รางวัลออสการ์
อะแคเดมีอะวอดส์ | |
---|---|
ปัจจุบัน: งานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 97 | |
อักษรสัญลักษณ์รางวัลออสการ์ | |
รางวัลสำหรับ | รางวัลแห่งความเป็นเลิศในอเมริกันและนานาชาติต่ออุตสาหกรรมภาพยนตร์ |
ประเทศ | สหรัฐอเมริกา |
จัดโดย | สถาบันศิลปะภาพยนตร์และวิทยาการ |
รางวัลแรก | 16 พฤษภาคม 1929 |
เว็บไซต์ | oscar |
| |||
|
อะแคเดมีอะวอดส์ (อังกฤษ: Academy Award; "รางวัลสถาบัน") หรือรู้จักกันในชื่อ รางวัลออสการ์ (อังกฤษ: Oscar)[1] เป็นรางวัลสำหรับความสำเร็จในด้านศิลปะและด้านเทคนิคในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ จัดเป็นประจำทุกปีโดยสถาบันแห่งศิลปะและวิทยาการภาพยนตร์ (AMPAS) เพื่อยกย่องความเป็นเลิศในด้านความสำเร็จของภาพยนตร์ ซึ่งประเมินโดยการลงคะแนนเสียงจากสมาชิกของสถาบัน[2] รางวัลออสการ์ได้รับการยกย่องว่าเป็นรางวัลอันทรงเกียรติและมีความสำคัญมากที่สุดในอุตสาหกรรมบันเทิงของสหรัฐและทั่วโลก[3][4][5] รูปปั้นออสการ์มีลักษณะเป็นอัศวินในรูปแบบอาร์ตเดโค[6]
สำหรับรางวัลหลักจะถูกนำเสนอในระหว่างการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ของฮอลลีวูด ซึ่งโดยทั่วไปมักจัดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์หรือมีนาคม รางวัลออสการ์นับเป็นงานประกาศผลรางวัลความบันเทิงระดับโลกที่เก่าแก่ที่สุด[7] งานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 1 จัดขึ้นในปี 1929[8] ส่วนครั้งที่ 2 ในปี 1930 เป็นการออกอากาศครั้งแรกทางวิทยุ และครั้งที่ 25 ในปี 1953 เป็นการออกอากาศครั้งแรกทางโทรทัศน์[7] รางวัลออสการ์อยู่ในสี่รางวัลหลักด้านความบันเทิงอเมริกันที่เก่าแก่ที่สุด เทียบเท่ากับรางวัลเอมมีทางโทรทัศน์, รางวัลโทนีทางละครเวที และรางวัลแกรมมีทางดนตรี ซึ่งล้วนได้ต้นแบบมาจากรางวัลออสการ์[9]
ประวัติ
[แก้]พีธีมอบรางวัลออสการ์ครั้งแรกจัดขึ้นเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 1929 ในงานเลี้ยงอาหารค่ำส่วนตัวที่โรงแรมเดอะฮอลลีวูดโรสเวลต์ ซึ่งมีผู้ชมโดยประมาณ 270 คน ค่าบัตรเข้าชมอยู่ที่ 5 ดอลลาร์ (85 ดอลลาร์ในราคาปี 2020) [10]
งานเลี้ยงหลังมอบรางวัลจัดขึ้นที่โรงแรมเมย์แฟร์[11][7] มีการมอบรูปปั้นจำนวนสิบห้ารางวัลเพื่อยกย่องศิลปิน ผู้กำกับ และผู้เข้าร่วมคนอื่น ๆ ในอุตสาหกรรมการสร้างภาพยนตร์ในยุคนั้น สำหรับผลงานในช่วงปี 1927–28 โดยพิธีมอบรางวัลดำเนินเป็นเวลา 15 นาที
สำหรับพีธีมอบรางวัลครั้งแรกนี้ ผู้ชนะได้รับการประกาศผ่านสื่อมวลชนก่อนหน้านั้นสามเดือน สำหรับพีธีมอบรางวัลครั้งที่สองในปี 1930 และตลอดทศวรรษแรกได้รับการประกาศผ่านหนังสือพิมพ์ในเวลา 23.00 น. ของคืนวันมอบรางวัล[7] ต่อมาในปี 1940 หนังสือพิมพ์ ลอสแอนเจลิสไทมส์ ได้ประกาศผู้ชนะก่อนเริ่มต้นพิธี เป็นผลให้ในปีต่อมารางวัลจึงเริ่มใช้ซองปิดผนึกเพื่อเปิดเผยรายชื่อผู้ชนะแทน[7]
คำว่า "ออสการ์" เป็นเครื่องหมายการค้าของ AMPAS อย่างไรก็ตามในภาษาอิตาลี โดยทั่วไปใช้กล่าวถึงรางวัลหรือพิธีมอบรางวัล โดยไม่คำนึงถึงสาขาใดสาขาหนึ่ง[12][13]
รูปปั้น
[แก้]ลักษณะ
[แก้]รูปปั้นมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า Academy Award of Merit เป็นรูปอัศวินถือดาบครูเสดเอาปลายแหลมลงดิน ยืนบนม้วนแผ่นฟิล์ม สูง 13 นิ้วครึ่ง (34 เซนติเมตร) หนัก 8 ปอนด์ครึ่ง (3.85 กิโลกรัม) ทำจากบริทานเนียมชุบด้วยทองคำบนฐานโลหะสีดำ ออกแบบโดย Cedric Gibbons ตรงส่วนฐานที่เป็นม้วนแผ่นฟิล์มนั่นจะเป็นที่จารึก 5 สาขาดั้งเดิมของรางวัลออสการ์ อันประกอบไปด้วย นักแสดง เขียนบท กำกับการแสดง อำนวยการสร้าง และด้านเทคนิค
การออกแบบ
