ข้ามไปเนื้อหา

ร้องแลกไข่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ร้องแลกไข่
ประเภทเกมโชว์ประกวดร้องเพลง
พิธีกรเกียรติ กิจเจริญ
กรรมการนักแสดงต่าง ๆ
ประเทศแหล่งกำเนิด ไทย
การผลิต
ผู้อำนวยการสร้างกานต์ กิจเจริญ[1]
กล้องหลายกล้อง
ความยาวตอน30 นาที
บริษัทผู้ผลิตบริษัท ทริปเปิ้ลทู จำกัด
ออกอากาศ
เครือข่ายช่อง 7 เอชดี
ออกอากาศ5 มิถุนายน 2560 (2560-06-05) –
28 กันยายน 2561 (2561-09-28)

ร้องแลกไข่ เป็นรายการเกมโชว์ประกวดร้องเพลงรายการแรกของบริษัท ทริปเปิ้ลทู จำกัด ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2560[2] ทุกวันพฤหัสบดี-ศุกร์ เวลา 10:50 น. - 11:20 น. โดยมี กิ๊ก - เกียรติ กิจเจริญ เป็นผู้ดำเนินรายการ

ระยะเวลาในการออกอากาศ

[แก้]
สถานีโทรทัศน์ที่ออกอากาศ วัน เวลา ช่วงระหว่าง
สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 จันทร์-ศุกร์ 11:00 น. - 11:30 น. 5 มิถุนายน - 1 กันยายน พ.ศ. 2560
10:50 น. - 11:20 น. 4 กันยายน พ.ศ. 2560 - 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
ช่อง 7 เอชดี 28 พฤษภาคม - 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2561
จันทร์
23 กรกฎาคม พ.ศ. 2561
พฤหัสบดี
26 กรกฎาคม พ.ศ. 2561
พฤหัสบดี-ศุกร์ 2 สิงหาคม - 28 กันยายน พ.ศ. 2561

รูปแบบรายการ

[แก้]

รายการจะเปิดโอกาสให้ผู้เข้าแข่งขันทางบ้านมาสมัครเข้าร่วมรายการเพื่อร้องเพลงแลกกับสิ่งของที่ต้องการจำนวน 3 เพลง (โดยที่ 2 เพลงแรก จะเป็นเพลงที่ผู้เข้าแข่งขันเลือกเอง ส่วนอีก 1 เพลง พิธีกรเป็นผู้กำหนดเพลงให้) โดยมีกรรมการพิเศษ 4 คน ที่จะมีหน้าที่กำหนดจำนวนไข่ที่ต้องทำได้ในการร้องเพลงทั้ง 3 เพลงเพื่อแลกกับของรางวัลที่ต้องการ และพิธีกรก็สามารถกำหนดจำนวนไข่ได้ด้วย เมื่อผู้เข้าแข่งขันร้องเพลงเสร็จไปในแต่ละเพลงจะมีผู้ชมในสตูดิโอจำนวน 50 คน เป็นผู้ลงคะแนน โดยการวางไข่ลงไปในฝา ซึ่งหากวางลงในฝาสีเขียว แปลว่าให้คะแนน และฝาสีแดง แปลว่าไม่ให้คะแนน หลังจากนั้น ทางรายการจะส่งตัวแทนไปเก็บไข่ โดยเก็บมาเฉพาะไข่ที่อยู่ในฝาสีเขียว และจะมีการประกาศจำนวนคะแนนที่ผู้เข้าแข่งขันทำได้ นั่นคือจำนวนไข่ในฝาสีเขียวนั่นเอง

ต่อมา ในวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2561 ได้มีการปรับกติกาเพิ่มเติมคือ จะร้องเพลงเป็น 4 เพลง (3 เพลง จากผู้เข้าแข่งขันเลือกเอง และ 1 เพลง จากพิธีกรกำหนดมาให้) และการให้จำนวนไข่ ก็จะมากขึ้นอีก รวมคะแนนเต็มเป็น 200 คะแนน

