ข้ามไปเนื้อหา

รายพระนามผู้ปกครองบาวาเรีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตราอาร์มของบาวาเรีย

รายพระนามผู้ปกครองบาวาเรีย (อังกฤษ: List of rulers of Bavaria) บาวาเรียปกครองโดยประมุขทั้งที่มีตำแหน่งเป็นดยุกและเป็นพระมหากษัตริย์ ราชอาณาจักรได้รับการรวมหรือการถูกแบ่งตลอดมาในประวัติศาสตร์ของหลายราชวงศ์ที่ปกครอง แต่ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1949 บาวาเรียก็เป็นรัฐหนึ่งของประเทศเยอรมนี

ราชวงศ์ที่ปกครองบาวาเรีย

[แก้]

ตระกูลอกิโลล์ฟิง, ค.ศ. 548–ค.ศ. 788

[แก้]

ช่วงเวลาประมาณปี ค.ศ. 548 พระมหากษัตริย์แห่งชนแฟรงค์มอบบริเวณบาวาเรียให้อยู่ภายใต้การปกครองของดยุก — อาจจะเป็นดยุกชาวแฟรงค์หรืออาจจะเป็นผู้ที่เลือกมาจากตระกูลผู้นำในท้องถิ่น — ผู้ที่ตามหน้าที่แล้วก็จะเป็นข้าหลวงประจำภูมิภาคแทนพระมหากษัตริย์แฟรงค์ ดยุกคนแรกเท่าที่ทราบคือการิวอลด์ หรือ การิบอลด์ที่ 1 แห่งบาวาเรียผู้เป็นผู้มีอิทธิพลของตระกูลอกิโลล์ฟิงผู้มีอำนาจ ซึ่งเป็นการเริ่มการปกครองของตระกูลนี้ต่อมาจนถึงปี ค.ศ. 788

ราชวงศ์คาโรแล็งเชียง, ค.ศ. 788–911

[แก้]

พระมหากษัตริย์ (ต่อมาพระจักรพรรดิ) ของชนแฟรงค์เข้ามามีอำนาจเหนือบาวาเรียด้วยพระองค์เอง โดยตั้งให้บาวาเรียอยู่ภายใต้การปกครองของข้าหลวงที่มิได้สืบตระกูลและข้าราชการ หลุยส์เดอะไพอัสแบ่งจักรวรรดิระหว่างพระราชโอรสและการแบ่งเป็นการแบ่งอย่างถาวรหลังจากการเสด็จสวรรคตในปี ค.ศ. 840 ประมุขชาวแฟรงค์ปกครองบาวาเรียเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนของตนเอง

ราชวงศ์ลุทโพลดิง, ค.ศ. 911–ค.ศ. 947

[แก้]

ลุทโพลด์ผู้ก่อตั้งราชวงศ์ลุทโพลดิงมิได้เป็นดยุกแห่งบาวาเรีย แต่เป็นมากราฟแห่งคารินเทียภายใต้สมเด็จพระเจ้าหลุยส์เดอะไชล์ดแห่งบาวาเรีย อำนาจของแฟรงค์ขณะนั้นเริ่มเสื่อมลงในบริเวณบาวาเรียเพราะการโจมตีโดยชาวฮังการีซึ่งเป็นผลทำให้ผู้มีอำนาจในท้องถิ่นมีอิสระเพิ่มมากขึ้น จนอาร์นุล์ฟลูกของลุทโพลด์สามารถตั้งตนขึ้นเป็นดยุกในปี ค.ศ. 911 และได้รับการยอมรับโดยพระมหากษัตริย์เยอรมันเฮนรีเดอะเฟาว์เลอร์ในปี ค.ศ. 920

กษัตริย์เยอรมัน, ค.ศ. 947–ค.ศ. 1070

[แก้]

ในช่วงระหว่าง ค.ศ. 947 จนถึง ค.ศ. 1070 พระมหากษัตริย์เยอรมันก็มอบการปกครองของบาวาเรียให้แก่บุคคลต่าง ๆ ที่รวมทั้งตนเองโดยมิให้มีการสืบการปกครองโดยไม่ให้ตระกูลใดตระกูลหนึ่งมีอำนาจปกครองบาวาเรียโดยเด็ดขาด ฉะนั้นบาวาเรียจึงสลับการปกครองไปมาระหว่างราชวงศ์ต่าง ๆ ที่มิได้เกี่ยวข้องกันเช่นราชวงศ์ออทโทเนียน และ ราชวงศ์ซาเลียน

