ลตา มังเคศกร
ลตา มังเคศกร | |
---|---|
มังเคศกรใน ค.ศ. 2013 | |
เกิด | เหมา มังเคศกร 28 กันยายน ค.ศ. 1929 อินดอร์ รัฐอินดอร์ หน่วยงานกลางอินเดีย บริติชราช (ปัจจุบันคือรัฐมัธยประเทศ ประเทศอินเดีย) |
เสียชีวิต | 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2022 มุมไบ รัฐมหาราษฏระ ประเทศอินเดีย | (92 ปี)
ชื่ออื่น | ราชินีแห่งเสียงเพลง ไนติงเกลแห่งอินเดีย เสียงแห่งสหัสวรรษ |
อาชีพ |
|
ปีปฏิบัติงาน | ค.ศ. 1942–2022 |
บิดามารดา |
|
ญาติ | ตระกูล Mangeshkar-Hardikar-Abhisheki |
รางวัล | |
เกียรติยศ |
|
สมาชิกรัฐสภา ราชยสภา | |
เขตเลือกตั้ง | เข้าชิง (Arts) |
ดำรงตำแหน่ง 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1999 – 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 2005 | |
อาชีพทางดนตรี | |
แนวเพลง | |
เครื่องดนตรี | เสียงร้อง |
ลายมือชื่อ | |
ลตา มังเคศกร (มราฐี: लता मंगेशकर, [ləˈtaː məŋˈɡeːʃkər] ( ฟังเสียง); ชื่อเกิด เหมา มังเคศกร; 28 กันยายน ค.ศ. 1929 – 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2022)[8] เป็นนักร้องและนักแต่งเพลงชาวอินเดีย เธอได้รับการกล่าวถึงอย่างกว้างขวางว่าเป็นหนึ่งในนักร้องที่ยิ่งใหญ่ที่สุดและมีอิทธิพลมากที่สุดในอินเดีย[9][10] เธอมีส่วนร่วมในอุตสาหกรรมดนตรีอินเดียเป็นเวลาแปดทศวรรษ ซึ่งทำให้เธอได้รับฉายาต่าง ๆ เช่น "ราชินีแห่งเสียงเพลง", "ไนติงเกลแห่งอินเดีย" และ "เสียงแห่งสหัสวรรษ"[11]
ลตาบันทึกเสียงเพลงในภาษาอินเดียมากกว่า 36 ภาษา และภาษาต่างชาติบางภาษา ส่วนใหญ่บันทึกในภาษามราฐี ฮินดี และเบงกอล[11] ส่วนภาษาต่างชาติ ได้แก่อังกฤษ รัสเซีย ดัตช์ เนปาล และสวาฮีลี[12] เธอได้รับรางวัลและเครื่องอิสริยาภรณ์หลายตำแหน่ง โดยใน ค.ศ 1989 รัฐบาลอินเดียได้ให้รางวัล Dadasaheb Phalke Award แก่เธอ[13] จากนั้นใน ค.ศ. 2001 เธอได้รับรางวัลภารตรัตนะ รางวัลพลเมืองชั้นสูงสุดของอินเดีย โดยเป็นสตรีคนที่สองที่ได้รับรางวัลนี้ (คนแรกที่ได้รับคือ M. S. Subbulakshmi)[14] ทางฝรั่งเศสได้ให้เครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ชั้นเจ้าพนักงานแก่เธอใน ค.ศ. 2007[15]
เธอได้รับรางวัล National Film Awards 3 รางวัล, Bengal Film Journalists' Association Awards 15 รางวัล, Filmfare Best Female Playback Award 4 รางวัล, Filmfare Special Award 2 รางวัล, Filmfare Lifetime Achievement Award และอื่น ๆ ใน ค.ศ. 1974 เธอเป็นหนึ่งในนักร้อง playback ชาวอินเดียคนแรกที่แสดงในรอยัลอัลเบิร์ตฮอลล์ในลอนดอน สหราชอาณาจักร เพลงบันทึกสุดท้ายของเธอคือ "Saugandh Mujhe Is Mitti ki" ที่เผยแพร่ในวันที่ 30 มีนาคม ค.ศ. 2019 เพื่ออุทิศแด่กองทัพบกและชาติอินเดีย[16]
ณ จุดหนึ่ง ทางบันทึกสถิติโลกกินเนสส์จัดให้เธอเป็นศิลปินที่มีการบันทึกเสียงมากที่สุดในประวัติศาสตร์ช่วง ค.ศ. 1948 ถึง 1987[17]
อาชีพนอกจากการร้องเพลง
[แก้]นักแต่งเพลง
[แก้]ลตา มังเคศกรแต่งเพลงครั้งแรกใน ค.ศ. 1955 ให้กับภาพยนตร์ภาษามราฐี Ram Ram Pavhane จากนั้นในคริสต์ทศวรรษ 1960 เธอได้แต่งเพลงในภาพยนตร์ภาษามราฐีหลายเรื่องภายใต้นามแฝง Anand Ghan[18][19][20]
- 1950 – Ram Ram Pavhana
- 1963 – Maratha Tituka Melvava
- 1963 – Mohityanchi Manjula
- 1965 – Sadhi Manase
- 1969 – Tambadi Mati
เธอได้รับรางวัลผู้กำกับเพลงดีเด่นในภาพยนตร์ Sadhi Manase จากรัฐบาลรัฐมหาราษฏระ ส่วนเพลง "Airanichya Deva Tula" จากภาพยนตร์เดียวกันก็ได้รับรางวัลเพลงดีเด่น[21]
