ข้ามไปเนื้อหา

รายพระนามเจ้าผู้ครองนครลำพูน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ้าผู้ครอง
แห่งนครลำพูน
ราชาธิปไตยในอดีต
เจ้าจักรคำขจรศักดิ์
เจ้าผู้ครองนครพระองค์สุดท้าย

ปฐมกษัตริย์ พระยาคำฟั่น
องค์สุดท้าย เจ้าจักรคำขจรศักดิ์
อิสริยยศ พระเจ้านครลำพูน
เจ้านครลำพูน
พระยาลำพูน
สถานพำนัก คุ้มหลวง
ผู้แต่งตั้ง กษัตริย์สยาม
เริ่มระบอบ พ.ศ. 2357
สิ้นสุดระบอบ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2486
ผู้อ้างสิทธิ์ เจ้าวัฒนัน ณ ลำพูน

ในปี พ.ศ. 2324 ภายหลังจากที่พระเจ้ากาวิละ ขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้านครเชียงใหม่ ขณะนั้นนครลำพูนยังคงเป็นเมืองร้าง ไม่มีผู้คนอาศัยอยู่ ความทราบถึงพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ในปี พ.ศ. 2357 จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระยาราชวงษ์ (คำฟั่น) พระอนุชาในพระเจ้ากาวิละไปสร้างนครลำพูนขึ้นใหม่ และครองราชย์เป็นพระยานครลำพูนไชย เป็นพระยานครลำพูนองค์แรก นับแต่ พ.ศ. 2357 จนถึง พ.ศ. 2475 (การเปลี่ยนแปลงการปกครอง) นครลำพูนมีเจ้าหลวงครองนคร จำนวน 10 พระองค์ [1] ได้แก่

รายพระนาม

[แก้]
ลำดับ พระฉายาลักษณ์ รายพระนาม เริ่มครองราชย์ สิ้นสุดรัชกาล รวมระยะเวลา หมายเหตุ
1 พระยาคำฟั่น พ.ศ. 2357 พ.ศ. 2358 1 ปี ราชบุตรองค์ที่ 8 ในเจ้าฟ้าสิงหราชธานี เจ้าฟ้าหลวงชายแก้ว
2 พระเจ้าลำพูนไชย (บุญมา) พ.ศ. 2358 พ.ศ. 2370 12 ปี ราชบุตรองค์ที่ 10 ในเจ้าฟ้าหลวงชายแก้ว
3 พระยาน้อยอินท์ พ.ศ. 2370 พ.ศ. 2381 11 ปี
4 พระยาคำตัน พ.ศ. 2381 พ.ศ. 2384 3 ปี
5 พระยาน้อยลังกา พ.ศ. 2384 พ.ศ. 2386 2 ปี
6 เจ้าไชยลังกาพิศาลโสภาคย์คุณ พ.ศ. 2386 พ.ศ. 2414 28 ปี
7 เจ้าดาราดิเรกรัตนไพโรจน์ พ.ศ. 2414 พ.ศ. 2431 17 ปี ราชบุตรในเจ้าไชยลังกาพิศาลโสภาคย์คุณ
8 เจ้าเหมพินธุไพจิตร พ.ศ. 2431 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2439[2] 8 ปี พระอนุชาในเจ้าดาราดิเรกรัตนไพโรจน์
9 เจ้าอินทยงยศโชติ พ.ศ. 2439 พ.ศ. 2454[3] 15 ปี ราชบุตรในเจ้าดาราดิเรกรัตนไพโรจน์
10 เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ พ.ศ. 2454 พ.ศ. 2486 32 ปี ราชบุตรในเจ้าอินทยงยศโชติ

รายนามผู้สืบราชสกุลหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

[แก้]
ลำดับ ภาพ รายนาม เริ่ม สิ้นสุด รวมระยะเวลา หมายเหตุ
1 เจ้าพงศ์ธาดา ณ ลำพูน พ.ศ. 2486 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 52 ปี ราชบุตรในเจ้าจักรคำขจรศักดิ์
2 เจ้าวัฒนัน ณ ลำพูน 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 ปัจจุบัน บุตรชายเจ้าพงศ์ธาดา ณ ลำพูน

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]