ข้ามไปเนื้อหา

ย่างกุ้ง

พิกัด: 16°47′42″N 96°09′36″E / 16.79500°N 96.16000°E / 16.79500; 96.16000
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ร่างกุ้ง)
ย่างกุ้ง

ရန်ကုန်
ตามเข็มนาฬิกาจากด้านบน: เจดีย์ชเวดากอง, มุมมองทางอากาศใจกลางเมืองย่างกุ้ง, อาคารยุคอาณานิคมบนถนนสแตรนด์, พระราชวังการเวกในทะเลสาบกันดอจี, เจดีย์ซูเล, ศาลสูงย่างกุ้ง
ธงของย่างกุ้ง
ธง
ย่างกุ้งตั้งอยู่ในประเทศพม่า
ย่างกุ้ง
ย่างกุ้ง
ที่ตั้งเมืองย่างกุ้งในประเทศพม่า
พิกัด: 16°47′42″N 96°09′36″E / 16.79500°N 96.16000°E / 16.79500; 96.16000
ประเทศ พม่า
ภาค ภาคย่างกุ้ง
ตั้งถิ่นฐานราว ค.ศ. 1028–1043
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีมองมองโซ่
พื้นที่[2]
 • เขตเมือง598.75 ตร.กม. (231.18 ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล10,170 ตร.กม. (3,930 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2014)
 • มหานคร7,360,703[1] คน
 • เขตเมือง5,160,512 คน
 • ความหนาแน่นเขตเมือง8,600 คน/ตร.กม. (22,000 คน/ตร.ไมล์)
 • นอกเมือง2,200,191 คน
 • กลุ่มชาติพันธุ์พม่า, พม่าเชื้อสายจีน, พม่าเชื้อสายอินเดีย, ชีน, ยะไข่, มอญ, กะเหรี่ยง, ไทใหญ่, กะยา, กะชีน
 • ศาสนาพุทธ, คริสต์, ฮินดู, อิสลาม
เขตเวลาUTC+6:30 (เวลามาตรฐานพม่า)
รหัสพื้นที่01
ทะเบียนพาหนะYGN
เว็บไซต์www.ycdc.gov.mm

ย่างกุ้ง,[3] ยานโกน[3] (พม่า: ရန်ကုန်; เอ็มแอลซีทีเอส: Rankun, ออกเสียง: [jàɰ̃.ɡòʊ̯ɰ̃]; "จุดจบแห่งสงคราม") หรือ ร่างกุ้ง (อังกฤษ: Rangoon) เป็นเมืองหลวงของภาคย่างกุ้ง และเป็นเมืองหลวงทางการค้าของพม่า ย่างกุ้งทำหน้าที่เป็นเมืองหลวงของพม่าจนถึงปี ค.ศ. 2006 เมื่อรัฐบาลทหารย้ายศูนย์ราชการไปยังเนปยีดอในภาคกลางของประเทศพม่าอย่างเป็นทางการ[4] ด้วยประชากรกว่า 7 ล้านคนย่างกุ้งจึงเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของพม่าและเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญที่สุด

ย่างกุ้งมีจำนวนอาคารยุคอาณานิคมมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[5] และมีใจกลางเมืองยุคอาณานิคมอันเป็นเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใคร[6] ศูนย์กลางการค้ายุคอาณานิคมแห่งนี้เป็นศูนย์กลางอยู่รอบรอบเจดีย์ซู่เลซึ่งขึ้นชื่อว่ามีอายุมากกว่า 2,000 ปี[7] เมืองนี้ยังเป็นที่ตั้งของเจดีย์ชเวดากอง ซึ่งเป็นเจดีย์ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในพม่า สุสานของจักรพรรดิโมกุลองค์สุดท้ายก็ตั้งอยู่ในย่างกุ้ง ซึ่งพระองค์ถูกเนรเทศมาหลังการจลาจลของอินเดียใน ค.ศ. 1857