ผู้ผลิต
[แก้]ลตา มังเคศกรผลิตภาพยนตร์สี่เรื่อง:[22]
- 1953 – Vaadal (มราฐี)
- 1953 – Jhaanjhar (ฮินดี) ร่วมกับ ซี. รามจันทรา
- 1955 – Kanchan Ganga (ฮินดี)
- 1990 – Lekin... (ฮินดี)
ป่วยและเสียชีวิต
[แก้]ณ วันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 2022 มังเคศกรมีผลตรวจโควิด-19 เป็นบวก พร้อมกับอาการไม่รุนแรง และถูกส่งตัวไปรักษาในโรงพลาบาลบรีช แคนดีที่มุมไบ เธอยังคงอยู่ในห้องแผนกผู้ป่วยหนัก พร้อมกับสัญญาณที่ "ดีขึ้นเล็กน้อย" จากนั้นในวันที่ 28 มกราคม คุณหมอถอดเครื่องช่วยหายใจ หลังสุขภาพของเธอ "ดีขึ้นเล็กน้อย"[23] อย่างไรก็ตาม เธอกลับต้องใช้เครื่องช่วยหายใจอีกครั้งในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ หลังสุขภาพเธอแย่ลง และอยู่ภายใต้ "การบำบัดเชิงรุก"[24]
มังเคศกรเสียชีวิตจากกลุ่มอาการการทำหน้าที่ผิดปกติของหลายอวัยวะในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2022 ด้วยอายุ 92 ปี เธอได้รับการรักษาจากโรคปอดอักเสบกับโควิด-19 อย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 28 วัน[25][26]
รัฐบาลอินเดียประกาศไว้อาลัยเป็นเวลาสองวัน และลงธงชาติครึ่งเสาในวันที่ 6 ถึง 7 กุมภาพันธ์ทั่วประเทศ[27] จากนั้นในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2022 Usha ผู้เป็นน้องสาว กับ Adinath Mangeshkar ผู้เป็นหลานชาย แช่อัฐิของมังเคศกรในแม่น้ำโคทาวรีที่ Ramkund นาศิก[28]
ข้อโต้แย้ง
[แก้]ใน ค.ศ. 1974 บันทึกสถิติโลกกินเนสส์จัดให้ลตา มังเคศกรเป็นศิลปินที่มีการบันทึกเสียงมากที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยระบุว่า เธอรายงานว่าบันทึก "เพลงเดี่ยว เพลงคู่และประสานเสียงมากกว่า 25,000 เพลงในภาษาอินเดีย 20 ภาษา" ในช่วง ค.ศ. 1948 ถึง 1974 Mohammad Rafi โต้แย้งสถิติของเธอ โดยอ้างว่าเขาร้องเพลงประมาณ 28,000 เพลง[29][30] หลังการเสียชีวิตของ Rafi บันทึกสถิติโลกกินเนสส์ฉบับ ค.ศ. 1984 ระบุชื่อเธอว่า "บันทึกเสียงมากที่สุด" แต่ก็ระบุข้ออ้างของ Rafi ด้วย บันทึกสถิติโลกกินเนสส์ฉบับภายหลังระบุว่าเธอร้องเพลงไม่น้อยกว่า 30,000 เพลงในช่วง ค.ศ. 1948 ถึง 1987[31]
บันทึกสถิติโลกกินเนสส์ฉบับ ค.ศ. 1991 ยกเลิกหมวดนี้โดยไม่อธิบายสาเหตุ ในขณะที่ข้อมูลบางส่วนยังคงอ้างว่าเธอบันทึกเพลงพันกว่าเพลง โดยมีการประมาณการจำนวนเพลงสูงถึง 50,000 เพลง[32][33] อย่างไรก็ตาม แม้แต่ข้ออ้าง 25,000 เพลง (ช่วง ค.ศ. 1948 ถึง 1974) ของกินเนสส์ ก็มีคนอื่นบางส่วนพิพาทและอ้างว่าจำนวนเพลงที่เธอร้องในภาพยนตร์ภาษาฮินดีจนถึง ค.ศ. 1991 มีเพียง 5,025 เพลง[34][35][36][37] มังเคศกรกล่าวว่าเธอไม่ได้บันทึกจำนวนเพลงที่เธอร้องบันทึกไว้ และเธอไม่รู้ว่าทางบันทึกสถิติโลกกินเนสส์เอาข้อมูลมาจากไหน[38] ใน ค.ศ. 2011 ทางกินเนสส์ได้ฟื้นฟูหมวดนี้ โดยให้เครดิต Asha Bhosle น้องสาวของเธอ เป็นศิลปินที่มีการบันทึกเสียงมากที่สุดในประวัติศาสตร์ "ด้วยเพลงเดี่ยว เพลงคู่และประสานเสียงสูงถึง 11,000 เพลงในภาษาอินเดียมากกว่า 20 ภาษาตั้งแต่ ค.ศ. 1947"[39] นับตั้งแต่ ค.ศ. 2016 สถิติปัจจุบันตกเป็นของ P. Susheela ด้วยบันทึกเพลงอย่างน้อย 17,695 เพลงใน 6 ภาษา ซึ่งไม่รวมบันทึกช่วงแรกที่สูญหาย[40][41]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Playlist Ghazals – Lata Mangeshkar on Gaana.com". Gaana.com.
