อาณาจักรแฟรงก์ตะวันออก
อาณาจักรแฟรงก์ตะวันออก Regnum Francorum Orientalium | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ค.ศ. 843–962 | |||||||||||
ตราของลุดวิจชาวเยอรมัน
| |||||||||||
ราชอาณาจักรแฟรงก์ตะวันออก (สีเขียว)ในปี ค.ศ. 843 | |||||||||||
เมืองหลวง | เรเกินส์บวร์ค, ฟรังค์ฟวร์ทอัมไมน์ | ||||||||||
ภาษาทั่วไป | ละติน | ||||||||||
ศาสนา | โรมันคาทอลิก | ||||||||||
การปกครอง | ราชาธิปไตย | ||||||||||
กษัตริย์ | |||||||||||
• 843–876 (คนแรก) | ลูทวิชชาวเยอรมัน | ||||||||||
• 936–962 | อ็อทโทที่ 1 มหาราช | ||||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | ยุคกลาง | ||||||||||
ค.ศ. 843 | |||||||||||
8 สิงหาคม 870 | |||||||||||
• รวมเข้ากับจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ หลังอ็อทโทที่ 1 ครองราชย์เป็นจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ | 962 | ||||||||||
สกุลเงิน | Solidus, triens, denarius, pfennig | ||||||||||
| |||||||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ | ออสเตรีย โครเอเชีย เยอรมนี ลีชเทินชไตน์ อิตาลี สโลวีเนีย สวิตเซอร์แลนด์ |
อาณาจักรแฟรงก์ตะวันออก (ละติน: Regnum Francorum Orientalium; Francia Orientalis) เป็นราชอาณาจักรที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกของจักรวรรดิการอแล็งเฌียงที่ตกมาเป็นของลูทวิชชาวเยอรมันพระนัดดาของชาร์เลอมาญ[1] ตามสนธิสัญญาแวร์เดิงของปี ค.ศ. 843 ราชอาณาจักรแฟรงค์ตะวันออกเป็นราชอาณาจักรที่มาก่อนจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
เมื่อจักรพรรดิหลุยส์ผู้ศรัทธาเสด็จสวรรคต ราชอาณาจักรแฟรงก์อันยิ่งใหญ่ที่ชาร์เลอมาญก่อตั้งขึ้น ครอบคลุมดินแดนส่วนใหญ่ของยุโรปตะวันตก ก็ถูกแบ่งแยกหลังจากสงครามกลางเมืองที่ยาวสามปีระหว่างพระราชนัดดาสามพระองค์ในระหว่างปี ค.ศ. 840 ถึงปี ค.ศ. 843 ในระหว่างสงคราม คาร์ลพระเศียรล้านทรงเข้าข้างลูทวิชชาวเยอรมัน พระอนุชาต่างพระมารดา ในข้อขัดแย้งในสิทธิการครองราชบัลลังก์กับจักรพรรดิโลทาร์ที่ 1 พระเชษฐา ผู้ทรงใช้ตำแหน่งจักรพรรดิแห่งชาวโรมันที่เคยเป็นตำแหน่งของพระอัยกา และกลายมาเป็นตำแหน่งที่ใช้กันต่อมาสำหรับจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ตั้งแต่จักรพรรดิออทโทที่ 1 เป็นต้นมา เมื่อสงครามสิ้นสุดลงราชอาณาจักรแฟรงก์ถูกแบ่งแยกออกเป็นสามส่วนตามสนธิสัญญาแวร์เดิง
ประวัติศาสตร์
[แก้]การเสื่อมถอยของราชอาณาจักรแฟรงก์
[แก้]เดือนสิงหาคม ค.ศ. 843 สงครามกลางเมืองที่เกิดขึ้นหลังการสิ้นพระชนม์ของจักรพรรดิหลุยส์ผู้ศรัทธาที่ดำเนินมาสามปียุติลงเมื่อพระโอรสและทายาททั้งสามของพระองค์ตกลงทำสนธิสัญญาแวร์เดิงร่วมกัน การแบ่งดินแดนได้ยึดแม่น้ำเมิซ, แม่น้ำสเกลต์, แม่น้ำซาโอน และแม่น้ำโรนเป็นหลักสำคัญ โลแธร์ที่ 1 พระโอรสคนโตได้ครองตำแหน่งจักรพรรดิปกครองราชอาณาจักรแฟรงก์กลาง ชาร์ลส์ผู้ศีรษะล้านได้ครองราชอาณาจักรแฟรงก์ตะวันตก ส่วนลุดวิจชาวเยอรมันได้ครองพื้นที่ส่วนแบ่งทางตะวันออกซึ่งประกอบด้วยดินแดนที่พูดภาษาเยอรมันเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ ดัชชีซัคเซิน, ออสตราเซีย, อาลามันเนีย, ดัชชีบาวาเรีย และรัฐชายแดนคารินเธีย