[แก้]Cedric Gibbons ซึ่งเป็นผู้กำกับศิลป์ของเอ็มจีเอ็มและเป็นหนึ่งในสมาชิกเก่าแก่ของออสการ์ เป็นผู้ออกแบบรูปปั้นรางวัลออสการ์ Cedric ได้ใช้เรือนร่างเปลือยของนักแสดงเม็กซิโกคนหนึ่งที่ Dolores del Río ผู้เป็นภรรยาของเขาได้แนะนำให้รู้จัก ชื่อว่า Emilio Fernández เป็นแบบในการทำรูปปั้น โดยมี George Stanley เป็นผู้ร่างแบบบนดินเหนียว และมี Sachin Smith เป็นผู้หล่อรูปปั้นโดยใช้ส่วนประกอบ ดีบุก 92.5% ทองแดง 7.5% และชุบด้วยทองคำ โดยในส่วนฐานของรูปปั้นได้เพิ่มเข้ามาในภายหลัง แต่เดิมฐานจะทำจากหินอ่อน ในปีค.ศ. 1945 จึงเปลี่ยนเป็นโลหะ
แม่พิมพ์ต้นฉบับของรูปปั้นออสการ์ทำขึ้นในปีค.ศ. 1928 ที่ C.W. Shumway & Sons Foundry ในบาทาเวีย รัฐอิลลินอย ซึ่งแม่พิมพ์ของถ้วยรางวัลเอมมีและรางวัล Vince Lombardi Trophy ก็ทำขึ้นจากที่นี่เช่นเดียวกัน ในแต่ละปีรูปปั้นรางวัลออสการ์จำนวนประมาณ 40 อัน จะทำขึ้นที่ชิคาโก โดยบริษัท R.S. Owens หากมีรูปปั้นใดทำออกมาแล้วไม่มีคุณภาพ รูปปั้นนั้นจะถูกตัดเป็นสองท่อนแล้วนำไปหลอมละลาย ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 รูปปั้นรางวัลออสการ์ที่มอบให้กับผู้รับรางวัลจะทำจากปูนปลาสเตอร์ โดยจะให้รูปปั้นที่ทำจากทองคำหลังสงครามสิ้นสุด
ที่มาของชื่อ
[แก้]ที่มาของคำว่า ออสการ์ นั้นยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ กรณีแรก ในชีวประวัติของนักแสดงหญิงรางวัลออสการ์ชื่อ Bette Davis ได้อ้างว่าเธอเป็นผู้ตั้งชื่อให้กับรูปปั้นนี้ เนื่องจากด้านหลังของรูปปั้นนั้นดูคล้ายของสามีคนแรกของเธอที่ชื่อ Harmon Oscar Nelson เธอจึงใช้ชื่อกลางของเขาตั้งชื่อรูปปั้นว่า ออสการ์[14] ทางด้านนิตยสารไทม์ได้มีการกล่าวถึงคำว่า ออสการ์ ในบทความที่เกี่ยวกับงานประกาศผลอคาเดมีอวอร์ดสครั้งที่ 6 ในปี ค.ศ. 1934[15] และกล่าวถึงการรับรางวัลของ Bette Davis ในปี ค.ศ. 1936[16] นอกจากนี้ยังมีการกล่าวถึงวอลต์ ดิสนีย์ ว่าเขาได้ขอบคุณอคาเดมีสำหรับรางวัลออสการ์ของเขาในต้นปี ค.ศ. 1932
กรณีที่สอง ได้มีการอ้างว่า Margaret Herrick เลขานุการผู้บริหารของอคาเดมี เป็นผู้ตั้งชื่อให้กับรูปปั้นนี้[17] ในปี ค.ศ. 1931 เธอเป็นคนแรกที่ได้เห็นถ้วยรางวัล เนื่องจากรูปปั้นนี้มีลักษณะคล้ายลุงของเธอ เธอจึงตั้งชื่อรูปปั้นนี้ตามชื่อลุงของเธอว่า ออสการ์ อย่างไรก็ตามทั้งคำว่า ออสการ์ และ อคาเดมีอวอร์ดส ต่างก็เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของสถาบันนี้
คืนวันมอบรางวัล
[แก้]เป็นการถ่ายทอดสด โดยมากจะจัดหลังจากประกาศผู้เข้าชิงรางวัล 6 สัปดาห์ ดารานักร้องที่เข้าร่วมงานมักจะเดินบนพรมแดง แต่งชุดอย่างสวยงาม ถือเป็นอีกหนึ่งไฮไลท์ของงาน นอกจากมีการมอบรางวัลต่าง ๆ ยังมีการแสดงเพลงจากผู้เข้าชิงรางวัลในสาขาเพลง มีการประมาณการว่า มีผู้ชมกว่า 1,000 ล้านคนทั่วโลก(ในปี 2546) ตัวงานได้แพร่ภาพออกทางโทรทัศน์ ในปี พ.ศ. 2496 ทางสถานี NBC จากนั้นจึงเปลี่ยนมือเป็นสถานี ABC ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2519
รางวัลทั่วไป
[แก้]ในปีค.ศ. 1949 ทางสถาบันได้เริ่มนับจำนวนรางวัลที่ได้มอบไป โดยเริ่มนับอย่างเป็นทางการที่รางวัลที่ 501[17] ตั้งแต่งานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 1 จนถึงครั้งที่ 80 ได้มีการมอบรางวัลออสการ์ไปแล้ว 2,701 รางวัล[18] และมีนักแสดงที่ได้รับรางวัล รวมทั้งผู้ที่ได้รับรางวัลเกียรติยศและรางวัลนักแสดงเยาวชน เป็นจำนวนทั้งสิ้น 293 คน
สาขารางวัลในปัจจุบัน