ย่างกุ้งได้รับผลกระทบจากโครงสร้างพื้นฐานที่ไม่เพียงพอโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเทียบกับเมืองใหญ่อื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แม้ว่าที่อยู่อาศัยที่มีชื่อเสียงในประวัติศาสตร์และอาคารพาณิชย์หลายแห่งจะได้รับการปรับปรุงใหม่ทั่วใจกลางเมืองย่างกุ้ง แต่ย่านโดยรอบของเมืองยังคงยากจนและยังขาดโครงสร้างพื้นฐาน[8]

นิรุกติศาสตร์

[แก้]

ย่างกุ้ง (ရန်ကုန်) เป็นคำผสมที่เกิดจากคำว่า ยาน (ရန်, yan) ซึ่งมีความหมายว่า ศัตรู ข้าศึก และคำว่า โกน (ကုန်, koun) ซึ่งมีความหมายว่า หมดไป ซึ่งสามารถแปลได้อีกอย่างว่า อวสานสงครามหรือจุดจบแห่งสงคราม

ส่วนคำว่าย่างกุ้งในภาษาอังกฤษ Rangoon มีที่มาจากการเลียนเสียงของคำว่า ยานโกน ซึ่งในภาษายะไข่ออกเสียงเป็น รอนกู้น [rɔ̀ɴɡʊ́ɴ]

ประวัติศาสตร์

[แก้]

ประวัติศาสตร์ในช่วงต้น

[แก้]

ย่างกุ้งก่อตั้งขึ้นในชื่อ ดากอง (Dagon - ภาษามอญเรียกว่า "ตะเกิง") ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16 (พ.ศ. 1571–1586) โดยชาวมอญซึ่งครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่ในภาคใต้ของพม่าในขณะนั้น[9] ดากอนเป็นหมู่บ้านชาวประมงเล็ก ๆ ซึ่งมีศูนย์กลางคือเจดีย์ชเวดากอง ใน พ.ศ. 2298 พระเจ้าอลองพญา ได้บุกยึดดากอง พร้อมกับเปลี่ยนชื่อเมืองเป็น ย่างกุ้ง (Yangon) และมีการตั้งถิ่นฐานของราษฎรที่เพิ่มขึ้นตลอดมา เมื่อถึง พ.ศ. 2367 กองทัพอังกฤษสามารถยึดเมืองย่างกุ้งได้ในสงครามอังกฤษ-พม่าครั้งที่หนึ่ง แต่หลังจากสงคราม อังกฤษก็คืนย่างกุ้งให้แก่พม่า ใน พ.ศ. 2384 เกิดเพลิงไหม้ใหญ่ในเมืองซึ่งทำลายเมืองไปเกือบทั้งหมด[10]

ย่างกุ้งในยุคอาณานิคม

[แก้]
แผนที่ย่างกุ้งและบริเวณโดยรอบ ค.ศ. 1911
ทิวทัศน์ของสวนบริเวณค่ายทหาร (ปัจจุบันคือสวนสาธารณะกันดอมิงคลา) ในปี ค.ศ. 1868
ความเสียหายของใจกลางเมืองย่างกุ้งหลังสงครามโลกครั้งที่สอง

