ข้ามไปเนื้อหา

ลัทธิภักดีอัลสเตอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ธงสหภาพ, ธงอัลสเตอร์ และ ธงออเรนจ์ออร์เดอร์ซึ่งนิยมเชิญโดยกลุ่มภักดีอัลสเตอร์

ลัทธิภักดีอัลสเตอร์ (อังกฤษ: Ulster loyalism) เป็นกลุ่มหนึ่งของลัทธิสหภาพนิยมแบบอัลสเตอร์ เป็นที่นิยมในกลุ่มชนชั้นแรงงานศาสนิกชนโปรเตสแตนต์ในอัลสเตอร์ ไอร์แลนด์เหนือ เช่นเดียวกับกลุ่มสหภาพนิยมอื่น ๆ กลุ่มภักดีมีแนวคิดภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ของอังกฤษ, สนับสนุนการคงอยู่ของไอร์แลนด์เหนือในฐานะส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร และต่อต้านแนวคิดสหภาพไอร์แลนด์ ลัทธิภักดีแบบอัลสเตอร์ได้รับการอธิบายว่าเป็นรูปแบบหนึ่งของชาตินิยมชาติพันธุ์ในศาสนิกชนโปรเตสแตนต์ชาวอัลสเตอร์ และเป็น "ความหลากหลายแบบหนึ่งของลัทธิชาตินิยมอังกฤษ"[1][2] โดยทั่วไปอาจปรากฏเรียกกลุ่มภักดีแบบอัลสเตอร์สั้น ๆ ว่ากลุ่มผู้ภักดี (loyalist) หรือลัทธิภักดี (loyalism)

กลุ่มภักดีอัลสเตอร์ส่วนใหญ่สนับสนุนการดำรงอยู่ของไอร์แลนด์เหนือในฐานะประเทศของสหราชอาณาจักร หรือที่เรียกว่าแนวคิดแบบสหภาพนิยม (unionism) ในอดีต คำว่า 'unionist' (กลุ่มสหภาพนิยม) และ 'loyalist' (กลุ่มภักดี) ใช้แทนกันและกันได้ทั่วไป จนกระทั่งการก่อตัวของเดอะทรับเบิลส์ คำว่า 'loyalist' (กลุ่มภักดี) มักนำมาใช้เรียกกลุ่มสหภาพนิยมที่เป็นกองกำลัง[3][4] นอกจากนี้ยังมีการนิยามกลุ่มภักดีว่าเป็นผู้จงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์อังกฤษซึ่งเป็นโปรเตสแตนต์เป็นหลัก มากกว่าที่จะภักดีต่อรัฐบาลและสถาบันอื่น ๆ ของประเทศอังกฤษ[5] นักวิชาการ การ์เรท ฟิตซ์เจอรัลด์อ้างว่ากลุ่มภักดีนั้นภักดีต่อ 'อัลสเตอร์' เป็นหลัก มากกว่าต่อ 'สหภาพ'[6] ในขณะที่ชนกลุ่มน้อยของกลุ่มภักดีเรียกร้องรัฐโปรเตสแตนต์อัลสเตอร์ซึ่งเป็นเอกราช เนื่องจากไม่เชื่อมั่นในคำมั่นสัญญาของรัฐบาลอังกฤษ (ดูเพิ่มที่ ลัทธิชาตินิยมอัลสเตอร์)

อ้างอิง

[แก้]
  1. Ignatieff, Michael. Blood and Belonging: Journeys into the New Nationalism. Vintage, 1994. p.184.
  2. John McGarry and Brendan O'Leary. Explaining Northern Ireland. Wiley, 1995. pp.92–93.
  3. Bruce, Steve. The Red Hand: Protestant Paramilitaries in Northern Ireland. Oxford University Press, 1992. p.15.
  4. Glossary of terms on the Northern Ireland conflict เก็บถาวร 2010-12-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Conflict Archive on the Internet (CAIN)
  5. Alison, Miranda. Women and Political Violence. Routledge, 2009. p.67.
  6. Cochrane, Fergal. Unionist Politics and the Politics of Unionism since the Anglo-Irish Agreement. Cork University Press, 2001. p.39.

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Potter, John Furniss. A Testimony to Courage – the Regimental History of the Ulster Defence Regiment 1969 – 1992, Pen & Sword Books Ltd, 2001, ISBN 0-85052-819-4
  • Ryder, Chris. The Ulster Defence Regiment: An Instrument of Peace?, 1991 ISBN 0-413-64800-1

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]