- ↑ "Lata releases first Sufi album, credits nephew" https://www.freepressjournal.in/amp/entertainment/lata-releases-first-sufi-album-credits-nephew
- ↑ "Playlist Bhakti By Lata Mangeshkar on Gaana.com". Gaana.com.
- ↑ "Playlist Bengali Folk Songs of Lata on Gaana.com". Gaana.com.
- ↑ "Lata Sings Gurbani Songs Download: Lata Sings Gurbani MP3 Punjabi Songs Online Free on Gaana.com" https://gaana.com/album/amp/lata-sings-gurbani.html เก็บถาวร 2022-06-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "Lata Mangeshkar: The nightingale's tryst with Rabindra Sangeet". The Statesman. 28 September 2018. สืบค้นเมื่อ 4 December 2018.
- ↑ "Perjalanan Karir Lata Mangeshkar Hingga Peremuannya Dengan Rhoma Irama". Sonora.id. 8 February 2022. สืบค้นเมื่อ 8 July 2022.
- ↑ Bhagat, Shalini Venugopal (2022-02-06). "Lata Mangeshkar, Bollywood's Most Beloved Voice, Dies at 92". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2022-04-27.
- ↑ "Lata Mangeshkar". The Times of India. 10 December 2002. สืบค้นเมื่อ 22 July 2009.
- ↑ Yasmeen, Afshan (21 September 2004). "Music show to celebrate birthday of melody queen". The Hindu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 November 2004. สืบค้นเมื่อ 14 October 2019.
- ↑ 11.0 11.1 "Lata Mangeshkar: The Queen of Melody". Hindustan Times (ภาษาอังกฤษ). 14 October 2019. สืบค้นเมื่อ 5 February 2022.
- ↑ "'Nightingale of India' Lata Mangeshkar has died" (ภาษาอังกฤษ). Al Jazeera. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ "Lata Mangeshkar Awards". The Times of India. สืบค้นเมื่อ 7 February 2022.
- ↑ Lata Mangeshkar given Bharat Ratna[usurped] The Hindu
- ↑ "Happy Birthday Lata Mangeshkar: 5 Timeless Classics By the Singing Legend". News18. 28 September 2019.
- ↑ "Lata Mangeshkar sings poem Modi recited after Balakot airstrikes, PM says it's inspirational". India Today. 30 March 2019. สืบค้นเมื่อ 2 April 2019.
- ↑ "Lata Mangeshkar obituary". The Times (ภาษาอังกฤษ). ISSN 0140-0460. สืบค้นเมื่อ 10 February 2022.
- ↑ "BFI, Lata Mangeshkar". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 February 2007.
- ↑ Harish Bhimani (1 January 1995). In Search of Lata Mangeshkar. Indus. p. 322. ISBN 978-81-7223-170-5.
- ↑ Raju Bharatan (1 January 1995). Lata Mangeshkar: A Biography. UBS Publishers' Distributors. p. 382. ISBN 978-81-7476-023-4.
- ↑ "Music director, Lata Mangeshkar". The Times of India. สืบค้นเมื่อ 4 February 2017.
- ↑ Dawar, Ramesh (2006). Bollywood: Yesterday, Today, Tomorrow (ภาษาอังกฤษ). Star Publications. ISBN 978-1-905863-01-3.
- ↑ "Lata Mangeshkar is stable now, says Asha Bhosle". The Indian Express (ภาษาอังกฤษ). 6 February 2022. สืบค้นเมื่อ 6 February 2022.