ตระกูลเวล์ฟและตระกูบบาเบนแบร์ก, ค.ศ. 1070–ค.ศ. 1180

[แก้]

ในปี ค.ศ. 1070, สมเด็จพระจักรพรรดิไฮนริคที่ 4 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ทรงปลด ออทโทแห่งนอร์ไฮม์ผู้ครองบาวาเรียอยู่ในขณะนั้น และหันไปยกดัชชีแห่งบาวาเรียให้กับเวลฟ สมาชิกของตระกูลอิตาลี-บาวาเรียจากตระกูลเอสเต แต่ต่อมาเวล์ฟก็มีปากมีเสียงกับจักรพรรดิไฮนริคและถูกยึดอำนาจการปกครองบาวาเรียไปสิบเก้าปี ระหว่างนั้นบาวาเรียก็ปกครองโดยราชบัลลังก์เยอรมัน เวล์ฟได้บาวาเรียคืนในปี ค.ศ. 1096 และสืบการปกครองต่อมาโดยเวล์ฟที่ 2 และเฮนรีที่ 9 — เฮนรีสืบโดยบุตรชายเฮนรีที่ 10 ผู้นอกจากจะปกครองบาวาเรียแล้วก็ยังเป็นดยุกแห่งแซกโซนีด้วย

ราชวงศ์วิทเทลส์บัค, ค.ศ. 1180–ค.ศ. 1918

[แก้]

ในปี ค.ศ. 1180 เฮนรีที่ 12 และ สมเด็จพระจักรพรรดิฟรีดริชที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ มีเรื่องบาดหมางกัน จักรพรรดิฟรีดริชจึงทรงปลดเฮนรีและยกบาวาเรียให้กับออทโทแห่งราชวงศ์วิทเทลส์บัค จากนั้นบาวาเรียก็ตกอยู่ในมือของสาขาต่าง ๆ ของราชวงศ์วิทเทลส์บัคมาจนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

การแบ่งแยกครั้งแรก, ค.ศ. 1253–ค.ศ. 1340

[แก้]

ในปี ค.ศ. 1253 ออทโทที่ 2 เสียชีวิต บาวาเรียก็ถูกแบ่งระหว่างบุตรชายของออทโท เฮนรีเป็นดยุกแห่งบาวาเรียใต้ และหลุยส์บาวาเรียเหนือ จนกระทั่งมาถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 ดินแดนบาวาเรียก็ถูกแบ่งไปมาระหว่างพี่ ๆ น้อง ๆ ซึ่งทำให้ยากต่อการเรียงลำดับดยุกผู้ครองบาวาเรียได้อย่างถูกต้อง

ในบาวาเรียใต้ หลังจากสมัยของเฮนรีที่ 13 บาวาเรียใต้ก็ถูกแบ่งระหว่างลูกชายสามคน ออทโทที่ 3 หลุยส์ที่ 3 และสตีเฟนที่ 1 ปกครองร่วมกัน ผู้สืบครองต่อจากออทโทที่ 3 คือบุตรชาย เฮนรีที่ 15 ผู้สืบครองต่อจากสตีเฟนที่ 1 คือบุตรชายออทโทที่ 4 และ เฮนรีที่ 14 และลูกของเฮนรีที่ 14 คือจอห์นที่ 1

ในบาวาเรียเหนือ หลุยส์ที่ 2 สืบต่อโดยลูกชายรูดอล์ฟที่ 1 และหลุยส์ที่ 4 หลุยส์ได้รับเลือกให้เป็นพระมหากษัตริย์เยอรมันในปี ค.ศ. 1314 หลังจากจอห์นที่ 1 เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1340 หลุยส์ที่ 4 ก็รวมอาณาจักรบาวาเรีย

ดยุกแห่งบาวาเรียมีตำแหน่งเป็นเคานท์พาเลไทน์แห่งไรน์ด้วย ในปี ค.ศ. 1329 หลุยส์ที่ 4 ทรงยกพาเลทิเนทแห่งไรน์ที่รวมทั้งพาเลทิเนทเหนือให้แก่ลูกของรูดอล์ฟที่ 1 พาเลทิเนทเหนือกลับมารวมกับบาวาเรียอีกครั้งในปี ค.ศ. 1623 และพาเลทิเนทใต้ในปี ค.ศ. 1777

การแบ่งแยกครั้งที่สอง, ค.ศ. 1349–ค.ศ. 1503

[แก้]

ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1349 จนถึง ค.ศ. 1503 บาวาเรียก็ถูกแบ่งแยกเป็นครั้งที่สอง ในปี ค.ศ. 1349 ลูกหกคนของลุดวิกที่ 4 แบ่งบาวาเรียออกเป็นบาวาเรียเหนือ (Upper Bavaria) และ บาวาเรียใต้ (Lower Bavaria) ในปี ค.ศ. 1353 บาวาเรียใต้แบ่งเป็นบาวาเรีย-แลนด์ชุท และ บาวาเรีย-สเตราบิง ในปี ค.ศ. 1363 บาวาเรียเหนือก็ถูกแบ่งระหว่างบาวาเรีย-แลนด์ชุท และบาวาเรีย-สเตราบิง หลังจากการเสียชีวิตของสเตฟานที่ 2 ในปี ค.ศ. 1392 บาวาเรีย-แลนด์ชุทก็แบ่งออกเป็นสามดัชชีสามอาณาจักร โยฮันน์ที่ 2 ดยุกแห่งบาวาเรียได้บาวาเรีย-มิวนิก, เฟรเดอริค ดยุกแห่งบาวาเรีย-แลนด์ชุทได้บาวาเรีย-แลนด์ชุทส่วนที่ย่อยออกไป และสเตฟานที่ 3 ดยุกแห่งบาวาเรียได้บาวาเรีย-อิงโกลชตัท

ค.ศ. 1349ค.ศ. 1363
ดัชชีแห่งบาวาเรียใต้
ค.ศ. 1353, บาวาเรียใต้แบ่งเป็นบาวาเรีย-แลนด์ชุท และบาวาเรีย-สเตราบิง
ดัชชีแห่งบาวาเรียเหนือ
ค.ศ. 1363, บาวาเรียเหนือผนวกโดย
บาวาเรีย-แลนด์ชุท
ดัชชีแห่งบาวาเรีย-แลนด์ชุท ดัชชีแห่งบาวาเรีย-สเตราบิง
และ เคานท์แห่งฮอลแลนด์, เซแลนด์ และ
เอโนต์
ดัชชีแห่งบาวาเรีย-แลนด์ชุท ดัชชีแห่งบาวาเรีย-สเตราบิง
ค.ศ. 1363ค.ศ. 1425/ค.ศ. 1429
ดัชชีแห่งบาวาเรีย-แลนด์ชุท
ค.ศ. 1392, บาวาเรีย-แลนด์ชุทแบ่งเป็น 3 ดัชชี, บาวาเรีย-มิวนิก,
บาวาเรีย-แลนด์ชุทเล็ก และ บาวาเรีย-อิงโกลชตัท
ดัชชีแห่งบาวาเรีย-สเตราบิง
ค.ศ. 1429, บาวาเรีย-สเตราบิงถูกแบ่งระหว่าง
ดัชชีต่าง ๆ ของบาวาเรีย
ดัชชีแห่งบาวาเรีย-มิวนิก ดัชชีแห่งบาวาเรีย-แลนด์ชุท ดัชชีแห่งบาวาเรีย-อิงโกลชตัท
ดัชชีแห่งบาวาเรีย-มิวนิก ดัชชีแห่งบาวาเรีย-แลนด์ชุท ดัชชีแห่งบาวาเรีย-อิงโกลชตัท
ค.ศ. 1429ค.ศ. 1503
ดัชชีแห่งบาวาเรีย-มิวนิก
ค.ศ. 1467 บาวาเรีย-มิวนิกถูกแบ่งออกเป็น บาวาเรีย-มิวนิก และ บาวาเรีย-ดาเคา
ดัชชีแห่งบาวาเรีย-แลนด์ชุท ดัชชีแห่งบาวาเรีย-อิงโกลชตัท
ค.ศ. 1447 บาวาเรีย-อิงโกลชตัทถูกผนวกเข้ากับบาวาเรีย-แลนด์ชุท
ดัชชีแห่งบาวาเรีย-มิวนิก ดัชชีแห่งบาวาเรีย-ดาเคา
ค.ศ. 1501 บาวาเรีย-ดาเคากลับไปรวมกับบาวาเรีย-มิวนิก
ดัชชีแห่งบาวาเรีย-แลนด์ชุท
ค.ศ. 1503 บาวาเรีย-แลนด์ชุทถูกผนวกเข้ากับบาวาเรีย-มิวนิก
ดัชชีแห่งบาวาเรีย-มิวนิก

หลังจากสงครามแลนด์ชุท (ค.ศ. 1503–ค.ศ. 1505) ดยุกแห่งบาวาเรีย-มิวนิก[[อัลเบร็คท์ที่ 4 ดยุกแห่งบาวาเรีย|อัลเบร็คท์ที่ 4]]ก็กลายเป็นผู้ครองบาวาเรีย ในปี ค.ศ. 1506 อัลเบร็คท์ออกประกาศว่าดัชชีควรจะผ่านต่อไปยังบุตรคนหัวปีตามกฎสิทธิของบุตรคนแรก (primogeniture)