อังกฤษยึดย่างกุ้งและส่วนล่างของพม่าทั้งหมดได้ในระหว่างสงครามอังกฤษ-พม่าครั้งที่สองเมื่อ พ.ศ. 2395 และได้เปลี่ยนย่างกุ้งให้กลายเป็นศูนย์กลางทางการค้าและการเมืองของพม่าภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักร (British Burma) ในปี พ.ศ. 2396 อังกฤษได้ย้ายเมืองหลวงของประเทศพม่าจากเมาะลำเลิง มายังย่างกุ้ง[11][12] ย่างกุ้งยังเป็นสถานที่ซึ่งอังกฤษส่งตัวจักรพรรดิบาฮาดูร์ ชาห์ ซาฟาร์ที่ 2 จักรพรรดิองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์โมกุลของอินเดียมาจองจำหลังจากเกิดเหตุการณ์กบฎอินเดีย หรือกบฎซีปอยขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2400 อังกฤษได้สร้างเมืองย่างกุ้งใหม่โดยวางผังเมืองเป็นรูปตารางบนที่ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ โดยมีร้อยโทอเล็กซานเดอร์ เฟรเซอร์ นายทหารช่างเป็นผู้ควบคุมการออกแบบ มีพื้นที่ทอดยาวไปทางทิศตะวันออกจรดแม่น้ำปะซูนดอง ทางตะวันตกและทางใต้จรดแม่น้ำย่างกุ้ง ย่างกุ้งกลายเป็นเมืองหลวงพม่าภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักรหลังจากที่อังกฤษยึดพม่าตอนบนได้ในสงครามอังกฤษ-พม่าครั้งที่สาม เมื่อปี พ.ศ. 2428 และตั้งแต่คริสต์ทศวรรษที่ 1890 เป็นต้นมา ประชากรและการค้าในย่างกุ้งเติบโตขึ้นอย่างรุ่งเรืองซึ่งเป็นผลให้เมืองขยายออกไปทางเหนือจรดรอยัลเลกหรือทะเลสาบกันดอจี (Kandawgyi) และทะเลสาบอินยา (Inya Lake)[13] นอกจากนี้อังกฤษยังได้จัดตั้งโรงพยาบาลขึ้น หนึ่งในนั้นคือ โรงพยาบาลย่างกุ้ง (Rangoon General Hospital) และวิทยาลัย ซึ่งก็คือ มหาวิทยาลัยย่างกุ้ง (Rangoon University) ในปัจจุบัน

ย่างกุ้งในยุคอาณานิคม มีสวนสาธารณะและทะเลสาบที่กว้างขวาง อีกทั้งยังประกอบไปด้วยอาคารที่ทันสมัยและสถาปัตยกรรมไม้แบบดั้งเดิม ทำให้เป็นที่รู้จักกันในชื่อ "สวนเมืองแห่งทิศตะวันออก" (the garden city of the East)[13] และในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ย่างกุ้งก็มีการบริการสาธารณะและโครงสร้างพื้นฐานที่เทียบเท่าลอนดอนเลยทีเดียว[14]

ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ประมาณร้อยละ 55 ของประชากรในย่างกุ้งจำนวน 500,000 คน เป็นชาวอินเดียหรือไม่ก็ชาวเอเชียใต้ มีเพียงแค่ 1 ใน 3 เท่านั้นที่เป็นชาวพม่า[15] ขณะที่เหลือประกอบไปด้วยชาวกะเหรี่ยง พม่าเชื้อสายจีน และลูกครึ่งอังกฤษ-พม่า

หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งย่างกุ้งกลายเป็นศูนย์กลางของการเคลื่อนไหวเรียกร้องเอกราชโดยมีนักศึกษาฝ่ายซ้ายเป็นแกนนำ มีการประท้วงต่อจักรวรรดิอังกฤษทั้งหมด 3 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2463, 2479 และ 2481 ทั้งหมดเกิดขึ้นในย่างกุ้ง ย่างกุ้งตกอยู่ภายใต้การยึดครองของญี่ปุ่น (พ.ศ. 2485-2488) และได้รับความเสียหายอย่างมากจากสงครามโลกครั้งที่สอง แต่ก็ยึดคืนมาได้หลังสงครามสิ้นสุดลงโดยฝ่ายสัมพันธมิตร ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2488 ย่างกุ้งกลายเป็นเมืองหลวงของสหภาพพม่าเมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2491 เมื่อประเทศได้รับเอกราชจากจักรวรรดิอังกฤษ

ย่างกุ้งในสมัยปัจจุบัน

[แก้]

