ข้ามไปเนื้อหา

รามนาตจุวามิโกยิล

พิกัด: 9°17′17″N 79°19′02″E / 9.288106°N 79.317282°E / 9.288106; 79.317282
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศรีรามนาตจุวามิโกยิล
อะรุลมิกุ ศรี รามนาถสวามี ติรุโฆยิล
โคปุรัมสีทองอร่ามของศรีรามนาถสวามีโกยิล
ศาสนา
ศาสนาศาสนาฮินดู
เขตรามนาถปุรัม
เทพราเมศวร (พระศิวะ) ราเมศวรี (พระปารวตี)
ที่ตั้ง
ที่ตั้งราเมศวรัม
รัฐรัฐทมิฬนาฑู
ประเทศอินเดีย ประเทศอินเดีย
รามนาตจุวามิโกยิลตั้งอยู่ในรัฐทมิฬนาฑู
รามนาตจุวามิโกยิล
ที่ตั้งในรัฐทมิฬนาฑู
พิกัดภูมิศาสตร์9°17′17″N 79°19′02″E / 9.288106°N 79.317282°E / 9.288106; 79.317282
สถาปัตยกรรม
ประเภทสถาปัตยกรรมทมิฬ

รามนาตจุวามิโกยิล (ทมิฬ: இராமநாதசுவாமி கோயில்) เป็นโบสถ์พราหมณ์บูชาพระศิวะในเมืองราเมศวรัม บนเกาะปามปันในรัฐทมิฬนาฑู ประเทศอินเดีย และเป็นหนึ่งในสิบสองชโยติรลึงค์, 275 ปาทัลเปตรสถลัม โกยิลมีการขยับขยายในศตวรรษที่ 12 โดยจักรวรรดิปัณฑยะ และครรภคฤห์ประธานได้รับการทำนุบำรุงโดยชัยวีระ จินไกอริยันแห่งอาณาจักรชัฟนา โกยิลนี้มีระเบียงที่ยาวที่สุดในบรรดาโบสถ์พราหมณ์ในประเทศอินเดีย[1] เทพเจ้าองค์ประธานคือพระศิวะในรูปของลิงคัมของรามนาถสวามี เชื่อกันว่าประดิษฐานขึ้นโดยพระรามก่อนพระองค์จะข้ามสะพานไปยังลังกาทวีป ราชโคปุรัมของโกยิลสูล 53 เมตร[1]

รามายณะระบุว่าพระราม อวตารปางที่เจ็ดของพระวิษณุภาวนาต่อพระศิวะเพื่อให้ยกโทษที่บาปที่สังหารพรหมิณขณะทำศึกกับราวณะในลังกาทวีป[2][3] พระรามประสงค์จะมีศิวลึงค์องค์หนึ่งเพื่อบูชาพระศิวะ จึงได้รับสั่งให้หนุมานไปนำลึงค์นั้นมาจากหิมาลัย แต่หนุมานมาถึงช้า พระรามจึงเสกลึงค์ขนาดเล็กขึ้นจากทรายที่มีบนชายหาด ลึงค์นี้เชื่อกันว่าคือรามนาถสวามีลึงคัม องค์ประธานของโกยิลนี้[4] ซึ่งแทนองค์รามนาถสวามี (พระศิวะ)[1] ปัจจุบันในครรภคฤห์ ประดิษฐานลึงค์คัมทั้งสององค์ องค์หนึ่งเสกขึ้นจากทรายโดยพระราม เป็นองค์ประธาน อีกองค์คือที่หนุมานนำมาจากเขาไกรลาศ เรียกวิศวลึงค์ หรือวิศวลึงค์คัม[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 V., Meena. Temples in South India. Kanniyakumari: Harikumar Arts. pp. 11–12.
  2. Jones 2007, p. 359
  3. Harshananda 2012, p. 115
  4. 4.0 4.1 Singh 2009, p. 18

บรรณานุกรม

[แก้]