ฤดูไฟป่าออสเตรเลีย พ.ศ. 2562–2563
ฤดูไฟป่าออสเตรเลีย พ.ศ. 2562–2563 | |
---|---|
ภาพถ่ายดาวเทียมของนาซาเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 2019 แสดงไฟป่าข้ามชายฝั่งตะวันออกของออสเตรเลีย | |
สถานที่ | ประเทศออสเตรเลีย (ทั่วประเทศ) |
สถิติ | |
วันที่ | มิถุนายน พ.ศ. 2562 – ยังดำเนินอยู่ |
พื้นที่ที่ถูกเผา | Approximately 18,600,000 เฮกตาร์ (46,000,000 เอเคอร์)[1] |
สาเหตุ | |
อาคารถูกทำลาย | มากกว่า 6,500 อาคาร |
ฤดูกาล | |
ฤดูไฟป่าออสเตรเลีย พ.ศ. 2562–2563 (อังกฤษ: 2019–20 Australian bushfire season) เกี่ยวข้องกับไฟป่าหลายชุดที่กำลังเผาไหม้ทั่วออสเตรเลีย ที่ส่วนใหญ่อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ ฤดูไฟป่าในปี พ.ศ. 2562–2563 เป็นช่วงที่มีความรุนแรงอย่างน่าทึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับฤดูกาลก่อนเนื่องจากมีการเผาไหม้ประมาณ 10.7 ล้านเฮกตาร์ (26 ล้านเอเคอร์; 107,000 ตารางกิโลเมตร; 41,000 ตารางไมล์) ทำลายอาคาร 5,900 แห่ง (รวมถึงบ้านเรือนกว่า 2,204 หลัง) และสังหาร 28 คนในวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2563[7][8][9][10][11][12][13] ไฟป่าครั้งนี้ได้รับการพิจารณาจากหน่วยงานดับเพลิงในพื้นที่ชนบทรัฐนิวเซาท์เวลส์ว่าเป็นฤดูไฟป่าที่เลวร้ายที่สุดในความทรงจำ[14] ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 รัฐบาลนิวเซาท์เวลส์ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหลังจากมีอุณหภูมิสูงเป็นประวัติการณ์และภัยแล้งที่ส่งผลให้เกิดไฟป่ายืดเยื้อเป็นเวลานาน[15][16] ประมาณว่าสัตว์เกือบครึ่งล้านตัวในรัฐนิวเซาท์เวลส์ได้รับผลกระทบจากไฟที่กำลังไหม้อย่างต่อเนื่อง[17][18] ส่วนการประมาณการอื่น ๆ ซึ่งรวมถึงสัตว์ เช่น ค้างคาว, สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ทำให้มีจำนวนสัตว์ที่เสียชีวิตกว่าพันล้านตัว[19] ซึ่งนักนิเวศวิทยากลัวว่าสัตว์ใกล้สูญพันธุ์บางชนิดจะสูญพันธุ์จากไฟไหม้ครั้งนี้[20]
การตอบสนองระหว่างประเทศ
[แก้]บุคคลทางการเมืองนอกจากประเทศออสเตรเลียประกอบด้วยคอรีย์ บูเกอร์,[21] ฮิลลารี คลินตัน,[22] อัล กอร์,[22] เบอร์นี แซนเดอร์ส,[22] เกรียตา ทืนแบร์ย,[23][24] และเอลิซาเบธ วอร์เรน[21] ทุกคนแสดงความคิดเห็นสาธารณะเกี่ยวกับเหตุไฟไหม้ ผู้คนในวงการบันเทิง เช่น ทีนา อาเรนา,[21] แพททรีเซีย อาร์เคว็ตต์,[25] เคต แบลนเชตต์,[25] รัสเซล โครว์,[26] เอลเลน ดีเจนเนอริส,[27] เซลีนา โกเมซ,[28] ฮาลซีย์,[22] นิโคล คิดแมน,[25] ลิซโซ,[28] เบ็ตต์ มิดเลอร์,[22] พิงก์,[28] มาร์โก ร็อบบี,[25] พอล สแตนลีย์,[22] โจนาธาน ฟาน เนสส์,[28] และฟีบี วอลเลอร์ บริดจ์[25] ยังได้แถลงการณ์เกี่ยวกับเหตุไฟไหม้ ซึ่งคนดังกล่าวบางส่วนได้บริจาคหรือระดมทุนเช่นกัน
การบริจาค
[แก้]บุคคลที่มีชื่อเสียง, นักกีฬา และประชาชนชาวออสเตรเลียบริจาคเงินให้แก่การระดมทุนเพื่อช่วยเหลือเหยื่อจากไฟป่าและนักผจญเพลิง
