ข้ามไปเนื้อหา

รายชื่อแมงมุมที่ใกล้สูญพันธุ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ชนิดใกล้สูญพันธุ์คือ "ชนิดที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์เนื่องจากกิจกรรมของมนุษย์, การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ, การเปลี่ยนแปลงอัตราส่วนผู้ล่ากับเหยื่อ ฯลฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อได้รับการกำหนดอย่างเป็นทางการจากหน่วยงานของรัฐ เช่น องค์การบริหารปลาและสัตว์ป่าแห่งสหรัฐ"[1] ส่วนแมงมุมเป็นสมาชิกของอันดับอารัคเน (Araneae) ซึ่งเป็นหนึ่งในอันดับจำนวนมากในชั้นแมง ซึ่งหมายความว่ามันมีร่างกายที่ประกอบด้วยสองส่วน ได้แก่ เซฟาโลทอแรกซ์ และท้อง รวมถึงแปดขา แมงมุมทั้งหมดเป็นผู้ล่าเหยื่อที่กินแมลง รวมถึงชนิดขนาดใหญ่บางสายพันธุ์ โดยสามารถจับสัตว์เลื้อยคลาน, นก และสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำขนาดเล็กได้ (เลวี และเลวี, ค.ศ. 2002) จนกระทั่งเมื่อไม่นานนี แมลงและแมงยังไม่ได้รับการพิจารณาให้รวมไว้ในรายชื่อสัตว์ที่ถูกคุกคามและใกล้สูญพันธุ์ จนกระทั่ง ค.ศ. 1994 สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังส่วนใหญ่ได้รับการยอมรับว่ามีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์เหมือนพรรณสัตว์ประจำถิ่นอื่น ๆ ด้วยเหตุนี้ จึงมีเพียงไม่กี่ชนิดของแมงมุมที่ถูกคุกคามหรือใกล้สูญพันธุ์ และแมงมุมจำนวนมากถูกจัดอยู่ในประเภท "ไม่ทราบแน่ชัด"

ชนิดใกล้สูญพันธุ์

[แก้]

ในขณะที่บางองค์กรเห็นพ้องกันว่าแมงมุมชนิดใดที่ใกล้สูญพันธุ์หรือถูกคุกคาม แต่มีบางสปีชีส์ที่ระบุไว้ทั่วไปมีรายชื่ออยู่ด้านล่าง

แมงมุมมอสสปรูซ-เฟอร์ (Microhexura montivaga)

[แก้]

แมงมุมมอสสปรูซ-เฟอร์ ได้รับการขึ้นทะเบียนโดยรัฐบาลกลางในฐานะใกล้สูญพันธุ์ภายใต้รัฐบัญญัติสิ่งมีชีวิตใกล้สูญพันธุ์ ค.ศ. 1973 แมงมุมตัวนี้มีลักษณะคล้ายกับ "แมงมุมทารันทูลา" ตัวเล็ก ๆ โดยตัวเต็มวัยมีขนาดเพียง 14.3 ถึง 3.8 มิลลิเมตร สปีชีส์นี้โดยเฉพาะอาศัยอยู่ในป่าสูงทางตะวันตกชองรัฐนอร์ทแคโรไลนา และทางตะวันออกของรัฐเทนเนสซี สายพันธุ์นี้เสี่ยงต่อการทำให้แห้ง ทำให้มันมาอาศัยในบริเวณที่ร่มชื้น เช่น มอสที่มีร่มเงา แมงมุมดังกล่าวสร้างใยรูปทรงท่อระหว่างตะไคร่น้ำกับหินหรือต้นเฟอร์ (หน่วยบริการปลาและสัตว์ป่า, ค.ศ. 1995) จึงเป็นที่มาของชื่อสายพันธุ์

แมงมุมหมาป่าถ้ำคาไว (Adelocosa anops)

[แก้]

แมงมุมหมาป่าถ้ำคาไวมีเฉพาะในคาไว รัฐฮาวาย ใน ค.ศ. 2006 สปีชีส์นี้สามารถพบได้ในถ้ำเดียวบนเกาะ และพบเพียง 16 ถึง 28 ตัวเท่านั้น แมงมุมหมาป่าถ้ำคาไวมีอัตราการสืบพันธุ์ต่ำเมื่อเทียบกับแมงมุมสายพันธุ์อื่น ๆ และเนื่องจากข้อจำกัดด้านที่อยู่อาศัย ทำให้มันเข้าถึงแหล่งอาหารได้น้อย (หน่วยบริการปลาและสัตว์ป่า, ค.ศ. 2006) แมงมุมชนิดนี้เป็นหนึ่งในสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในถ้ำที่ขนาดใหญ่ที่สุด โดยวัดได้ถึง 8 เซนติเมตร เพราะมันใช้ชีวิตอยู่ในความมืดของถ้ำ แมงมุมชนิดนี้จึงไม่จำเป็นต้องมองเห็น ดังนั้นจึงไม่มีตา (คราจิก ค.ศ. 2001)

