ข้ามไปเนื้อหา

ละอองฟอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ละอองฟอง
ละอองฟองในปี พ.ศ. 2557 ที่เวรี่ทีวี
ละอองฟองในปี พ.ศ. 2557 ที่เวรี่ทีวี
ข้อมูลพื้นฐาน
รู้จักในชื่อนักออกแบบดนตรีสีสวย
Graphic Music Designer
ที่เกิดไทย กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
แนวเพลงป็อป
ช่วงปีพ.ศ. 2537 - ปัจจุบัน
ค่ายเพลงร่องเสียงลำไย (พ.ศ. 2537–2539)
สไปซีดิสก์ (พ.ศ. 2548–ปัจจุบัน)
สมาชิกกรกมล ชัยวัฒนเมธิน (ร้องนำ)
ตนุภพ โนทยานนท์ (กีต้าร์)
พงศ์จักร พิษฐานพร (เบส)
อดีตสมาชิกวิสาห์ อัทธเสรี (พ.ศ. 2537–2539)
วิชญ วัฒนศัพท์ (พ.ศ. 2537–2539)
ดนพ ศรีขาว (พ.ศ. 2537–2539)
เว็บไซต์facebook.com/laongfongband

ละอองฟอง (อังกฤษ: La Ong Fong) เป็นวงดนตรีของไทยที่แนวเพลงได้รับอิทธิพลจากเพลงแนวสวีดิชป็อป มีจุดเด่นที่ดนตรีที่สดใสที่เป็นการผสมผสานระหว่าง แจ๊ส ป็อป และร็อก และเสียงร้องที่ใสของนักร้อง[1]

ประวัติ

[แก้]

ชื่อวง ละอองฟอง มาจากคำว่า อองฟอง (enfant) ในภาษาฝรั่งเศส แปลว่าเด็ก ๆ เนื่องมาจากเสียงของนักร้องนำจะเล็ก ๆ ฟังสบาย ๆ เพลงของละอองฟองจะมีเสียงเด็ก ๆ เข้ามาผสมด้วย รวมไปถึงมุมมองของเพลงจะมองโลกในแง่ดี แต่ด้วยความที่เป็นคนไทย จึงได้เปลี่ยนมาใช้คำไทย ละอองฟอง แทน ซึ่งหมายถึง ละอองของฟอง ที่ใส ล่องลอย เปรียบกับเพลงที่ฟังสบาย [2]

วงละอองฟองเริ่มมาจาก เอ๊ะ กับ ชมพู่ ได้พบกันในงานประกวดร้องเพลง Coke Duet Contest 1995 ซึ่งเป็นงานประกวดร้องเพลงจากอัลบั้มชุด ขนนกกับดอกไม้ ซึ่งเป็นเพลงคู่ของธงไชย แมคอินไตย์ หลังจากงานนั้น ชมพู่ก็ได้ไปเป็นศิลปินที่แกรมมี่ จึงชวนเอ๊ะมาทำวงด้วย เอ๊ะจึงได้ชวนฟลุ๊คซึ่งเป็นรุ่นพี่ที่โรงเรียนเก่าและอยู่วงเดียวกันมาเล่นเป็นมือกลองให้กับวง ต่อมาได้ชวนโหน่ง มือคีย์บอร์ด ซึ่งโหน่งทำเพลงนิทานที่เอ๊ะไปพากย์อยู่แล้ว หลังจากนั้นสมาชิกของวง ยังขาดมือกีตาร์อีก 1 คน โหน่งจึงแนะนำ แมน กีตาร์ รุ่นน้องที่มหาวิทยาลัย

วงก่อตั้งขึ้นในช่วงที่กระแสเพลงทางเลือก (อัลเทอร์เนทีฟ) ก่อตัวขึ้นครั้งแรกในประเทศไทย ราว พ.ศ. 2539

