ข้ามไปเนื้อหา

ราอัด บิน เซอิด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ราอัด บิน เซอิด
ผู้พิทักษ์พระราชบัลลังก์อิรัก และ ซีเรีย
ดำรงพระยศ18 ตุลาคม พ.ศ. 2513 - ปัจจุบัน
(54 ปี 95 วัน)
ก่อนหน้าเซอิด บิน ฮุซัยน์
ประสูติ18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2479 (88 ปี)
เบอร์ลิน, นาซีเยอรมนี
พระชายามาจดา ราอัด
(พ.ศ. 2506 - 2568)
พระบุตรเซอิด บิน ราอัด
มิเรด บิน ราอัด
ฟิราส บิน ราอัด
ไฟซัล บิน ราอัด
นิสซา บินด์ ราอัด
ราชวงศ์ราชวงศ์ฮัชไมต์
พระบิดาเซอิด บิน ฮุซัยน์
พระมารดาเจ้าหญิงฟาห์เรลนิสซา เซอิด

ราอัด บิน เซอิด หรือ เจ้าชายราอัด บิน เซอิด (อาหรับ : رعد بن زيد;) ประสูติเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2479 เป็นพระโอรสเพียงพระองค์เดียวใน เซอิด บิน ฮุซัยน์ กับ เจ้าหญิงฟาห์เรลนิสซา เซอิด ทรงเป็นผู้พิทักษ์พระราชบัลลังก์อิรัก และ ซีเรีย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513

พระชนม์ชีพ

[แก้]

พระองค์ประสูติในปี พ.ศ. 2479 ณ เบอร์ลิน , นาซีเยอรมนี พระบิดาและพระมารดาของพระองค์ สิ้นพระชนม์พร้อมกัน เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2513 ทำให้พระองค์กลายเป็น ผู้พิทักษ์พระราชบัลลังก์อิรัก และ ซีเรีย พระองค์เคยประทับใน ปารีส พระองค์เป็นพระราชนัดดา (หลานปู่) ใน ชะรีฟ ฮูไซน์ อิบนิ อาลี ผู้เป็นพระมหากษัตริย์แห่งฮิญาซ เป็นพระราชภาติยะ (หลานลุง) ใน สมเด็จพระเจ้าอับดุลลอฮ์ที่ 1 แห่งจอร์แดน กับ พระเจ้าฟัยศ็อลที่ 1 แห่งอิรัก พระญาติของพระองค์ คือ พระเจ้าฟัยศ็อลที่ 2 แห่งอิรัก กษัตริย์องค์สุดท้ายของอิรัก ซึ่งถูกสังหารเมื่อพระชนมพรรษาเพียง 23 พรรษา จากการรัฐประหาร ที่นองเลือดเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 ซึ่ง เจ้าชายอับดุลลาห์ มกุฎราชกุมารแห่งอิรัก ก็ถูกประหารด้วยเช่นกัน หลังจากการปฏิวัติ พระบิดาของพระองค์ ได้รับการยอมรับให้เป็นประมุขราชวงศ์อิรัก ในฐานะสมาชิกพระราชวงศ์จอร์แดน โดยครอบครัวของพระองค์ประทับอยู่ในลอนดอน ซึ่งครอบครัวของพระองค์เคยประทับอยู่ระหว่างการรัฐประหาร เนื่องจากพระบิดาทรงเป็นเอกอัครราชทูตอิรัก

ทรงรับการศึกษาที่เมืองอเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์ และที่ Christ's College เมืองเคมบริดจ์ โดยทรงสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในปี พ.ศ. 2503 และทรงจบปริญญาโทในปี พ.ศ. 2506 โดยเมื่อหลังจากทรงสำเร็จการศึกษาแล้ว พระองค์ทรงรับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาในราชสำนักจอร์แดนในกรุงอัมมาน หลังจากนั้น ทรงงานที่นั่นในฝ่ายบริหารพลเรือนและองค์กรการกุศล และทรงเป็นที่ปรักษาส่วนพระองค์ของ สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลลอฮ์ที่ 2 แห่งจอร์แดน พระญาติร่วมราชวงศ์ของพระองค์

เสกสมรส

[แก้]

พระองค์ทรงเสกสมรสกับ มาร์กาเรธา ลินด์ (5 กันยายน พ.ศ. 2485 - 3 มกราคม พ.ศ. 2568 (82 ปี)) สตรีชาวสวีเดน เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2506 งานเสกสมรสจัดขึ้นที่ อัมมาน ในวันนั้น มาร์กาเรธา รับพระราชทานพระอิสริยยศ เจ้าหญิงแห่งจอร์แดน มกุฎราชกุมารีแห่งอิรัก มีพระบุตรดังนี้

  1. เซอิด บิน ราอัด
  2. มิเรด บิน ราอัด
  3. ฟิราส บิน ราอัด
  4. ไฟซัล บิน ราอัด
  5. นิสซา บินด์ ราอัด

ในปี 2513 พระองค์ได้เป็นหัวหน้าราชวงศ์อิรัก และมีพระราชอิสริยยศไม่เป็นทางการคือ สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งอิรัก พระชายาจึงมีพระราชอิสริยยศที่ สมเด็จพระราชินีแห่งอิรัก แต่พระราชอิสริยยศทั้ง 2 พระองค์เป็นเพียงการถวายพระเกียรติเท่านั้น พระอิสริยยศที่ทรงเป็นที่ยอมรับคือ เจ้าชาย/เจ้าหญิงแห่งจอร์แดน

ความขัดแย้ง

[แก้]

ตำแหน่งประมุขแห่งราชวงศ์อิรักของเจ้าชายราอัดนั้นขัดแย้งกับชารีฟ อาลี บิน อัล-ฮุซัยน์ พระญาติ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งผู้อ้างสิทธิในการขึ้นครองบัลลังก์อิรักและผู้นำของระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญของอิรัก จนกระทั่งความขัดแย้งที่ยาวนานจบลง ภายหลังชารีฟ อาลี บิน อัล-ฮุซัยน์ สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2565

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Semakan Penerima Darjah Kebesaran, Bintang dan Pingat". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 July 2019. สืบค้นเมื่อ 24 August 2018.
  2. Quirinale website
  3. Boletín Oficial del Esfado