ไม่นานหลังจากที่พม่าได้รับเอกราชเมื่อปี พ.ศ. 2491 ชื่อถนนและสวนสาธารณะหลายแห่งที่เป็นแบบอาณานิคมถูกเปลี่ยนให้มีความเป็นชาตินิยมพม่ามากขึ้น ในปี พ.ศ. 2532 รัฐบาลทหารพม่าได้เปลี่ยนชื่อเมืองในภาษาอังกฤษเป็น Yangon (เดิม Rangoon) พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ อีกมากมายในการทับศัพท์ภาษาอังกฤษโดยชื่อพม่า การเปลี่ยนแปลงนี้ไม่ได้รับการยอมรับจากชาวพม่าจำนวนมากซึ่งคิดว่ารัฐบาลทหารไม่มีความเหมาะสมที่จะทำการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เช่นเดียวกับสื่อสิ่งพิมพ์ สำนักข่าวหลายสำนัก รวมไปถึงสื่อที่มีชื่อเสียงอย่าง บรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษ (สำนักข่าวบีบีซี) สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกาและชาติอื่น ๆ[16][17]

นับตั้งแต่ได้รับเอกราช ย่างกุ้งมีการขยายตัวออกไปมาก รัฐบาลได้สร้างเมืองขึ้นมาโดยรอบ เช่นในคริสต์ทศวรรษที่ 1950 สร้างย่านธาเกตา (Thaketa) ออกกะลาปาเหนือ (North Okkalapa) ออกกะลาปาใต้ (South Okkalapa) จนถึงคริสต์ทศวรรษที่ 1980 เกิดย่านไลง์ตายา (Hlaingthaya) ชเวปยีธา (Shwepyitha) และดากอนใต้ (South Dagon)[10] ทำให้ทุกวันนี้มหานครย่างกุ้งมีพื้นที่เกือบ 600 ตารางกิโลเมตร (230 ตารางไมล์)[2]

ในช่วงการปกครองแบบลัทธิโดดเดี่ยวโดยนายพลเนวี่น (พ.ศ. 2505–2531) โครงสร้างพื้นฐานของย่างกุ้งเสื่อมโทรมมากเนื่องจากไม่ได้รับการบำรุงรักษาที่ดีและไม่รองรับกับจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น ช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 รัฐบาลทหารมีนโยบายเปิดตลาดมากขึ้นเพื่อดึงดูดการลงทุนทั้งจากในและต่างประเทศซึ่งช่วยให้โครงสร้างพื้นฐานของเมืองมีความทันสมัยขึ้นตามสมควร ผู้อยู่อาศัยในเมืองชั้นในถูกขับให้ไปอยู่ยังบริเวณรอบนอกเมืองที่สร้างขึ้นใหม่ อาคารหลายแห่งในยุคอาณานิคมถูกทำลายเพื่อเปิดทางให้กับโรงแรมสูงระฟ้า อาคารสำนักงาน และห้างสรรพสินค้า[18] ทำให้สภาเมืองต้องเขียนรายชื่อสิ่งปลูกสร้างยุคอาณานิคมที่โดดเด่นกว่า 200 รายการภายใต้รายการมรดกเมืองย่างกุ้งในปี พ.ศ. 2539[19] โครงการก่อสร้างที่สำคัญส่งผลให้มีสะพานใหม่หกแห่งและทางหลวงสายใหม่อีกห้าเส้นทางเชื่อมโยงเมืองไปยังพื้นที่อุตสาหกรรมด้านนอก[20][21][22] ถึงกระนั้นก็ตาม พื้นที่ย่างกุ้งส่วนใหญ่ยังคงไม่มีบริการเทศบาลขั้นพื้นฐานเช่นไฟฟ้าตลอด 24 ชั่วโมงและการเก็บขยะตามปกติ

ย่างกุ้งกลายเป็นของชาวพม่าพื้นเมืองมากขึ้นนับตั้งแต่การประกาศเอกราช หลังจากการประกาศเอกราชชาวเอเชียใต้และลูกครึ่งอังกฤษ-พม่าจำนวนมากได้ย้ายออกไป ชาวเอเชียใต้หลายคนถูกบังคับให้ย้ายออกไปในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1960 โดยรัฐบาลที่ต่อต้านชาวต่างชาติของเนวิน[15] อย่างไรก็ตามชุมชนชาวเอเชียใต้และชาวจีนที่กว้างใหญ่ยังคงมีอยู่ในย่างกุ้ง ส่วนลูกครึ่งอังกฤษ-พม่าหายไปอย่างเห็นชัดมากกว่าโดยย้ายออกจากประเทศหรือไม่ก็แต่งงานกับชาวพม่ากลุ่มอื่น ๆ