อัลบั้มชุดแรกของละอองฟอง Volume 1 ไม่ประสบความสำเร็จเท่าใดนัก ทั้งด้านยอดขาย และเสียงตอบรับจากผู้ฟังในตลาดทั่วไป ทำให้หลังจากนั้นสมาชิกของวงก็แยกย้ายกันไป

พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 ละอองฟองออกอัลบั้ม Volume 2 โดยสมาชิก 3 คน เป็นสมาชิกเดิม 2 คน คือ แมน ตนุภพ โนทยานนท์ (กีตาร์) กับ เอ๊ะ พงศ์จักร พิษฐานพร (เบส/ร้อง) โดยเพิ่มสมาชิกใหม่ ออน กรกมล ชัยวัฒนเมธิน (ร้องนำ) อัลบั้มนี้ได้เสียงตอบรับจากผู้ฟังดีมาก ทั้งจากกลุ่มผู้ฟังใหม่และแฟนเพลงเดิม หลังจากนั้นจึงได้ออกอัลบั้มเต็ม Cozy Collection เมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2548

ในการจัดอันดับ The Fat 100 100 เพลงประจำปี พ.ศ. 2548 ของสถานีวิทยุแฟตเรดิโอ เพลง ต่างใจเดียว จากอัลบั้ม Cozy Collection ติดอันดับที่ 77 และอันดับสูงสุดที่เคยทำได้ในการจัดอันดับประจำสัปดาห์ (The Fat 40) คือ อันดับที่ 17 นอกจากนี้ยังเป็นเพลงอยู่ในชาร์ตของแฟตเรดิโอ ประจำปี พ.ศ. 2548 นานที่สุดเป็นอันดับ 3 คือ 29 สัปดาห์ คู่กับเพลง จอมยุทธ์ โดย พีทูวอร์ชิป

ในปี พ.ศ. 2554 ละอองฟองได้กลับมารวมตัวกันอีกครั้งพร้อมลุคและอัลบั้มใหม่ Wind-up City มีเพลงฮิตคือเพลง แอบชอบ ทำให้ละอองฟองเหมือนได้เกิดใหม่ โดย มิวสิควิดีโอแต่ละเพลงของละอองฟอง ยังได้เสียงตอบรับเป็นอย่างดี

การจัดอันดับ "The Fat 100" ของปี พ.ศ. 2554 เพลงของละอองฟอง อยู่ในชาร์ตถึง 3 เพลง ได้แก่ เพลง อะไร อยู่ในอันดับที่ 25 ที่เคยขึ้นถึงอันดับ 3 ในการจัดอันดับประจำสัปดาห์ เพลง แอบชอบ อยู่ในอันดับที่ 42 ซึ่งเคยขึ้นสูงสุดในอันดับ 2 ในการจัดอันดับประจำสัปดาห์ และเพลง รักเปิดเผย ที่อยู่ในอันดับ 69

เพลง อะไร ยังได้ถูกเปิดและติดอันดับ Top 10 ของคลื่น J-Wave คลื่นวิทยุในประเทศญี่ปุ่น ทำให้เพลง อะไร และอัลบั้ม Wind-up City มีวางจำหน่ายในประเทศญี่ปุ่นอีกด้วย [3]

