมายเหตุ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 Nandal, Randeep Singh (26 January 2011). "All eyes on other R-Day march to Lal Chowk". The Times of India. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 November 2012. สืบค้นเมื่อ 2011-01-28.
- ↑ Alkazi, Feisal (2014), Srinagar: An Architectural Legacy, Roli Books, p. 128, ISBN 9789351940517
- ↑ Ganai, Naseer (January 17, 201). "A 'minor' symbol of nationalism in Srinagar". India Today (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-01-10.
- ↑ ANI (7 August 2021). "Clock Tower at Srinagar's Lal Chowk illuminated in tricolour". The Times of India. สืบค้นเมื่อ 2021-08-09.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ "For 5 years, he unfurled the Tricolour at Lal Chowk". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-18. สืบค้นเมื่อ 2022-08-15.
- ↑ LAL CHOWK TO LALAN COLLEGE, MODI MOCKS NEW DELHI
- ↑ Fazili, Ehsan (25 January 2016). "When BJP chief Joshi unfurled national flag at Lal Chowk". Tribuneindia News Service (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-08-09.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)