กาติโป (Latrodectus katipo)

[แก้]

แมงมุมกาติโปเกี่ยวข้องกับแมงมุมหลังแดงของออสเตรเลีย และแมงมุมแม่ม่ายอื่น ๆ แมงมุมชนิดนี้สามารถพบได้ในประเทศนิวซีแลนด์ตามโพรงหรือต้นไม้ ชื่อนี้มีความหมายว่า "เหล็กในของสัตว์กลางคืน" ในภาษามาวรีพื้นเมือง สปีชีส์นี้ถูกระบุว่าใกล้สูญพันธุ์เนื่องจากการสูญเสียแหล่งที่อยู่อาศัย เช่นเดียวกับการนำแมงมุมที่ไม่ใช่พื้นเมืองเข้ามา โดยคาดว่ามีแมงมุมพวกนี้เพียงไม่กี่พันตัวเท่านั้นที่ยังคงอยู่ในป่า

สิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์

[แก้]

สิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์เป็นสปีชีส์หนึ่งที่ระบุโดยองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติว่ามีแนวโน้มจะใกล้สูญพันธุ์ เว้นแต่การอยู่รอดจากสถานการณ์ที่คุกคามและการสืบพันธุ์จะดีขึ้น

แมงมุมถ้ำดอลลอฟ (Meta dolloff)

[แก้]

แม้ว่าแมงมุมจะไม่ถูกระบุว่าใกล้สูญพันธุ์ แต่แมงมุมตัวนี้ถือว่าเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ มันมีขนาดใหญ่กว่าแมงมุมมอสสปรูซ-เฟอร์ มาก แมงมุมชนิดนี้มีขนาดตั้งแต่ 10 ถึง 15 มิลลิเมตร สายพันธุ์นี้สร้างใยรูปทรงลูกกลมขนาดใหญ่ที่ทางเข้าถ้ำ และใน ค.ศ. 2001 พบได้เฉพาะในถ้ำที่ตั้งอยู่ในซันตากรุซ รัฐแคลิฟอร์เนีย (ยูบิก, ค.ศ. 2001)

แมงมุมอุ้มไข่ลอยน้ำยักษ์ (Dolomedes plantarius)

[แก้]

แมงมุมอุ้มไข่ลอยน้ำยักษ์เป็นสายพันธุ์ที่ลดลงและถูกระบุว่ามีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ มันมีอยู่ทั่วยุโรป แต่การไม่มีบันทึก ทำให้การประเมินชนิดพันธุ์ทำได้ยาก ในสหราชอาณาจักร กลุ่มแมงมุมนี้ที่รู้จักเพียงสามกลุ่ม กลุ่มหนึ่งคงที่, กลุ่มหนึ่งถูกคุกคาม และอีกกลุ่มหนึ่งไม่ได้รับการประเมิน แมงมุมชนิดนี้เป็นสปีชีส์ที่มีพฤติกรรมชอบอาศัยอยู่ในน้ำและการพึ่งพาน้ำอาจทำให้จำนวนกลุ่มแมงมุมนี้ลดลง ข้อมูลเกี่ยวกับแมงมุมอุ้มไข่ลอยน้ำยักษ์เป็นข้อมูลล่าสุด และเนื่องจากไม่มีประวัติการ จึงไม่สามารถวัดระดับการลดลงได้อย่างแม่นยำ (สมิธ, ค.ศ. 2000)

อ้างอิง

[แก้]
  • Krajick, K. 2001. "Cave Biologists Unearth Buried Treasure". Science magazine. Vol. 293. pp. 2378–2381.
  • Levi, Herbert W. and Lorna R. Levi. 2002. Spiders and Their Kin. St. Martin's Press. New York, U.S.
  • Smith, Helen. 2000. "The status and conservation of the fen raft spider (Dolomedes plantarius) at Redgrave and Lopham Fen National Nature Reserve, England". Biological Conservation. Vol. 95. Issue 2. pp. 153–164.
  • Ubick, Darrell. 2001. Cavernicolous invertebrates of Cave Gulch, Santa Cruz County, California. Department of Entomology, California Academy of Sciences. San Francisco.
  • U.S. Fish and Wildlife Service. 2006. Recovery Plan for the Kauai Cave Arthropods: the Kauai Cave Wolf Spider (Adelocosa anops) and the Kauai Cave Amphipod (Spelaeorchestia koloana). U.S. Fish and Wildlife Service. Portland, Oregon. 64 pp.
  • U.S. Fish and Wildlife Service. 1995. Endangered and Threatened Wildlife and Plants; Spruce-Fir Moss Spider Determined To Be Endangered. Federal Register. Vol.60. No. 24. pp. 6968–6974