ในปี พ.ศ. 2557 ละอองฟอง ได้ร่วมงานในฐานะทูตประชาสัมพันธ์ การท่องเที่ยวเมืองนะงะซากิ ประเทศญี่ปุ่น ทำให้มีโอกาส ทำอัลบั้มพิเศษ Feel Romance 長崎浪漫 (นางาซากิโรแมนซ์ เป็นเพลงในแนว ชิบุยาเกะ แนวเพลงป๊อปชนิดหนึ่งของญี่ปุ่น มีมุมมองในโลกแห่งความเป็นจริงมากขึ้น แต่ยังคงเนื้อหาแง่คิดบวก ฟังแล้วผ่อนคลายอารมณ์ดี มีที่มาจาก เอ๊ะ ได้ไปถ่ายทำภาพยนตร์ ฟัดจังโตะ ที่ออกฉายเมื่อปี พ.ศ. 2556 ทำให้ได้เจอกับทีมงานประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวและบันเทิงของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งกำลังต้องการเปลี่ยนมุมมองของคนทั่วไปต่อเมืองนะงะซะกิและฮิโรชิมะในสายตาคนไทย จากภาพจำของ เมืองที่ถูกระเบิดปรมาณู ให้กลายเป็น เมืองแห่งสันติภาพและความรัก ซึ่งมีภาพลักษณ์เข้ากับวง ละอองฟอง ที่มีรอยยิ้มและความสุข เดิมวางแผนให้การแต่งเพลงใหม่ทั้งหมดและทำมิวสิกวิดีโอเป็นอัลบั้มพิเศษ แต่หลังจากที่วง ละอองฟอง ได้ทำกิจกรรมต่าง ๆ ในประเทศญี่ปุ่น มีโอกาสได้ร้องเพลงให้ ผู้ว่าราชการจังหวัดนะงะซะกิ ทำให้ ละอองฟอง เป็นวงดนตรีไทยวงแรกที่ได้รับการแต่งตั้งเป็น ทูตประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเมืองนางาซากิ อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ส่งผลให้มิวสิกวิดีโอของเพลงในอัลบั้มนี้สะท้อนให้เห็นสถานที่ท่องเที่ยวและวัฒนธรรมของญี่ปุ่น สอดคล้องกับเป้าหมายทางการทูต [4]

ช่วง สิงหาคม - กันยายน พ.ศ. 2558 เอ๊ะ ละอองฟอง ได้รับเลือก ร่วมกับ แดน วรเวช ดานุวงศ์ จากโครงการความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น ตั้งวงดนตรีเฉพาะกิจ ซังคิวแบนด์ (SanQ-Band) (SanQ แปลว่า "999" (เลขเก้าสามตัว) ซึ่งเป็นเลขมงคล และพ้องกับ การเล่นคำในภาษาญี่ปุ่น ย่อมาจาก "Thank you") เป็นโปรเจกค์เรียลลิตี้ทางดนตรี ที่ เกาะคีวชู ประเทศญี่ปุ่น โดยถ่ายทำภาพยนตร์ SanQ-Band Kyushu The Movie สารคดีบันทึกการเดินทาง เพื่อทำภารกิจใช้ชีวิตร่วมกับผู้คนใน 7 จังหวัด เป็นเวลา 30 วัน พร้อมแสดงดนตรีตามบ้านและตามถนนหนทาง เพื่อประชาสัมพันธ์เพลงสร้างฐานแฟนคลับ และขายซีดีอัลบั้มเพลง 999 แผ่น แล้วเปิดแสดงคอนเสิร์ต และนำมาตัดต่อเพิ่มและฉายทางโทรทัศน์ช่อง True4U เป็นรายการ SanQ-Band Kyushu The Series [5] [6] [7] เพลงในอัลบั้ม ได้แก่

  • เพื่อนร่วมทาง / Friendship / 風の旅人 (คาเซะโนะทาบิบิโตะ)
  • สองมือเปล่าๆ / My Empty Hand / 空っぽの手 (คะรัปโปะโนะเตะ)
  • ไฟท์โตะ / Fight!
  • คิดถึงเธอ…มากไป / Miss You So … / こいしすぎて (โคะอิชิซุกิเตะ)

ในปี พ.ศ. 2559 เอ๊ะ ละอองฟอง และ แมน ละอองฟอง ได้ร่วมงานกับ บริษัท บีเอ็นเค โฟร์ตี้เอท ออฟฟิศ จำกัด ต้นสังกัดของ บีเอ็นเค48 ในตำแหน่ง ผู้อำนวยการด้านเพลง (Music Director) ทำหน้าที่แต่งเพลงในเวอร์ชันภาษาไทย, ควบคุมการผลิตเพลง,ครูสอนร้องเพลง ให้สมาชิกในวง และทั้งสองคนก็ยังเป็นผู้ออกแบบ BNK48 The Campus อีกด้วย