ในปี ค.ศ. 1623 แม็กซิมิเลียนที่ 1 ดยุกแห่งบาวาเรีย ก็ได้รับตำแหน่งพรินซ์อีเล็คเตอร์ (เยอรมัน: Kurfürst) แห่งไรน์แลนด์พาลาติเนท

พระมหากษัตริย์แห่งบาวาเรีย ค.ศ. 1806–ค.ศ. 1918

[แก้]

ในปี ค.ศ. 1805 ภายใต้สนธิสัญญาสันติภาพเพรสบวร์ก (Peace of Pressburg) ระหว่าง ฝรั่งเศสของนโปเลียน และ จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ดัชชีหลายอาณาจักรได้รับเลื่อนฐานะขึ้นเป็นราชอาณาจักร ประมุขจากราชวงศ์วิทเทลส์บัคแห่งบาวาเรียได้รับตำแหน่ง "พระมหากษัตริย์แห่งบาวาเรีย" ตั้งแต่ ค.ศ. 1806 จนถึง ค.ศ. 1918. พรินซ์อีเล็คเตอร์แห่งบาวาเรีย แม็กซิมิเลียนที่ 4 โจเซฟขึ้นครองราชสมบัติเป็นปฐมกษัตริย์แห่งบาวาเรียสมเด็จพระเจ้าแม็กซิมิเลียนที่ 1 แห่งบาวาเรีย เมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1806

หลังสมัยราชาธิปไตย

[แก้]

ในปี ค.ศ. 1918 เมื่อสงครามโลกครั้งที่หนึ่งสิ้นสุดลง ในการปฏิวัติเยอรมัน — บาวาเรียก็กลายเป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตยภายใต้สาธารณรัฐไวมาร์

รายชื่อประมุขของบาวาเรีย

[แก้]
width=30% !width = 30%
      ตระกูลอกิโลล์ฟิง

      ราชวงศ์คาโรแล็งเชียง
      ราชวงศ์ลุทโพลดิง

      ราชวงศ์ออทโทเนียน

      ราชวงศ์ซาเลียน
      ตระกูลเวลฟ และ บาเบนแบร์ก

      ราชวงศ์วิทเทลส์บัค

      ราชวงศ์ลักเซมเบิร์ก
      ตระกูลอื่น ๆ

ประมุขระหว่าง ค.ศ. 555 - ค.ศ. 1503

[แก้]

ดยุกแห่งบาวาเรีย

[แก้]
ภาพ พระนาม ราชวงศ์ ระยะเวลาครองราชย์
อัลเบร็คท์ที่ 4
ดยุกแห่งบาวาเรีย

(Albert IV, Duke of Bavaria)
วิทเทลส์บัค ค.ศ. 1463 - 18 มีนาคม ค.ศ. 1508
วิลเฮล์มที่ 4
ดยุกแห่งบาวาเรีย

(William IV, Duke of Bavaria)
วิทเทลส์บัค 18 มีนาคม ค.ศ. 1508 - 6 มีนาคม ค.ศ. 1550
ลุดวิกที่ 10
ดยุกแห่งบาวาเรีย

(Louis X, Duke of Bavaria)
วิทเทลส์บัค ค.ศ. 1516 - 22 เมษายน ค.ศ. 1545
อัลเบร็คท์ที่ 5
ดยุกแห่งบาวาเรีย

(Albert V, Duke of Bavaria)
วิทเทลส์บัค 6 มีนาคม ค.ศ. 1550 - 24 ตุลาคม ค.ศ. 1579
วิลเฮล์มที่ 5
ดยุกแห่งบาวาเรีย

(William V, Duke of Bavaria)
วิทเทลส์บัค 24 ตุลาคม ค.ศ. 1579 - 15 ตุลาคม ค.ศ. 1597
แม็กซิมิเลียนที่ 1
อีเล็คเตอร์แห่งบาวาเรีย

(Maximilian I, Elector of Bavaria)
วิทเทลส์บัค 23 ธันวาคม ค.ศ. 1597 - 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1623

