ข้ามไปเนื้อหา

รืด คึลลิต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รูด คึลลิต
คึลลิตใน ค.ศ. 2024
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อเต็ม รูด คึลลิต[1]
ชื่อเกิด รือดี ดิล[2]
วันเกิด (1962-09-01) 1 กันยายน ค.ศ. 1962 (62 ปี)[1]
สถานที่เกิด อัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์[1]
ส่วนสูง 1.91 เมตร (6 ฟุต 3 นิ้ว)[3]
ตำแหน่ง กองหน้า, กองกลาง, กองหลัง
สโมสรเยาวชน
1967–1975 อาเอสเฟ เมร์โบยส์
1975–1979 เดเวเอส[4]
สโมสรอาชีพ*
ปี ทีม ลงเล่น (ประตู)
1979–1982 ฮาร์เลม 91 (32)
1982–1985 ไฟเยอโนร์ด 85 (30)
1985–1987 เปเอสเฟ 68 (46)
1987–1994 มิลาน 125 (38)
1993–1994ซัมป์โดเรีย (ยืมตัว) 31 (15)
1994–1995 ซัมป์โดเรีย 22 (9)
1995–1998 เชลซี 48 (4)
รวม 470 (174)
ทีมชาติ
1979 เนเธอร์แลนด์ อายุไม่เกิน 21 ปี 4 (1)
1981–1994 เนเธอร์แลนด์ 66 (17)
จัดการทีม
1996–1998 เชลซี (ผู้เล่น-ผู้จัดการ)
1998–1999 นิวคาสเซิลยูไนเต็ด
2004–2005 ไฟเยอโนร์ด
2007–2008 แอลเอ แกลักซี
2011 เตเรคกรอซนืย
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น

รูด คึลลิต (ดัตช์: Ruud Gullit OON, ออกเสียง: [ˈryt ˈxʏlɪt] ( ฟังเสียง))[5] มีชื่อจริงว่า รือดี ดิล (Rudi Dil; เกิดเมื่อวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1962) เป็นผู้จัดการทีมฟุตบอลและอดีตนักฟุตบอลชาวดัตช์ ซึ่งเล่นฟุตบอลอาชีพอยู่ในคริสต์ทศวรรษ 1980 และคริสต์ทศวรรษ 1990 เขาเป็นกัปตันทีมชาติเนเธอร์แลนด์ ซึ่งชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1988 และเป็นหนึ่งในผู้เล่นทีมชาติชุดที่ลงเล่นในฟุตบอลโลก 1990

คึลลิตกับทรงผมเดรดล็อก

ในระดับสโมสร ใน ค.ศ. 1987 คึลลิตย้ายจากเปเอสเฟมายังเอ.ซี. มิลาน ด้วยค่าตัวสูงเป็นสถิติโลกในเวลานั้น[6] เขาเป็นที่จดจำได้ง่ายด้วยทรงผมเดรดล็อกอันโดดเด่น และเป็นหนึ่งในสามทหารเสือดัตช์ที่มีชื่อเสียงแห่งมิลาน (อีกสองคนได้แก่ มาร์โก ฟัน บัสเติน และฟรังก์ ไรการ์ด) คึลลิตเป็นแชมป์เซเรียอา 3 สมัย และยูโรเปียนคัพ 2 สมัยร่วมกับสโมสรนี้

คึลลิตได้รับเลือกให้เป็นนักฟุตบอลยอดเยี่ยมแห่งปีของทวีปยุโรปใน ค.ศ. 1987 และผู้เล่นแห่งปีของนิตยสารเวิลด์ซอกเกอร์ใน ค.ศ. 1987 และ ค.ศ. 1989 โดยปกติเขาจะเล่นในตำแหน่งกองกลางตัวรุก แต่ก็สามารถเล่นได้หลายตำแหน่งในช่วงอาชีพนักฟุตบอลของเขา ใน ค.ศ. 2004 เขามีชื่ออยู่ในรายชื่อนักฟุตบอลยอดเยี่ยม 125 คน ที่ยังมีชีวิตอยู่ ในฐานะส่วนหนึ่งของการเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปีของการก่อตั้งฟีฟ่า[7] นอกจากนี้ คึลลิตยังเคยทำงานรณรงค์การเสนอตัวเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2018 และ 2022 ของเนเธอร์แลนด์กับเบลเยียมอีกด้วย

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 "รืด คึลลิต". Barry Hugman's Footballers. สืบค้นเมื่อ 21 ธันวาคม 2017.
  2. "Football: Gullit delights in being different". 22 October 2011.
  3. "Ruud Gullit - Spielerprofil - DFB" (ภาษาเยอรมัน). dfb.de. สืบค้นเมื่อ 17 March 2021.
  4. "Vader Gullit beschuldigt 'arrogante Ajacieden'". Trouw.nl. 1 June 1994. สืบค้นเมื่อ 25 June 2014.
  5. นามสกุลออกเสียงว่า [ˈɣʏlɪt] เมื่ออยู่โดด ๆ
  6. "The history of the world transfer record". BBC News. Retrieved 10 May 2014
  7. "Pele's list of the greatest". BBC Sport. 4 March 2004. สืบค้นเมื่อ 10 May 2014.

อ่านเพิ่ม

[แก้]
  • Harris, Harry (1996). Ruud Gullit: Portrait of a Genius.
  • Glanville, Brian (1999). Footballers Don't Cry.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]