สมาชิก

[แก้]
สมาชิกยุคปัจจุบัน
  • กรกมล ชัยวัฒนเมธิน (ออน) - ร้องนำ - เภสัชกร
  • พงศ์จักร พิษฐานพร (เอ๊ะ) - เบส/ร้อง - นอกจากเป็น นักดนตรี นักเขียนเพลง ยังเป็นนักออกแบบ มัณฑนากร นักเขียนบทความในคอลัมน์หนังสือหลายเล่ม เป็นเจ้าของรีสอร์ท เดอะ ปูคา บูติค รีสอร์ท ที่เชียงใหม่ และเป็น ผู้อำนวยการด้านเพลงและครูใหญ่ ให้กับสมาชิกวง BNK48
  • ตนุภพ โนทยานนท์ (แมน) - กีตาร์ - นอกจากเป็น นักดนตรี นักเขียนเพลง ยังเป็น มัณฑนากรอิสระ และเป็น ผู้อำนวยการร่วมด้านเพลงและครูสอนร้องเพลง ให้กับสมาชิกวง BNK48
อดีตสมาชิกในยุคแรก

ผลงาน

[แก้]

Volume 1

[แก้]

สังกัด ร่องเสียงลำใย (2539) แนวเพลงเป็นการผสมผสานระหว่างดนตรี Jazz Pop และ Rock ใน Sound ดนตรีในยุค 60 ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจาก The Cardigans ซึ่งเป็นวง Swedish pop

  1. วัน
  2. ลา
  3. ขอบฟ้า
  4. เรา
  5. รัก
  6. คืน
  7. ลม
  8. มนต์
  9. พัก
  10. ฝัน
  11. วัน Acoustic Version (Bonus Track)

EP Volume 2

[แก้]

ไม่มีสังกัด (พ.ย. 2547)

อัลบั้มนี้ เป็นแผ่นตัด มีจำนวน 4 เพลง ผลิตจำนวนจำกัด แค่ 2,000 แผ่นเท่านั้น ซึ่งผลิตและขายในช่วงของงาน Fat Festival ครั้งที่ 4 ที่สนามม้านางเลิ้ง เป็นครั้งแรกที่ละอองฟอง มีบูธขายซีดี และการแสดงสดเป็นครั้งแรกของออน นักร้องนำ และละอองฟอง เช่นกัน ซึ่งอั้ลบั้มนี้ทางละอองฟองนั้นทำเอง ผลิตเอง ออกแบบปกเทปเอง ทำทุกอย่างเองหมด
  1. ลอง
  2. ฝากฟ้า
  3. แมสเสจรัก
  4. ลันลา...เมื่อได้พบเธอ

Cozy Collection

[แก้]

สังกัด สไปซีดิสก์ (ก.ย. 2548)

  1. ต่างใจเดียว
  2. ฝากฟ้า
  3. คิดถึง
  4. ลันลา...เมื่อได้พบเธอ
  5. แมสเสจรัก
  6. คนบนฟ้า
  7. เธอกับฉัน
  8. เริงร่า
  9. ดอกไม้ข้าง ๆ เธอ
  10. ต่างใจเดียว (minus)
  11. ลอง

EP เหงาจนชิน

[แก้]

สังกัด สไปซีดิสก์ (พ.ย. 2550)

  1. เหงาจนชิน
  2. เธอจะเชื่อไหม
  3. เธอกับฉัน (Demo Version)

LOVE STORY

[แก้]

สังกัด สไปซีดิสก์ (2552)

  • สิ่งที่ไม่รู้

TALES

[แก้]