ย่างกุ้งเป็นศูนย์กลางของการประท้วงต่อต้านรัฐบาลครั้งใหญ่ในปี พ.ศ. 2517, 2531 และ 2550 การลุกฮือของพลังประชาชนใน พ.ศ. 2531 ส่งผลให้มีการเสียชีวิตของพลเรือนชาวพม่าหลายร้อยคน และมากมายในย่างกุ้งที่ซึ่งประชาชนหลายร้อยคนหลั่งไหลกันออกมาเต็มถนนในเมืองหลวง การปฏิวัติผ้ากาสาวพัสตร์ประสบกับการกราดยิงใส่ฝูงชนและการเผาศพในย่างกุ้งโดยรัฐบาลพม่าเพื่อลบหลักฐานการก่ออาชญากรรมต่อพระสงฆ์ ผู้ประท้วงที่ปราศจากอาวุธ นักข่าวและนักศึกษา[23]

ถนนในเมืองประสบกับการนองเลือดทุกครั้งขณะที่ผู้ประท้วงถูกยิงโดยรัฐบาล

ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2548 รัฐบาลทหารกำหนดให้กรุงเนปยีดอซึ่งอยู่ห่างจากย่างกุ้งไปทางเหนือราว 320 กิโลเมตร (199 ไมล์) เป็นเมืองหลวงทางปกครองแห่งใหม่และต่อมาย้ายที่ทำการรัฐบาลจำนวนมากไปยังเมืองที่ถูกพัฒนาใหม่นี้ อย่างไรก็ตาม ย่างกุ้งยังคงเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดและเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญที่สุดของพม่า

ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2551 พายุไซโคลนนาร์กีสถล่มย่างกุ้ง ในขณะที่เมืองมีผู้เสียชีวิตเพียงเล็กน้อย แต่โครงสร้างพื้นฐานทางอุตสาหกรรมของย่างกุ้งถูกทำลายหรือเสียหายถึงประมาณสามในสี่ ความสูญเสียประมาณ 800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[24]

ภูมิศาสตร์

[แก้]

ย่างกุ้งตั้งอยู่ในพม่าตอนล่าง ที่จุดบรรจบกันของแม่น้ำย่างกุ้งและแม่น้ำพะโคประมาณ 30 กม. (19 ไมล์) ห่างจากอ่าวเมาะตะมะที่ 16 ° 48 'เหนือ 96 ° 09' ตะวันออก (16.8, 96.15) เขตเวลามาตรฐานคือ UTC / GMT +6: 30 ชั่วโมง

ภูมิอากาศ

[แก้]

ย่างกุ้งมีภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อนภายใต้ระบบการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพิน[25] เมืองแห่งนี้มีฤดูฝนที่ยาวนานตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงตุลาคมซึ่งมีปริมาณน้ำฝนเป็นจำนวนมาก และฤดูแล้งระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเมษายนซึ่งมีฝนเล็กน้อย สาเหตุหลักมาจากฝนตกหนักที่ได้รับในช่วงฤดูฝนทำให้ย่างกุ้งตกอยู่ภายใต้สภาพภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน ในช่วงปี พ.ศ. 2504 ถึง พ.ศ. 2533 อุณหภูมิโดยเฉลี่ยแสดงความแปรปรวนเล็กน้อยโดยมีค่าเฉลี่ยสูงจาก 29 ถึง 36 ° C (84 ถึง 97 ° F) และอุณหภูมิต่ำสุดตั้งแต่ 18 ถึง 25 ° C (64 ถึง 77 ° F) .