  • ถ้าผู้เข้าแข่งขันสามารถทำคะแนนจากการร้องเพลงตามจำนวนที่กำหนดได้ตั้งแต่จำนวนไข่ที่คณะกรรมการกำหนดขึ้นไป จะได้รับของรางวัลที่ต้องการกลับบ้าน
  • ถ้าหากทำคะแนนได้ 200 คะแนนเต็ม จะได้รับเงินรางวัลพิเศษเพิ่มไปอีก 50,000 บาท
  • ถ้าหากทำคะแนนได้น้อยกว่าจำนวนไข่ที่คณะกรรมการกำหนด ผู้เข้าแข่งขันจะถูกลงโทษ โดยการลงโทษในรายการนี้มี 2 รูปแบบ ดังนี้

รูปแบบที่ 1 ปั้นจั่นประหาร

[แก้]

รูปแบบนี้มีลักษณะคล้ายกับปั้นจั่นนรกในรายการเกมจารชน โดยผู้เข้าแข่งขันที่ทำคะแนนได้น้อยกว่าจำนวนไข่ที่คณะกรรมการกำหนดจะถูกคุมตัวไปนั่งที่ใต้ปั้นจั่น และเมื่อพิธีกรสั่ง "ประหาร" ปั้นจั่นจะทำงาน และผู้เข้าแข่งขันจะโดนปั้นจั่นทับ โดยเมื่อโดนปั้นจั่นทับแล้ว พื้นที่ตรงเก้าอี้ที่ผู้เข้าแข่งขันนั่งจะโหลดต่ำลงไป เพื่อให้ดูเหมือนว่าโดนปั้นจั่นทับลงไป โดยผู้เข้าแข่งขันที่ถูกปั้นจั่นทับจะถูกทีมงานที่อยู่ด้านหลังปั้นจั่นละเลงแป้งและผงถ่านจนมีสภาพเปรอะเปื้อน รูปแบบนี้เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2560 - 22 มีนาคม พ.ศ. 2561

รูปแบบที่ 2 เก้าอี้กระชากวิญญาณ

[แก้]

รูปแบบนี้มีลักษณะคล้ายกับเหมืองมรณะในรายการเกมจารชน โดยผู้เข้าแข่งขันที่ทำคะแนนได้น้อยกว่าจำนวนไข่ที่คณะกรรมการกำหนดจะถูกคุมตัวไปนั่งที่เก้าอี้กระชากวิญญาณ และเมื่อพิธีกรสั่ง "ประหาร" เก้าอี้ที่ผู้เข้าแข่งขันนั่งอยู่จะถูกเลื่อนเข้าไปในบ้านผีสิง โดยผู้เข้าแข่งขันที่เข้าไปในบ้านผีสิงจะถูกทีมงานละเลงแป้งและผงถ่านจนมีสภาพเปรอะเปื้อน รูปแบบนี้เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม - 28 กันยายน พ.ศ. 2561[3]

รางวัล

[แก้]
ปี งานประกาศผลรางวัล รางวัล ผู้เข้าชิง ผลรางวัล หมายเหตุ
2561 รางวัลนาฏราช ครั้งที่ 9 พิธีกรยอดเยี่ยม เกียรติ กิจเจริญ เสนอชื่อเข้าชิง

อ้างอิง

[แก้]
  1. ทีมศิลปวัฒนธรรม นาว 26 (19 พฤษภาคม 2017). ""ซูโม่กิ๊ก" ป๋าดันลูกชายขึ้นแท่นบริหารรายการใหม่". กรุงเทพธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2024.
  2. "ร้องแลกไข่ รายการใหม่แกะกล่อง..." เฟซบุ๊ก. 3 มิถุนายน 2017. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2018.
  3. "ร้องแลกไข่ 23 มีนาคม 2561 คลิป 1/3". Bugaboo.tv. 23 มีนาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2018.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]