สังกัด สไปซีดิสก์ (2552)

  • ขอบฟ้า แผ่นน้ำ ระยะทางระหว่างสองเรา

Past Forward

[แก้]

สังกัด สไปซีดิสก์ (2553)

อัลบั้มโปรเจกต์พิเศษจาก พิชัย จิราธิวัฒน์ ผู้บริหารค่าย Spicy Disc (สไปร์ซซี่ ดิสก์) ที่ชักชวนอีกหนึ่งผู้บริหาร ณฐพล ศรีจอมขวัญ มาร่วมงาน

โดย ละอองฟอง ได้เลือกเพลงของคุณแจ้ ดนุพล แก้วกาญจน์ มาขับร้องใหม่ในรูปแบบของ ละอองฟอง เอง

  1. ฝันลำเอียง

สังกัด สไปซีดิสก์ (2554)

ขณะนี้ทางวงละอองฟองได้ออกอัลบั้มใหม่ หลังจากห่างหายไปนานกว่า 7 ปี (ไม่นับอัลบัม EP) โดยส่งเพลง "อะไร" ซึ่งได้ บอย - ตรัย ภูมิรัตน มาช่วยแต่งเนื้อร้องเพลงนี้ให้ บวกเข้ากับกลิ่นอายของของดนตรี jazz, blue, disco (แจ๊ส, บลูส์, ดิสโก) และเปลี่ยนวิธีการแต่งตัวและวิธีการนำเสนอการแสดงให้มีรูปแบบที่เปลี่ยนไปในทุกครั้งการแสดง ตามชื่ออัลบั้ม Wind-up City คือการไขลานเมืองเพื่อนำความสุขมาให้ทุกคน
  1. So In Love
  2. แอบชอบ
  3. กอดเธอได้ไหม
  4. อะไร
  5. เหงาจนชิน
  6. เมื่อไหร่จะเช้า
  7. แค่ฝันก็พอ
  8. รักเปิดเผย
  9. รอ
  10. ใครหนอ
  11. เธอทั้งนั้น
  12. ขอบคุณนะ

OST เพลงประกอบภาพยนตร์ คุณนายโฮ M39

[แก้]

เพลง ง้อแง้ งอแง (2556)

บทเพลงที่บอกเล่าเรื่องราวของผู้หญิงคนนึงที่มีความ ง๊อง แง๊ง ถ่ายทอดออกมาได้สดใส ตามแบบฉบับ ละอองฟอง และยังมีท่าเต้นที่หลาย ๆ คน นำไป Cover

OST เพลงประกอบภาพยนตร์ ฟัดจังโตะ M39

[แก้]

Feel Romance Nagasaki

[แก้]

สังกัด สไปซีดิสก์ (2557) อัลบั้มวางจำหน่าย 29 สิงหาคม ประกอบด้วย เพลงแต่งใหม่ 2 เพลง ได้แก่

  • คิด / Miss แนวเพลงเพิ่มร็อกเล็กน้อย กล่าวถึง อยากมีใครสักคนอยู่ข้างๆ
  • ลืมได้แล้ว / Remind ร้องโดย เอ๊ะ กล่าวถึง รักที่ไม่ได้สมหวังทุกครั้ง แต่ต้องข้ามผ่านอดีตไปให้ได้

และ เพลงจากอัลบั้ม Wind-Up City นำมาแปลงเนื้อเป็นเวอร์ชันภาษาญี่ปุ่น 3 เพลง ได้แก่

  • แอบชอบ / Secret Admiring / อิมะซุงุ อะอิตะอิ / いますぐ あいたい
  • อะไร / What
  • รักเปิดเผย / Openly Love