ข้อมูลภูมิอากาศของYangon (Kaba–Aye) 1981–2010, extremes 1881–1990
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 38.9
(102)
38.9
(102)
40.0
(104)
41.1
(106)
41.1
(106)
37.8
(100)
37.8
(100)
34.4
(93.9)
38.9
(102)
37.8
(100)
38.9
(102)
35.6
(96.1)
41.1
(106)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 33.2
(91.8)
35.2
(95.4)
36.7
(98.1)
37.5
(99.5)
34.2
(93.6)
30.8
(87.4)
30.3
(86.5)
30.0
(86)
30.9
(87.6)
32.2
(90)
33.1
(91.6)
32.5
(90.5)
33.1
(91.6)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 24.8
(76.6)
26.5
(79.7)
28.6
(83.5)
31.0
(87.8)
29.2
(84.6)
27.4
(81.3)
26.8
(80.2)
26.9
(80.4)
27.5
(81.5)
27.6
(81.7)
27.3
(81.1)
25.0
(77)
27.4
(81.3)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 16.7
(62.1)
18.4
(65.1)
21.0
(69.8)
23.8
(74.8)
24.3
(75.7)
23.6
(74.5)
23.2
(73.8)
23.2
(73.8)
23.2
(73.8)
23.1
(73.6)
21.3
(70.3)
17.8
(64)
21.6
(70.9)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 12.2
(54)
13.3
(55.9)
16.1
(61)
20.0
(68)
20.0
(68)
20.0
(68)
21.1
(70)
20.0
(68)
20.0
(68)
20.0
(68)
15.0
(59)
12.8
(55)
12.2
(54)
ปริมาณฝน มม (นิ้ว) 0.4
(0.016)
3.1
(0.122)
12.4
(0.488)
37.8
(1.488)
328.1
(12.917)
565.6
(22.268)
605.8
(23.85)
570.7
(22.469)
393.7
(15.5)
200.3
(7.886)
58.6
(2.307)
6.8
(0.268)
2,783.3
(109.579)
ความชื้นร้อยละ 62 66 69 66 73 85 86 87 85 78 71 65 74
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย 0.2 0.2 0.4 1.6 12.6 25.3 26.2 26.1 19.5 12.2 4.8 0.2 129.3
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 300 272 290 292 181 80 77 92 97 203 280 288 2,452
แหล่งที่มา 1: Norwegian Meteorological Institute (average high and average low, and precipitation 1981–2010),[26] World Meteorological Organization (rainy days 1961–1990),[27] Deutscher Wetterdienst (extremes)[28]
แหล่งที่มา 2: Danish Meteorological Institute (sun and relative humidity 1931–1960),[29] Tokyo Climate Center (mean temperatures 1981–2010)[30]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Census Report. The 2014 Myanmar Population and Housing Census. Vol. 2. Naypyitaw: Ministry of Immigration and Population. May 2015. p. 31.
  2. 2.0 2.1 "Third Regional EST Forum: Presentation of Myanmar" (PDF). Singapore: Ministry of Transport, Myanmar. 17–19 March 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-02-26. สืบค้นเมื่อ 2013-05-08. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  3. 3.0 3.1 "ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (พิเศษ 205 ง). 1 กันยายน 2565.
  4. "Burma's new capital stages parade". BBC News. 27 March 2006. สืบค้นเมื่อ 3 August 2006.
  5. Martin, Steven (30 March 2004). "Burma maintains bygone buildings". BBC News. สืบค้นเมื่อ 22 May 2006.
  6. "As Myanmar Modernizes, Architectural Gems Are Endangered". National Public Radio. June 4, 2014. สืบค้นเมื่อ 8 April 2017.
  7. De Thabrew, W. Vivian (11 March 2014). Buddhist Monuments And Temples Of Myanmar And Thailand. AuthorHouse. ISBN 9781491896228. สืบค้นเมื่อ 8 April 2017.
  8. "Rapid migration and lack of cheap housing fuels Yangon slum growth". Myanmar Now. 2016-02-27. สืบค้นเมื่อ 8 April 2017.
  9. Founded during the reign of King Pontarika, per Charles James Forbes Smith-Forbes (1882). Legendary History of Burma and Arakan. The Government Press. p. 20.; the king's reign was 1028 to 1043 per Harvey, G. E. (1925). History of Burma: From the Earliest Times to 10 March 1824. London: Frank Cass & Co. Ltd. p. 368.
