ข้ามไปเนื้อหา

ริ้วธงการทัพ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ขบวนแห่ที่ ลัสท์การ์เทน เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2437 โดย คาร์ล เรอชลิง มองเห็นริบบิ้นติดอยู่กับธงตรงกลาง
ริ้วธงสงคราม (guþfana genumen) ซึ่งมีการกล่าวถึงใน บันทึกเหตุการณ์ของชาวแองโกล-แซกซัน ในปัจจุบันเรียกว่า แบนเนอร์เรเวน ซึ่งปรากฏบนพรมผนังบาเยอ

ริ้วธงการทัพ[1] (อังกฤษ: campaign streamer) เป็นอิสริยาภรณ์ที่ติดไว้กับธงทหารเพื่อแสดงความชื่นชมความสำเร็จหรือเหตุการณ์เฉพาะของหน่วยทหารหรือกองทัพ ริ้วธงการทัพมักจะติดไว้บนหัวของธงบรรจุมอบ โดยจะมีแถบริบบิ้นจารึกชื่อและวันที่ซึ่งแสดงถึงการเข้าร่วมในสมรภูมิ การทัพ หรือเขตสงครามใดสงครามหนึ่ง สีของแถบริบบิ้นจะถูกเลือกตามความเหมาะสม และมักจะตรงกับเหรียญการทัพหรือแพรแถบย่อประจำการสงครามที่เกี่ยวข้อง ริ้วธงการทัพมักจะแสดงถึงเกียรติยศในการรบ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าธงประดับทั้งหมดเป็นเกียรติยศในการรบ (เช่น ธงประดับงานกาลาหรือขบวนพาเหรดที่ไม่เกี่ยวข้องกับการรบ) ไม่ควรสับสนกับคันทวย ซึ่งโดยปกติแล้วมีไว้เพื่อการตกแต่งเท่านั้น

กองทัพของเยอรมนี สหรัฐ และประเทศอื่น ๆ ต่างก็ใช้ริ้วธงในลักษณะนี้เช่นกัน ในอดีต ปรัสเซีย ออสเตรีย-ฮังการี และสหภาพโซเวียตก็ใช้ริ้วธงรางวัลในลักษณะนี้เช่นกัน

สหรัฐ

[แก้]
การแสดงริ้วธง จากธงเหล่านาวิกโยธินสหรัฐ
ภาพแสดงริ้วธงบนธงกองทัพบกสหรัฐ ธงประจำหน่วย

ภูมิหลัง

[แก้]

กองทัพบกสหรัฐได้จัดตั้งริ้วธงการทัพในปี พ.ศ. 2463 เหล่านาวิกโยธินสหรัฐในปี พ.ศ. 2482 กองทัพอากาศสหรัฐในปี พ.ศ. 2500 ยามฝั่งสหรัฐได้นำริ้วธงสมรภูมิมาใช้ในปี พ.ศ. 2511 และกองทัพเรือสหรัฐได้ทำตามในปี พ.ศ. 2514[2][3]

การใช้งาน

[แก้]

การปฏิบัติหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับริ้วธงและการจัดแสดงนั้นมีความคล้ายคลึงกันในแต่ละเหล่า อย่างไรก็ตาม มีความแตกต่าง โดยเฉพาะในเรื่องของจำนวนริ้วธงและการใช้อุปกรณ์ปัก กองทัพบกมีริ้วธงแยกกันสำหรับแต่ละปฏิบัติการสำคัญในสงครามทั้งหมดที่หน่วยนั้น ๆ เข้าร่วม โดยแต่ละอันจะปักชื่อของปฏิบัติการที่ระลึกถึง ปัจจุบัน กองทัพบกอนุญาตให้มีริ้วธงได้ 190 อัน[4][5] และกองทัพอากาศซึ่งใช้ระบบของกองทัพบกมีมากกว่า 60 อัน

ขณะที่นาวิกโยธินและกองทัพเรือจะแตกต่างจากการปฏิบัติของกองทัพบกและกองทัพอากาศ นาวิกโยธินและกองทัพเรือใช้ริ้วธงหนึ่งอันสำหรับแต่ละสงคราม การทัพ หรือยุทธบริเวณ ปฏิบัติการหรือการรบที่เฉพาะเจาะจงจะเน้นด้วยดาวสีบรอนซ์และสีเงินที่ปักไว้บนริบบิ้น นาวิกโยธินมีริบบิ้น 57 อัน[6][7] กองทัพเรือมี 36 อัน และหน่วยยามฝั่งทะเลมี 43 อัน โดยไม่ได้ประดับด้วยดาวหรือตัวอักษรใดๆ ดาวบนริ้วธงของนาวิกโยธินและกองทัพเรือเป็นไปตามธรรมเนียมปฏิบัติที่ริเริ่มในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองสำหรับแพรแถบย่อและเหรียญตรา นั่นคือ ดาวสีบรอนซ์สำหรับการปฏิบัติงานแต่ละอย่าง และดาวสีเงินแทนดาวสีบรอนซ์ 5 ดวง กองทัพเรือใช้ดาวบนริบบิ้นที่เหมาะสมตลอดประวัติศาสตร์ ในขณะที่นาวิกโยธินใช้ดาวเพื่อรำลึกถึงการปฏิบัติงานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2443 ริ้วธงอิสริยาภรณ์ประกาศกิตติคุณหน่วยประธานาธิบดี (Presidential Unit Citation) ของกองทัพเรือ อิสรยาภรณ์สรรเสริญหน่วยนาวี (Navy Unit Commendation) และอิสรยาภรณ์สรรเสริญหน่วยอันมีคุณความดี (Meritorious Unit Commendation) ของกองทัพเรือแต่ละอันจะมีตัวเลขสีแดงแทนดาว ซึ่งแสดงถึงจำนวนครั้งที่มอบรางวัลดังกล่าวให้กับหน่วยของกองทัพเรือ