งานพิเศษและผลงานร่วมกับศิลปินอื่น ๆ

[แก้]
  • คนอื่นอีกมากมาย - ต่างบ้าน ต่างคน บนเฉลียง ซึ่งเป็นการนำเพลงของวงเฉลียงมาทำใหม่ (2539)
    • เพลง เธอกับฉันและคนอื่น ๆ[8]
  • FAT CODE อัลบั้มรวมศิลปินจาก แฟตเรดิโอ และ แฟตเฟสติวัล
  • Lucky Soul ใน EP Lucky Soul สังกัด สไปซีดิสก์ (2549)
    • เพลง Lips are unhappy (Thai version feat. La-Ong-Fong) [12]
    • เพลง ลอง (Remix) [13]
  • นายสะอาด - มนต์ชีพ ศิวะสินางกูร อัลบั้ม มนต์ชีพ สตูดิโอ สติวเด้นท์ I
    • เพลง สถาบันของคนอกหัก feat. ออน ละอองฟอง[14]
  • สิงห์ Sqweez Animal อัลบั้ม Inversoul (2550)
    • เพลง ย้ำ feat. ออน ละอองฟอง [15]
  • แสตมป์ อภิวัชร์ เอื้อถาวรสุข อัลบั้ม Million Ways To Write Part 1 สังกัด โซนี่มิวสิค (2551)
  • Basket Band อัลบั้ม One One สังกัด จีนี่เรคคอร์ด (2554)
    • เพลง คนน่ารักมักใจร้าย 8 Bit version Feat. ออน ละอองฟอง [17]
  • The Mousses The Moussses อัลบั้ม Twenty Something สังกัด จีนี่เรคคอร์ด (2554)
    • เพลง Tears and Travel Feat. ออน ละอองฟอง [18]
  • RENDEZ-VOUS voyage อัลบั้มรวมเพลงสากลจาก J-Wave วางจำหน่ายในประเทศญี่ปุ่น (2555)
    • เพลง อะไร [19]
  • Tattoo colour อัลบั้ม สัตย์จริง สังกัด Smallroom (2560)
    • เพลง เย็นไว้ก่อน
  • ห่างกันนิดหน่อย...พักนึง - คณะครู BNK48 x ละอองฟอง
  • เพลงประกอบซีรีส์ The Shipper จิ้นนายกลายเป็นฉัน
    • เพลง แคร์ไกลไกล

ผลการสำรวจความนิยม

[แก้]

2548

[แก้]
  • เพลง ต่างใจเดียว ติดอันดับที่ 77 ของการจัดอันดับ The Fat 100 ประจำปี 2548 โดยเคยขึ้นสูงสุดที่อันดับ 17 ในการจัดอันดับประจำสัปดาห์ นอกจากนี้ยังเป็นเพลงอยู่ในชาร์ตของแฟตเรดิโอ ประจำปี พ.ศ. 2548 นานที่สุดเป็นอันดับ 3 คือ 29 สัปดาห์ คู่กับเพลง จอมยุทธ์ โดย พีทูวอร์ชิป[20]

2554

[แก้]
  • เพลง อะไร ติดอันดับที่ 25 ของการจัดอันดับ The Fat 100 ประจำปี 2554 โดยเคยขึ้นสูงสุดที่อันดับ 3 ในการจัดอันดับประจำสัปดาห์ [21]
  • เพลง แอบชอบ ติดอันดับที่ 42 ของการจัดอันดับ The Fat 100 ประจำปี 2554 โดยเคยขึ้นสูงสุดที่อันดับ 2 ในการจัดอันดับประจำสัปดาห์[22]
  • เพลง รักเปิดเผย ติดอันดับที่ 69 ของการจัดอันดับ The Fat 100 ประจำปี 2554 โดยเคยขึ้นสูงสุดที่อันดับ 11 ในการจัดอันดับประจำสัปดาห์ [23]
  • อัลบั้ม Wind-up City ได้รับการจัดอันดับเป็น 1 ใน 10 อัลบั้มแห่งปี ในการจัดอันดับของนิตยสาร Hamburger
  • เพลง อะไร ได้รับการจัดอันดับเป็น 1 ใน 10 เพลงฮิต ของคลื่นวิทยุ J-Wave คลื่นวิทยุชื่อดังของประเทศญี่ปุ่น