  10. 10.0 10.1 Kyaw Kyaw (2006). Frauke Krass, Hartmut Gaese, Mi Mi Kyi (บ.ก.). Megacity yangon: transformation processes and modern developments. Berlin: Lit Verlag. pp. 333–334. ISBN 3-8258-0042-3.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: editors list (ลิงก์)
  11. "BBC NEWS | Asia-Pacific | Burma maintains bygone buildings". BBC. 2004-03-30. สืบค้นเมื่อ 27 July 2017.
  12. "Moulmein, first British capital of Myanmar, back on the tourist map". The Hindu. สืบค้นเมื่อ 27 July 2017.
  13. 13.0 13.1 "Yangon Summary Review and Analysis". Bookrags.com. 17 October 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-11-28. สืบค้นเมื่อ 17 April 2010.
  14. Falconer, John; และคณะ (2001). Burmese Design & Architecture. Hong Kong: Periplus. ISBN 962-593-882-6.
  15. 15.0 15.1 Tin Maung Maung Than (1993). Indian Communities in south-east Asia - Some Aspects of Indians in Rangoon. Institute of south-east Asian Studies. pp. 585–587. ISBN 9789812304186.
  16. Who, What, Why? (26 September 2007). "Should it be Burma or Myanmar?". BBC News. สืบค้นเมื่อ 17 April 2010.{{cite news}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  17. "Background Note: Burma". Bureau of East Asian and Pacific Affairs, US Department of State. สืบค้นเมื่อ 1 January 2009.
  18. Edward Blair (1 May 2006). "Beyond Rangoon". The Irrawaddy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-10-04. สืบค้นเมื่อ 2019-03-18.
  19. "Special Report". 4 November 2001. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-22. สืบค้นเมื่อ 2019-03-18.
  20. Zaw Htet. "Pioneering FMI City 'the best in Yangon'". The Myanmar Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-11-14. สืบค้นเมื่อ 2019-03-18.
  21. "Yangon-Thanlyin Bridge". สืบค้นเมื่อ 7 September 2008.[ลิงก์เสีย]
  22. Kyi Kyi Hla (1 February 2001). "Ngamoeyeik Bridge".
  23. Burmese Human Rights Yearbook, 2007, http://www.burmalibrary.org/show.php?cat=1320&lo=d&sl=0
  24. Ye Lwin (14 July 2008). "Long road back for industrial recovery". The Myanmar Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-30. สืบค้นเมื่อ 2019-03-18.
  25. Peel, M. C. and Finlayson, B. L. and McMahon, T. A. (2007). "Updated world map of the Köppen–Geiger climate classification" (PDF). Hydrol. Earth Syst. Sci. 11 (5): 1633–1644. doi:10.5194/hess-11-1633-2007. ISSN 1027-5606.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  26. "Myanmar Climate Report" (PDF). Norwegian Meteorological Institute. pp. 26–36. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 8 October 2018. สืบค้นเมื่อ 8 October 2018.
  27. "World Weather Information Service – Yangon". World Meteorological Organization. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 December 2016. สืบค้นเมื่อ 8 May 2012.
  28. "Klimatafel von Yangon (Rangun) / Myanmar (Birma)" (PDF). Baseline climate means (1961–1990) from stations all over the world (ภาษาเยอรมัน). Deutscher Wetterdienst. สืบค้นเมื่อ 26 April 2018.
  29. Cappelen, John; Jensen, Jens. "Myanmar – Rangoon" (PDF). Climate Data for Selected Stations (1931–1960) (ภาษาเดนมาร์ก). Danish Meteorological Institute. p. 189. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 27 April 2013. สืบค้นเมื่อ 23 February 2013.
  30. "Normals Data: YANGON - MYANMAR Latitude: 16.77°N Longitude: 96.17°E Height: 14 (m)". Japan Meteorological Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 January 2019. สืบค้นเมื่อ 13 January 2019.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]