ในเดือนพฤศจิกายน เจมส์ แพ็กเกอร์ ได้ให้คำมั่นว่าจะมอบ 1 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลียเพื่อสนับสนุนหน่วยงานดับเพลิงในพื้นที่ชนบทรัฐนิวเซาท์เวลส์ จากผลกระทบของฤดูไฟป่าที่ลุกลาม ด้านมูลนิธิคราวน์รีสอร์ต และมูลนิธิตระกูลแพ็กเกอร์ ให้คำมั่นว่าจะมอบอีก 4 ล้านดอลลาร์แก่อาสาสมัครหน่วยงานดับเพลิงในรัฐนิวเซาท์เวลส์, รัฐวิกทอเรีย และรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย – รัฐทั้งหมดที่คราวน์มีรีสอร์ต – รวมทั้งเพื่อองค์กรการกุศลที่ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยและสัตว์ป่าในระดับประเทศ[29] ส่วนนักการกุศลจอห์น และพอลีน แกนเดล ให้คำมั่นว่าจะมอบ 1 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย แยกกันระหว่างคำร้องขอด้านไฟป่าแห่งชาติที่นำโดยกาชาดออสเตรเลีย, เดอะซาลเวชันอาร์มี และสมาคมนักบุญวินเซน เดอ ปอล เพื่อช่วยเหลือบรรเทาทุกข์แก่ชุมชนที่ได้รับผลกระทบรวม ถึงนักผจญเพลิงอาสาสมัครทั่วประเทศออสเตรเลีย นอกจากนี้ ทิม คุก ยังให้คำมั่นว่าจะบริจาคเงินจากบริษัทแอปเปิลในจำนวนที่ไม่เปิดเผย[30]
สำหรับมหาเศรษฐีเหมืองแร่ แอนดรูว์ ฟอร์เรสต์ ได้บริจาคเงิน 70 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย[31]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อninenews20200114
- ↑ 2.0 2.1 2.2 "Special Climate Statement 71—severe fire weather conditions in southeast Queensland and northeast New South Wales in September 2019" (PDF). Bureau of Meteorology (ภาษาอังกฤษ). 24 September 2019. สืบค้นเมื่อ 5 January 2020.
- ↑ Alexander, Harriet; Moir, Nick (20 December 2019). "'The monster': a short history of Australia's biggest forest fire". The Sydney Morning Herald (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 4 January 2020.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Cormack, Lucy; Bungard, Matt (27 November 2019). "RFS volunteer charged with lighting seven fires". The Sydney Morning Herald. สืบค้นเมื่อ 5 January 2020.[ลิงก์เสีย]
- ↑ Visontay, Elias (17 December 2019). "NSW bushfires: police set to charge a dozen with arson". The Weekend Australian. สืบค้นเมื่อ 5 January 2020.
- ↑ Sapwell, Gemma (13 November 2019). "Cigarette butt to blame for devastating Binna Burra bushfire". ABC News. Australia. สืบค้นเมื่อ 10 January 2020.
- ↑ "The numbers behind Australia's catastropic bushfire season". SBS News. 5 January 2020. สืบค้นเมื่อ 8 January 2020.
- ↑ Woman dies from bushfire smoke in Canberra after exiting plane"Australian bushfires: Twenty-eight missing in Victorian bushfire zones". www.9news.com.au. สืบค้นเมื่อ 3 January 2020.
- ↑ "Bushfires live updates: Troops prepare for emergency evacuations by sea". News.com.au. 2 January 2020. สืบค้นเมื่อ 3 January 2020.
