รีบอค
อุตสาหกรรม | เสื้อผ้ากีฬา อุปกรณ์กีฬา |
---|---|
ก่อตั้ง | ค.ศ. 1895 |
ผู้ก่อตั้ง | เจ.ดับเบิลยู. ฟอสเตอร์ และบุตรชาย |
สำนักงานใหญ่ | เคนตัน รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา |
พื้นที่ให้บริการ | ทั่วโลก |
ผลิตภัณฑ์ | รองเท้ากีฬา เสื้อกีฬา อุปกรณ์กีฬา |
เว็บไซต์ | Reebok.com |
รีบอคอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด หรือที่รู้จักกันดีในชื่อของ รีบอค (อังกฤษ: Reebok International Limited; อักษรย่อ: Reebok) เป็นแบรนด์รองเท้าและเสื้อผ้าสัญชาติอเมริกา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Authentic Brands Group ก่อตั้งในประเทศอังกฤษในปี ค.ศ. 1958 โดยเป็นบริษัทที่เกี่ยวข้องกับ J.W. Foster and Sons ซึ่งเป็นบริษัทอุปกรณ์กีฬาที่ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1895 ที่เมืองโบลตัน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1958 ถึง ค.ศ. 1986 แบรนด์ได้ใช้ธงสหราชอาณาจักรเป็นโลโก้เพื่อบ่งบอกถึงที่มาของบริษัท บริษัทอาดิดาสซึ่งเป็นบริษัทผลิตอุปกรณ์กีฬาของเยอรมนีได้เข้าซื้อกิจการในปี ค.ศ. 2005 และขายให้กับ Authentic Brands Group ซึ่งตั้งอยู่ในสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 2021 สำนักงานใหญ่ระดับโลกของบริษัทตั้งอยู่ในเมืองบอสตัน รัฐแมสซาชูเซตส์ ในเขตซีพอร์ต
ประวัติ
[แก้]ช่วงแรก
[แก้]ในปี ค.ศ. 1895 โจเซฟ วิลเลียม ฟอสเตอร์ เริ่มทำงานในห้องนอนเหนือร้านขนมของพ่อในเมืองโบลตัน ประเทศอังกฤษ เมื่ออายุได้ 14 ปี และได้ออกแบบรองเท้าวิ่งแบบมีปุ่มรุ่นแรก ๆ[1] หลังจากที่แนวคิดของเขาได้รับการพัฒนา เขาได้ก่อตั้งธุรกิจของตัวเองที่ชื่อว่า J.W. Foster ในปี ค.ศ. 1900 ต่อมาเขาได้เข้าร่วมธุรกิจกับลูกชายของเขาและเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น J.W. Foster and Sons[2] ฟอสเตอร์เปิดโรงงานเล็ก ๆ ชื่อ โอลิมปิก เวิร์กส์ และค่อย ๆ โด่งดังในหมู่นักกีฬาจาก "รองเท้าวิ่ง" ของเขา[1][3] บริษัทเริ่มจัดจำหน่ายรองเท้าไปทั่วสหราชอาณาจักร ซึ่งรองเท้าเหล่านี้ถูกสวมใส่โดยนักกีฬาชาวอังกฤษ พวกเขามีชื่อเสียงจาก
ในปี ค.ศ. 1958 ในเมืองโบลตัน เจฟฟ์และโจ ฟอสเตอร์ หลานชายของผู้ก่อตั้งได้ก่อตั้งบริษัทที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีชื่อว่า "รีบอค" โดยพวกเขาพบชื่อนี้ในพจนานุกรมที่โจได้รับจากการแข่งขันวิ่งระยะสั้นเมื่อครั้งยังเป็นเด็ก ชื่อในภาษาอาฟรีกานส์ของรีบอคสีเทาซึ่งเป็นแอนทิโลปชนิดหนึ่งในแอฟริกา[3][4]
ในปี ค.ศ. 1979 พอล ไฟร์แมน นักธุรกิจชาวอเมริกันได้ให้ความสนใจรีบอคในงาน Chicago NSGA (National Sporting Goods of America) Show ก่อนหน้านี้ ไฟร์แมนเคยเป็นผู้บริหารธุรกิจ Boston Camping ซึ่งเป็นธุรกิจของครอบครัวของเขา[5] และเจรจาข้อตกลงในการให้สิทธิ์และการจัดจำหน่ายแบรนด์รีบอคในสหรัฐอเมริกา แผนกนี้เป็นที่รู้จักในชื่อ Reebok USA Ltd.[6] ในปีนั้น ไฟร์แมนได้เปิดตัวรองเท้าใหม่ 3 รุ่นสู่ตลาดในราคา 60 เหรียญสหรัฐ ในปี ค.ศ. 1981 รีบอคมียอดขายมากกว่า 1.5 ล้านเหรียญสหรัฐ[2]
สปอนเซอร์ว่าจ้าง
[แก้]ฟุตบอลทีมชาติ
[แก้]
|
|
สโมสรฟุตบอล
[แก้]- ฟิออเรนตินา (1994–1997)
- ลิเวอร์พูล (1996–2006)
- แมนเชสเตอร์ซิตี (2003–07)
- เวสต์แฮมยูไนเต็ด (2003–07)
- โบลตันวันเดอเรอส์ (1990–2009 เป็นผู้สนับสนุนหลักบนเสื้อ, 1997-2014 ในนามของสนามแข่งขัน (รีบอคสเตเดียม))
- สปอร์ติงลิสบอน (1998–2006)
- แอตแลนติโกมาดริด (1998–2001)
- เบซิคตัส (1998–2001)
- ช็อนบุกฮุนไดมอเตอส์ (2005–2006)
นักฟุตบอล
[แก้]มวย
[แก้]นักร้อง, นักแสดง
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Adidas buys Reebok to conquer US". The Telegraph. 6 October 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 11, 2022.
- ↑ 2.0 2.1 Pederson, Jay P. (March 19, 1999). International Directory of Company Histories. Vol. 26. Detroit, Michigan: St. James Press. p. 396. ISBN 978-1-55862-385-9. OCLC 41291127 – โดยทาง Funding Universe.
- ↑ 3.0 3.1 Coles, Jason (2016). Golden Kicks: The Shoes That Changed Sport. London: Bloomsbury Publishing. pp. 14–16. ISBN 978-1-4729-3704-9. OCLC 960846901.
- ↑ "Reebok: A running history". LesMills. June 2, 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 24, 2015. สืบค้นเมื่อ February 23, 2015.
- ↑ "Paul Fireman: Sole Man". Sports Business Journal. June 14, 2021.
- ↑ C.Y. Ellis (November 8, 2013). "The History of Reebok in the Sneaker Industry". HoopsVibe.
- ↑ "Reebok agreements with USA professional leagues". Corporate.reebok.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-13. สืบค้นเมื่อ 2011-05-06.
- ↑ "Lot 491: JEFF FENECH FIGHT WORN TRUNKS". Lelands.com. 2003-12-04. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-16. สืบค้นเมื่อ 2013-06-06.
- ↑ หน้า 25, "สี่แยกบันเทิง" โดย แม่ช่อมะไฟ. ไทยรัฐปีที่ 67 ฉบับที่ 21510: วันจันทร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2556 ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 1 ปีวอก