ปี ค.ศ. 869 สนธิสัญญาเมียร์เซอน์ได้แบ่งโลทาริงเกียให้แก่ราชอาณาจักรแฟรงก์ตะวันตกและตะวันออก ราชอาณาจักรแฟรงก์กลางที่ดำรงอยู่ได้ไม่นานปิดฉากก่อเกิดเป็นสงครามระหว่างชาวฝรั่งเศสและชาวเยอรมนีที่ดำเนินไปจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20
ราชอาณาจักรแฟรงก์ตะวันออกภายใต้ราชวงศ์การอแล็งเฌียง
[แก้]จักรพรรดิคาร์ลพระวรกายพ่วงพีรวมดินแดนทั้งหมดของชาวแฟรงก์เข้าด้วยกันอีกครั้งเป็นระยะเวลาสั้น ๆ แต่ในปี ค.ศ. 888 เหล่าขุนนางได้ปลดพระองค์ออกจากตำแหน่งและอาร์นอล์ฟแห่งคารินเธียได้รับเลือกเป็นกษัตริย์ของราชอาณาจักรแฟรงก์ตะวันออก
อำนาจกษัตริย์ในราชอาณาจักรแฟรงก์ตะวันออกที่อ่อนแอลงเรื่อย ๆ ทำให้ตำแหน่งดยุคแห่งบาวาเรีย, ดยุคแห่งสวาเบีย, ดยุคแห่งแฟรงโกเนีย และดยุคแห่งโลธาริงเกียที่เคยมาจากการแต่งตั้งกลายเป็นตำแหน่งที่สืบทอดต่อทางสายเลือด กษัตริย์ต้องรับมือกับการก่อกบฏในแคว้นต่าง ๆ มากขึ้นเรื่อย ๆ
พระเจ้าคอนราดที่ 1 ได้รับเลือกเป็นกษัตริย์
[แก้]ในปี ค.ศ. 911 ขุนนางซัคเซิน, แฟรงโกเนีย, บาวาเรีย และสวาเบียเลิกปฏิบัติตามธรรมเนียมดั้งเดิมที่จะเลือกเชื้อพระวงศ์คนใดคนหนึ่งของราชวงศ์การอแล็งเฌียงมาเป็นกษัตริย์ปกครองพวกตนและได้เลือกคอนราดที่ 1 เป็นกษัตริย์คนใหม่ของพวกตนในวันที่ 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 911 แต่การสร้างอำนาจเหนือดยุคคนอื่น ๆ ไม่ใช่เรื่องง่าย ไฮน์ริช ดยุคแห่งซัคเซินได้ก่อกบฏต่อพระเจ้าคอนราดที่ 1 จนถึงปี ค.ศ. 915 และการต่อสู้แย่งชิงอำนาจกับอาร์นอล์ฟ ดยุคแห่งบาวาเรียทำให้พระเจ้าคอนราดต้องแลกด้วยชีวิตของพระองค์ บนเตียงสิ้นพระชนม์พระเจ้าคอนราดที่ 1 ได้เลือกไฮน์ริชแห่งซัคเซินเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งที่มีคุณสมบัติเพียบพร้อมที่สุด
จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ถือกำเนิด
[แก้]การได้รับเลือกเป็นกษัตริย์ของพระเจ้าไฮน์ริชที่ 1 ทำให้ตำแหน่งกษัตริย์ถูกเปลี่ยนมือจากชาวแฟรงก์มาเป็นชาวซัคเซิน (แซ็กซัน) แต่มีเพียงซัคเซินและแฟรงโกเนียที่เลือกพระองค์เป็นกษัตริย์ พระเจ้าไฮน์ริชต้องกำราบดยุคคนอื่น ๆ เมื่อทรงสิ้นพระชนม์ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 936 ราชอาณาจักรที่แข็งแกร่งขึ้นกว่าเดิมในรัชสมัยของพระองค์ได้ตกเป็นออทโท พระโอรสของพระองค์ที่ต่อมาได้รับการสวมมงกุฎจักรพรรดิในโรมในปี ค.ศ. 962 อันเป็นการเริ่มต้นของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ สารานุกรมคาทอลิก: Charlemagne[1]