- ↑ "NSW and Victoria fires live: three more deaths confirmed in Australia bushfires and hundreds of homes destroyed – latest updates". The Guardian. 31 December 2019. สืบค้นเมื่อ 1 January 2020.
- ↑ "More than 720 homes lost in NSW fires as Sydney told to brace for huge losses". The Sydney Morning Herald (ภาษาอังกฤษ). 10 December 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 December 2019. สืบค้นเมื่อ 12 December 2019.
- ↑ "Bushfire death toll rises as fires sweep across South Australia and NSW". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 December 2019. สืบค้นเมื่อ 21 December 2019.
- ↑ "Australian bushfires burn more land than Amazon and California fires combined". Seven News. สืบค้นเมื่อ 4 January 2020.
- ↑ "Worst bushfire conditions ever seen: Unprecedented danger is 'a firefighter's nightmare'". News.com.au (ภาษาอังกฤษ). 12 November 2019. สืบค้นเมื่อ 1 January 2020.
- ↑ "Australia declares state of emergency as heatwave fans bushfires". www.aljazeera.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 December 2019. สืบค้นเมื่อ 19 December 2019.
- ↑ "Australia all-time temperature record broken again" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 19 December 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 December 2019. สืบค้นเมื่อ 19 December 2019.
- ↑ Harvey, Josephine (2 January 2020). "Nearly Half A Billion Animals Feared Dead In Australian Wildfires". The Huffington Post. สืบค้นเมื่อ 3 January 2020.
- ↑ "Australia fires: How do we know how many animals have died?". BBC. สืบค้นเมื่อ 4 January 2020.
- ↑ Harvey, Josephine (January 6, 2020). "Number Of Animals Feared Dead In Australia's Wildfires Soars To Over 1 Billion". The Huffington Post. สืบค้นเมื่อ January 7, 2020.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Readfearn, Graham (January 3, 2020). "'Silent death': Australia's bushfires push countless species to extinction". The Guardian. สืบค้นเมื่อ January 8, 2020.
- ↑ 21.0 21.1 21.2 From Tina Arena to Elizabeth Warren: the big names weighing in on Australia's bushfire crisis By Ben Doherty, The Guardian, 4 January 2020
- ↑ 22.0 22.1 22.2 22.3 22.4 22.5 "From Bernie Sanders to Bette Midler: The world reacts to the bushfires". SBS News. 4 January 2020.
- ↑ Thunberg, Greta [@GretaThunberg] (22 December 2019). "Not even catastrophes like these seem to bring any political action. How is this possible?" (ทวีต). สืบค้นเมื่อ 24 December 2019 – โดยทาง ทวิตเตอร์.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Wolfe, Natalie (23 December 2019). "Greta Thunberg weighs in on Australia's fire 'catastrophe'". news.com.au. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 December 2019. สืบค้นเมื่อ 25 December 2019.
- ↑ 25.0 25.1 25.2 25.3 25.4 "Russell Crowe and Cate Blanchett use Golden Globes speeches to link Australian fires to climate crisis". The Guardian. 6 January 2020.
- ↑ "Morrison says bushfire-ravaged communities the priority as celebrities pile on". The Sydney Morning Herald. 6 January 2020.
- ↑ "'My heart goes out to everyone suffering in Australia': Ellen". news.com.au. 6 January 2020.
- ↑ 28.0 28.1 28.2 28.3 "Celebrities react to Australia's bushfires". Yahoo! News. Australian Associated Press. 6 January 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-01-07. สืบค้นเมื่อ 7 January 2020.
- ↑ Jackson, Steve (6 January 2020). "James Packer to donate $5m to Australia's bushfire crisis". The Australian. สืบค้นเมื่อ 6 January 2020.
- ↑ Cunningham, Melissa (27 December 2019). "Billionaire philanthropists, Apple donate to bushfire emergency response". The Sydney Morning Herald. สืบค้นเมื่อ 6 January 2020.
- ↑ [1]
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Middle เก็บถาวร 2020-01-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน – Official list of supported, vetted and approved charity links.
- EarthWindMap – Current global map of airborne particulates less than 1 micrometer in diameter, including smoke, centered on Australia
- MyFireWatch – Government of Western Australia site mapping fires and vegetation every 2–4 hours from satellite data