- ↑ "Lata Mangeshkar is undergoing aggressive therapy and tolerating procedures: Doctor Pratit Samdani". The Times of India.
- ↑ "Lata Mangeshkar: India singing legend dies at 92". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 6 February 2022. สืบค้นเมื่อ 6 February 2022.
- ↑ Banerjee, Shoumojit (6 February 2022). "'Nightingale' Lata Mangeshkar passes away at 92". The Hindu (ภาษาIndian English). Press Trust of India. ISSN 0971-751X. สืบค้นเมื่อ 6 February 2022.
- ↑ "Lata Mangeshkar's last rites at Mumbai's Shivaji Park with full state honours". Hindustan Times.
- ↑ "Legendary singer Lata Mangeshkar's ashes immersed in Nashik's Ramkund; family and fans gather at the site". Times Now News.
- ↑ Raju Bharatan (23 August 2006). "How fair were they to Mohammad Rafi?: Page 7". Rediff.com. สืบค้นเมื่อ 28 April 2007.
- ↑ Raju Bharatan (23 August 2006). "How fair were they to Mohammed Rafi?: Page 6". Rediff.com. สืบค้นเมื่อ 28 April 2007.
- ↑ Puri, Amit (24 February 2003). "Dedicated to Queen of Melody". The Tribune, Chandigarh. สืบค้นเมื่อ 18 August 2009.
- ↑ Chopra, Yash (28 September 2004). "The nightingale of India turns 75". BBC News. สืบค้นเมื่อ 13 August 2007.
- ↑ "Melody Queen Lata rings in 75th birthday quietly". The Tribune, Chandigarh. 29 September 2004. สืบค้นเมื่อ 13 August 2007.
- ↑ Nerurkar, Vishwas. Lata Mangeshkar Gandhar Swaryatra (1945–1989) (ภาษาฮินดี). Mumbai: Vasanti P. Nerukar.
- ↑ Broughton, Simon; Mark Ellingham; Richard Trillo (2000). World music: The Rough Guide. Rough Guides. p. 106. ISBN 978-1-85828-636-5.
- ↑ Richard Corliss (12 August 2003). "Bollywood: Frequently Questioned answers". Time.
- ↑ Neepa Majumdar (25 September 2009). Wanted cultured ladies only!: female stardom and cinema in India, 1930s–1950s. University of Illinois Press. pp. 232–. ISBN 978-0-252-07628-2. สืบค้นเมื่อ 6 October 2011.
- ↑ Bhatt, Punita. "A controversy in the making". Filmfare magazine. 1–15 June 1987.
- ↑ Banerjee, Soumyadipta (22 October 2011). "It's a world record for Asha Bhosle". DNA India. สืบค้นเมื่อ 23 October 2011.
- ↑ "Most studio recordings – singles and albums combined" (ภาษาอังกฤษ). GuinnessWorldRecords.com. สืบค้นเมื่อ 24 November 2018.
- ↑ "All Hits Playlist of 80's and 90's - Lata Mangeshkar hungama.com" (ภาษาอังกฤษ). Hungama Music. สืบค้นเมื่อ 27 July 2022.
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Bichu, Dr. Mandar (2011). Lata — Voice of the Golden Era. Popular Prakashan. ISBN 978-81-7991-625-4.
- Bhimani, Harish (1995). In search of Lata Mangeshkar. Indus. ISBN 978-81-7223-170-5.
- Bharatan, Raju (1995). Lata Mangeshkar: A Biography. UBS Publishers Distributors. ISBN 978-81-7476-023-4.
- Kabir, Nasreen Munni (2009). Lata Mangeshkar: In Her Own Voice. Niyogi Books. ISBN 978-81-89738-41-9.
- Lata, Mangeshkar (1995). Madhuvanti Sapre; Dinkar Gangal (บ.ก.). In search of Lata Mangeshkar (ภาษามราฐี). HarperCollins/Indus. ISBN 978-81-7223-170-5. A collection of articles written by Lata Mangeshkar since 1952.
- Nerurkar, Vishwas. Lata Mangeshkar Gandhar Swaryatra (1945–1989) (ภาษาฮินดี). Mumbai: Vasanti P. Nerukar.
- Bichhu, Mandar V. (1996). Gaaye Lata, Gaaye Lata (ภาษาฮินดี). Sharjah: Pallavi Prakashan. ISBN 978-81-7223-170-5. A collection of articles written by Lata Mangeshkar since 1952.
- Verma, Sunanda (2018). Namaste, Lata Mangeshkar! Her voice touches at least a billion hearts. Singapore: The Indologist. ISBN 978-9814782111.
- Bhawana Somaaya (2006). "Lata Mangeshkar". ใน Malvika Singh (บ.ก.). Freeing the Spirit: The Iconic Women of Modern India. New York. ISBN 978-0-14-310082-9.