ข้ามไปเนื้อหา

ราเกซ เชอร์มา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ราเกซ เชอร์มา

เกิด (1949-01-13) 13 มกราคม ค.ศ. 1949 (76 ปี)
ปาเตียละ, รัฐปัญจาบ, อินเดีย
สัญชาติอินเดีย
อาชีพนักบินฝึกหัดที่กองทัพอากาศอินเดีย
รางวัล Ashok Chakra
วีรชนแห่งสหภาพโซเวียต
อาชีพในอวกาศ
อยู่บนอวกาศ
7 21 40นา
การคัดเลือกค.ศ.1982
ภารกิจโซยุซ T-11 / โซยุซ T-10
เครื่องหมายภารกิจ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ อินเดีย
แผนก/สังกัดFlag of the กองทัพอากาศอินเดีย กองทัพอากาศอินเดีย
ชั้นยศ นาวาอากาศโท
คู่สมรสMadhu
บุตรสอง, Kartika (ลูกสาว) กับ Kapil Sharma (ลูกชาย)

ราเกซ เชอร์มา (เกิด 13 มกราคม ค.ศ. 1949) เป็นอดีตนักบินกองทัพอากาศอินเดียซึ่งบินบนยานโซยุซ ที-11 ซึ่งปล่อยวันที่ 3 เมษายน ค.ศ. 1984 เป็นส่วนหนึ่งของโครงการอินเตอร์คอสมอส เชอร์มาเป็นชาวอินเดียคนแรกที่เดินทางในอวกาศ[1][2]

ชีวิตช่วงต้น

[แก้]

ราเกซ เชอร์มาเกิดวันที่ 13 มกราคม ค.ศ. 1949 ที่ปาเตียลา รัฐปัญจาบ ประเทศอินเดีย เขาเข้าศึกษาที่โรงเรียนไวยากรณ์เซนต์จอจส์ ไฮเดอราบาด เขาสำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยนีซัม เขาเข้าร่วมนักเรียนนายทหารกองทัพอากาศใน ค.ศ. 1966

อาชีพ

[แก้]

เขาเป็นศิษย์เก่าวิทยาลัยกลาโหมแห่งชาติรุ่นที่ 35 เข้าร่วมเป็นนักบินทดสอบในกองทัพอากาศอินเดียใน ค.ศ. 1970 เขาบินอากาศยานมีโคยัน-กูเรวิชหลายเที่ยวตั้งแต่ ค.ศ. 1971 ราเกซก้าวหน้าอย่างรวดรเวผ่านหลายระดับ และใน ค.ศ. 1984 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นหัวหน้าฝูงบินและนักบินในกองทัพอากาศอินเดีย[3] เขาได้รับเลือกเมื่อวันที่ 20 กันยายน ค.ศ. 1982 ให้เป็นนักบินอวกาศและเป็นส่วนหนึ่งของโครงการร่วมระหว่างองค์การวิจัยอวกาศอินเดียและโครงการอวกาศอินเตอร์คอสมอสของโซเวียต[4]

เขาเกษียณจากยศผู้บังคับการกองบิน และเข้าร่วมการบินฮินดูสถาน จำกัด (HAL) ใน ค.ศ. 1987 และเป็นหัวหน้านักบินทดสอบในกองนาชิก (Nashik) ของ HAL จน ค.ศ. 1992 ก่อนย้ายไปบังกาลอร์เพื่อทำงานเป็นหัวหน้านักบินทดสอบของ HAL เขายังสัมพันธ์กับอากาศยานรบเบา เธจัส[4]

การบินอวกาศ

[แก้]

ใน ค.ศ. 1984 เขาเป็นพลเมืองอินเดียคนแรกที่ไปอวกาศเมื่อเขาบินบนจรวดโซยุซ ที-11 ของโซเวียตที่ปล่อยจากท่าอวกาศยานบัยโกเงอร์ในสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคาซัค วันที่ 2 เมษายน ค.ศ. 1984 เขาใช้เวลาบนยาน 7 วัน 21 ชั่วโมง 40 นาทีระหว่างที่ทีมทำการศึกษาทางวิทยาศาสตร์และเทคนิคซึ่งมีช่วงทดลอง 43 ช่วง เขาทำงานเป็นหลักในสาขาชีวการแพทย์และการสัมผัสระยะไกล[4] ประเทศอินเดียกลายเป็นชาติที่ 14 ที่ส่งคนสู่อวกาศ[4]

รางวัล

[แก้]

เขาได้รับเกียรติวีรบุรุษแห่งสหภาพโซเวียตเมื่อกลับจากอวกาศ รัฐบาลอินเดียมอบรางวัลวีรคติสูงสุด (ระหว่างยามสงบ) อโศกจักร (Ashoka Chakra) แก่เขาและสมาชิกโซเวียตสองคนในภารกิจนั้น มาลีเชฟและสเตรคาลอฟ[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Cosmonaut Biography: Rakesh Sharma". Spacefacts.de. สืบค้นเมื่อ 2012-07-06.
  2. "Rakesh Sharma". Mapsofindia.com. สืบค้นเมื่อ 2012-07-06.
  3. "Rakesh Sharma". aerospaceguide.net. สืบค้นเมื่อ 4 June 2014.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 Srinivasan, Pankaja (2010-04-04). "The down to earth Rakesh Sharma". The Hindu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-24. สืบค้นเมื่อ 2014-04-05.