ลักษณะปรากฏ

[แก้]

ริ้วธงมักมีปลายแบน[8][9] พร้อมข้อความ โดยมีข้อยกเว้นเพียงอย่างเดียวคือริ้วธงของนาวิกโยธินสหรัฐ ซึ่งมักมีปลายแหลมและไม่มีข้อความ[10] ปลายปีกของสตรีมเมอร์มักมีหางติ่ง

ขนาด

[แก้]

ขนาดของริ้วธงจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับเหล่าทัพที่ใช้และขนาดของธงที่ติดอยู่ โดยทั่วไปจะมีความยาว 3 ฟุต (0.91 เมตร) และกว้าง 2.75 นิ้ว (7.0 เซนติเมตร); ริ้วธงของนาวิกโยธินสหรัฐมีความกว้าง 2.75 นิ้ว (7.0 เซนติเมตร) และยาว 36 นิ้ว (3.0 ฟุต) หรือ 48 นิ้ว (4.0 ฟุต)[10]

สี

[แก้]

ในกรณีที่มีการมอบเหรียญตราสำหรับสงครามหรือการบริการเฉพาะ สีและรูปแบบของริ้วธงจะเหมือนกันกับแพรแถบที่ใช้แขวนเหรียญรางวัล ความขัดแย้งและปฏิบัติการที่ไม่มีการมอบเหรียญรางวัลจะมีริบบิ้นที่ออกแบบมาเป็นพิเศษเพื่อใช้เป็นริ้วธงรางวัล

การตัดสินใจปี พ.ศ. 2566 เกี่ยวกับเกียรติยศการรบของสมาพันธรัฐ

[แก้]

เมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2566 หน่วยของกองกำลังป้องกันชาติทางภาคใต้ของสหรัฐที่ได้รับเครื่องหมายเกียรติยศการรบในสงครามกลางเมือง (ฝ่ายสมาพันธรัฐอเมริกา) ได้รับคำสั่งให้ถอดธงรบเหล่านั้นออกจากเสาธงกองพัน[11]

ไทย

[แก้]
พลเอก เดวิลเลียม บี. รอสสัน ประดับเมอริโทเรียส ยูนิท คอมมันเดเชิน (ทหารบก) บนธงไชยเฉลิมพลของกองพลทหารอาสาสมัคร และประดับแพรแถบเกียรติคุณให้แก่ทหารไทย ณ สาธารณรัฐเวียดนาม

ประเทศไทยไม่มีการใช้งานริ้วธงการทัพเป็นของตนเอง แต่ได้รับการประดับบนธงไชยเฉลิมพลของหน่วยที่ปฏิบัติการร่วมฝรั่งเศส, สหรัฐ และเกาหลีใต้ ในสงคราม คือ สงครามโลกครั้งที่ 1, สงครามเกาหลี และสงครามเวียดนาม

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. โรจนวงศ์, ระวี (2561). ภาษาอังกฤษพื้นฐานสำหรับกำลังพลในกองทัพบกไทย (ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2). กรมยุทธศึกษาทหารบก. pp. 57 (67). ISBN 9786168035450.
  2. "THE BATTLE STREAMERS". Coast Guard History Frequently Asked Questions. United States Coast Guard. สืบค้นเมื่อ 5 July 2014.
  3. "Navy battle streamers". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 October 2008. สืบค้นเมื่อ 21 June 2014.
  4. "Total Campaign Streamers: Army". United States Army. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-11-29. สืบค้นเมื่อ 10 March 2018.
  5. "Listing of the Campaigns of the U.S. Army Displayed on the Army Flag | U.S. Army Center of Military History". history.army.mil. สืบค้นเมื่อ 2024-09-10.
  6. "Streamers of the Marine Corps Battle Colors | Marine Corps University". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 February 2018. สืบค้นเมื่อ 12 March 2018.
  7. [1] [ลิงก์เสีย]
  8. "New campaign streamers available now for unit flags". Army.mil. 22 July 2009. สืบค้นเมื่อ 28 September 2018.
  9. "ARMY/USAF Campaign Streamer (Iraq Campaign )". Guidonsandmore.com.
  10. 10.0 10.1 "USMC Award Streamers Marine Corps Battle Streamers". Guidonsandmore.com.
  11. Beynon, Steve (16 March 2023). "These Southern National Guard Units to Toss Confederate Battle Streamers". Military.com. สืบค้นเมื่อ 2023-12-30.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]