2555

[แก้]
  • ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล You2play Awards 2011 สาขา Favorite Music Video จาก MV เพลง รักเปิดเผย [24]
  • ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล Seed Awards ครั้งที่ 7 สาขา ศิลปินกลุ่ม/คู่สุดซี้ดแห่งปี จากอัลบั้ม Wind-up City และ สาขา Music Video สุดซี้ดแห่งปี จาก MV เพลงรักเปิดเผย [25]
  • ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล Nine Entertain Awards 2011 สาขาศิลปินกลุ่มยอดเยี่ยมแห่งปี จากอัลบั้ม Wind-up City และ สาขาเพลงแห่งปี จากเพลง รักเปิดเผย [26]
  • ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล Cheeze Awards ครั้งที่ 2 บุคคลผู้เป็นแรงบันดาลใจในการแต่งตัวให้กับผู้อื่น สาขา Best MV Style Icon จาก MV เพลง แอบชอบ
  • ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล Bang Awards 2012 สาขา ศิลปินสามัคคีชุมนุม[27]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "La Ong Fong". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-09. สืบค้นเมื่อ 2011-04-07.
  2. ที่มาของชื่อวงละอองฟอง
  3. ละอองฟอง ดันเพลงอะไร ดังไกลถึงประเทศญี่ปุ่น[ลิงก์เสีย]
  4. สยามโซน
  5. รายการตื่นมาคุย WoodyTalk
  6. รายการเรื่องเล่าเช้านี้ บีอีซี-เทโร
  7. ช่องอย่างเป็นทางการของ ซังคิวแบนด์ ในยูทูป
  8. ละอองฟอง - เพลง เธอกับฉันและคนอื่นๆ
  9. ละอองฟอง - วัน FatCode
  10. ละอองฟอง - ต่างใจเดียว Fat Code 2
  11. ละอองฟอง ลิปตา เบน - บ้านของหัวใจ
  12. ละอองฟอง - Lips are unhappy (Thai version)
  13. Lucky soul feat. ละอองฟอง La Ong Fong - ลอง (remix)
  14. นายสะอาด feat. ออน ละอองฟอง - สถาบันคนอกหัก
  15. Sqweez Animal สิงห์ - ย้ำ Commit
  16. ร่ม - Stamp บอย ตรัย, ออน ละอองฟอง
  17. คนน่ารักมักใจร้าย 8 Bit version Feat. ออน ละอองฟอง
  18. Tears and Travel - The Mousses feat. ออน ละอองฟอง
  19. "อัลบั้ม RENDEZ-VOUS voyage โดยคลื่นวิทยุ J-wave ประเทศญี่ปุ่น". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-03. สืบค้นเมื่อ 2012-05-23.
  20. "The Fat 100 2005". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-29. สืบค้นเมื่อ 2012-04-20.
  21. The Fat 100 2011 อันดับ 25 เพลง อะไร ละอองฟอง
  22. The Fat 100 2011 อันดับ 42 เพลง แอบชอบ ละอองฟอง
  23. The Fat 100 2011 อันดับ 69 เพลง รักเปิดเผย ละอองฟอง
  24. "You2play Awards 2011 Nominees : ละอองฟอง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-06. สืบค้นเมื่อ 2012-04-20.
  25. ศิลปินชื่อดังกว่า 60 ชีวิต ตบเท้าร่วมเปิดโผ Seed Awards ครั้งที่ 7
  26. "สุดยอดรางวัลศิลปินยอดเยี่ยม @nine entertain award 2012". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-21. สืบค้นเมื่อ 2012-04-20.
  27. "Bang Awards 2012". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-26. สืบค้นเมื่อ 2012-04-20.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]