ลัทธิมาลินดี
คณะสงฆ์ข่าวดีนานาชาติ | |
---|---|
กลุ่ม | ขบวนการศาสนาใหม่ เชื่อในวันสิ้นโลก, ต่อต้านตะวันตก |
ความโน้มเอียง | ลัทธิแบรนแฮม |
ผู้นำ | พอล นเตงเง แม็กเคนซีย์ (Paul Nthenge Mackenzie, 2003–ปัจจุบัน) |
ภูมิภาค | มณฑลกีลีฟี ประเทศเคนยา |
ผู้ก่อตั้ง | พอล นเตงเง แม็กเคนซีย์ |
ต้นกำเนิด | 2003 |
สิ้นสุด | 2019 (ศาสดาอ้าง) 2023 (ตำรวจอ้าง) |
เว็บไซต์ทางการ | goodnewsintlministries |
คณะสงฆ์ข่าวดีนานาชาติ (อังกฤษ: Good News International Ministries; GNIM) หรือรู้จักทั่วไปในชื่อ ลัทธิมาลินดี (อังกฤษ: Malindi cult) หรือชื่อเดิม คณะสงฆ์ผู้รับใช้ พี.เอ็น. แม็กเคนซีย์ (Servant P. N. Mackenzie Ministries) เป็นขบวนการศาสนาใหม่ที่มีศูนย์กลางที่ชากาโฮลา มณฑลกีลีฟี ประเทศเคนยา ก่อตั้งขึ้นโดยพอล นเตงเง แม็กเคนซีย์ (Paul Nthenge Mackenzie) กับภรรยาคนแรก ในปี 2003[1]
กลุ่มนี้กลายมาเป็นที่สนใจในระดับนานาชาติในเดือนเมษายน 2023 หลังมีการเปิดเผยอ้างโทษว่าแม็กเคนซีย์ได้สั่งให้สมาชิกของลัทธิทำการฆ่าตัวตายหมู่โดยการอดอาหารเพื่อจะได้ "พบพระเยซู" เป็นผลให้มีผู้เสียชีวิต 110 ราย กลุ่มศาสนาใหม่นี้มักถูกบรรยายว่าเป็นลัทธิบูชา (cult)[1][2][3] มีแนวคิดต่อต้านตะวันตกอย่างสุดโต่ง โดยสิ่งอำนวยความสะดวกในชีวิตทั้งบริการการแพทย์, การศึกษา และกีฬา ถูกมองว่าเป็น "ปิศาจของชีวิตแบบตะวันตก" และตัวแม็กเคนซีย์เองยังกล่าวประณามสหรัฐอเมริกา, สหประชาชาติ ไปจนถึงคริสต์จักรคาทอลิก ว่าเป็น "เครื่องมือของเซตาน" คำสอนส่วนใหญ่ของกลุ่มมุ่งเน้นไปที่วันสิ้นโลก และเป็นสาวกของ "วาทะวันสิ้นโลก" (End-Time Message) ของวิลเลียม แบรนแฮม[2][4] นักสืบที่สอบสวนกรณีนี้ระบุว่ากลุ่มถูกชักจูงให้มีแนวคิดสุดขั้วและนำไปสู่ความตาย เป็นเพราะคำสอนของแบรนแฮม[5]
แม็กเคนซีย์ก่อตั้ง GNIM ขึ้นในปี 2003 และมีผู้ติดตามจำนวนพอสมควร เนื่องมาจากเขาอ้างกับคนเหล่านี้ว่าตนสามารถสื่อสารกับพระเป็นเจ้าได้โดยตรง[6] นับตั้งแต่ปลายทศวรรษ 2010s เรื่อยมา กลุ่มของแม็กเคนซีย์เริ่มได้รับคลื่นความสงสัยระลอกใหม่เกี่ยวกับวิถีปฏิบัติภายใน ในปี 2017 แม็กเคนซีย์และภรรยาถูกหมายจับจำนวนมากเกี่ยวกับกลุ่มของเขา เขาต้องโทษปลุกปั่นให้นักเรียนละทิ้งการศึกษาหลังเขาประกาศว่าการศึกษาเป็น "สิ่งที่ขัดกับพระเจ้า" ("ungodly") รวมถึงการปฏิเสธบริการทางการแพทย์ให้กับเด็ก ๆ ซึ่งเป็นผลให้มีเด็กเสียชีวิต ในปี 2017 เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลสามารถกู้ตัวเด็กรวม 93 คนออกมาจากลัทธิได้[7] หลังการจับกุมอีกครั้งในปี 2019 เขาได้หนีออกจากมาลินดี และมุ่งหน้าไปป่าชากาโฮลา ที่ซึ่งเกิดการอดอาหารหมู่ในปี 2023
แม็กเคนซีย์ไม่ได้เข้าร่วมการอดอาหารหมู่ครั้งนี้ และถูกทางการจับกุม[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Kenyan authorities find 39 bodies during investigation of religious cult leader". PBS NewsHour (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 23 April 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 April 2023. สืบค้นเมื่อ 24 April 2023.
- ↑ 2.0 2.1 Dickson, Wakesa (23 April 2023). "Kilifi Cult: Police so far discover 58 shallow graves". Mandy News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 April 2023. สืบค้นเมื่อ 23 April 2023.
- ↑ Obulutsa, George; Shirbon, Estelle (25 April 2023). "Kenya hunger cult deaths reach 89, minister prays survivors will 'tell the story'". Reuters (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 April 2023. สืบค้นเมื่อ 25 April 2023.
- ↑ Wampui, Peninah (24 April 2023). "11 Things you didn't know about Shakahola Pastor Mackenzie". Mpasho News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 April 2023. สืบค้นเมื่อ 24 April 2023.
- ↑ Njoka, Sophia (27 April 2023). "Mackenzie: Cult leader who led legions to death". Peoples Daily. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 April 2023. สืบค้นเมื่อ 28 April 2023.
- ↑ "About Us". Good News Ministries. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 April 2023. สืบค้นเมื่อ 20 April 2023.
- ↑ Okwembah, Nehemiah. "Controversial preacher to close down church". The Standard (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 April 2023. สืบค้นเมื่อ 27 April 2023.
- ↑ Kimeu, Caroline (2023-05-02). "Kenyan cult leader accused of inciting children to starve to death". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2023-05-03.