อาณาจักรเลือกตั้งแห่งบาวาเรีย

[แก้]
ภาพ พระนาม ราชวงศ์ ระยะเวลาครองราชย์
แม็กซิมิเลียนที่ 1
พรินซ์อีเล็คเตอร์แห่งบาวาเรีย
(Maximilian I, Elector of Bavaria)
วิทเทลส์บัค 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1623 - 27 กันยายน ค.ศ. 1651
เฟอร์ดินานด์ มาเรีย
พรินซ์อีเล็คเตอร์แห่งบาวาเรีย
(Ferdinand Maria, Elector of Bavaria)
วิทเทลส์บัค 27 กันยายน ค.ศ. 1651 - 26 พฤษภาคม ค.ศ. 1679
แม็กซิมิเลียนที่ 2 เอ็มมานูเอล
พรินซ์อีเล็คเตอร์แห่งบาวาเรีย
(Maximilian II Emanuel, Elector of Bavaria)
วิทเทลส์บัค 26 พฤษภาคม ค.ศ. 1679 - 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1726
คาร์ล อัลเบร็คท์
พรินซ์อีเล็คเตอร์แห่งบาวาเรีย
(Karl Albrecht)
วิทเทลส์บัค 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1726 - 20 มกราคม ค.ศ. 1745
แม็กซิมิเลียนที่ 3 โจเซฟ
พรินซ์อีเล็คเตอร์แห่งบาวาเรีย
(Maximilian III Joseph, Elector of Bavaria)
วิทเทลส์บัค 20 มกราคม ค.ศ. 1745 - 30 ธันวาคม ค.ศ. 1777
คาร์ล ทีโอดอร์
พรินซ์อีเล็คเตอร์แห่งพาเลไทน์
(Charles Theodore, Elector of Bavaria)
วิทเทลส์บัค 30 ธันวาคม ค.ศ. 1777 - 16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1799
มัคซีมีลีอานที่ 1 โยเซ็ฟ
พรินซ์อีเล็คเตอร์แห่งพาเลไทน์
(Maximilian IV Joseph)
วิทเทลส์บัค 16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1799 – 1 มกราคม ค.ศ. 1806

ราชอาณาจักรบาวาเรีย

[แก้]
ภาพ พระนาม ราชวงศ์ ระยะเวลาครองราชย์
มัคซีมีลีอานที่ 1 โยเซ็ฟ
(Maximilian I)
วิทเทลส์บัค 26 ธันวาคม ค.ศ. 1805 – 13 ตุลาคม ค.ศ. 1825
ลูทวิชที่ 1
(Ludwig I)
วิทเทลส์บัค 13 ตุลาคม ค.ศ. 1825 – 20 มีนาคม ค.ศ. 1848
พระราชโอรสในพระเจ้ามัคซีมีลีอานที่ 1
สละราชสมบัติระหว่างการปฏิวัติของรัฐเยอรมัน ใน ค.ศ. 1848
มัคซีมีลีอานที่ 2
(Maximilian II)
วิทเทลส์บัค 20 มีนาคม ค.ศ. 1848 – 10 มีนาคม ค.ศ. 1864
พระราชโอรสในพระเจ้าลูทวิชที่ 1
ลูทวิชที่ 2
(Ludwig II)
วิทเทลส์บัค 10 มีนาคม ค.ศ. 1864 – 13 มิถุนายน ค.ศ. 1886
พระราชโอรสในพระเจ้ามัคซีมีลีอานที่ 2
ทรงถูกประกาศว่าเสียพระสติในปี ค.ศ. 1886[1]
ออตโต
(xxx)
วิทเทลส์บัค 13 มิถุนายน ค.ศ. 1886 – 5 พฤศจิกายน ค.ศ. 1913
พระราชโอรสในพระเจ้ามัคซีมีลีอานที่ 2
พระเจ้าออตโตทรงเสียพระสติตลอดรัชสมัยจนต้องมีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในการปฏิบัติราชการที่รวมทั้งลุดวิกที่ 3
ลูทวิชที่ 3
(Ludwig III)
วิทเทลส์บัค 5 พฤศจิกายน ค.ศ. 1913 – 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918
พระราชโอรสในเจ้าชายลุทโพลด์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แห่งบาวาเรีย
เป็นเจ้าชายผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ระหว่าง ค.ศ. 1912 ถึง 1913
ก่อนขึ้นครองราชย์ ต่อมาเสียราชบัลลังก์ในการปฏิวัติเยอรมันในตอนปลายสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

อ้างอิง

[แก้]
  1. King, Greg (1996.), The Mad King: The Life and Times of Ludwig II of Bavaria., ISBN 1-55972-362-9 {{citation}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |year= (help)

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ พระมหากษัตริย์แห่งบาวาเรีย วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ดยุกแห่งบาวาเรีย