[แก้]รางวัลต่าง ๆ ในปัจจุบันมีทั้งสิ้น 23 สาขา รางวัลใหญ่มี 5 รางวัล (Big Five) ได้แก่ รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (Best Picture), รางวัลผู้กำกับยอดเยี่ยม (Best Director), รางวัลนักแสดงนำชายยอดเยี่ยม (Best Actor), รางวัลนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (Best Actress) และ รางวัลบทภาพยนตร์ดัดแปลงยอดเยี่ยม (Best Adapted Screenplay)
- ประเภทการสร้าง
- ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (Best Picture) – มีการมอบรางวัลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2471 ถึงปัจจุบัน
- ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (Best Director) – มีการมอบรางวัลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2471 ถึงปัจจุบัน
- บทภาพยนตร์ดั้งเดิมยอดเยี่ยม (Best Original Screenplay) – มีการมอบรางวัลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2483 ถึงปัจจุบัน
- บทภาพยนตร์ดัดแปลงยอดเยี่ยม (Best Adapted Screenplay) – มีการมอบรางวัลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2471 ถึงปัจจุบัน
- ประเภทนักแสดง
- นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม (Best Actor) – มีการมอบรางวัลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2471 ถึงปัจจุบัน
- นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (Best Actress) – มีการมอบรางวัลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2471 ถึงปัจจุบัน
- นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม (Best Supporting Actor) – มีการมอบรางวัลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2479 ถึงปัจจุบัน
- นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม (Best Supporting Actress) – มีการมอบรางวัลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2479 ถึงปัจจุบัน
- ประเภทเทคนิคการถ่ายทำ
- กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม (Best Art Direction) – มีการมอบรางวัลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2471 ถึงปัจจุบัน
- กำกับภาพยอดเยี่ยม (Best Cinematography) – มีการมอบรางวัลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2471 ถึงปัจจุบัน
- ตัดต่อภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (Best Film Editing) – มีการมอบรางวัลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2478 ถึงปัจจุบัน
- ประเภทเสียงและเทคนิคสมจริง
- เทคนิคสมจริงยอดเยี่ยม (Best Visual Effects) – มีการมอบรางวัลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2482 ถึงปัจจุบัน
- กำกับเสียงยอดเยี่ยม (Best Sound) – มีการมอบรางวัลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2473 ถึงปัจจุบัน *เมื่อปี 2021 ทางสถาบันและวิทยาการทางภาพยนตร์ หรือ ออสการ์ ได้รวมสาขาบันทึกเสียง และ ลำดับเสียง เข้าด้วยกันเป็นสาขาเดียว*
- ประเภทดนตรี
- เพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (Best Original Song) – มีการมอบรางวัลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2477 ถึงปัจจุบัน
- ดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (Best Original Score) – มีการมอบรางวัลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2477 ถึงปัจจุบัน
- ประเภทเครื่องแต่งกายและแต่งหน้า
- ออกแบบเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม (Best Costume Design) – มีการมอบรางวัลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2491 ถึงปัจจุบัน
- แต่งหน้ายอดเยี่ยม (Best Makeup) – มีการมอบรางวัลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 ถึงปัจจุบัน
- ประเภทแอนิเมชั่น
- ภาพยนตร์แอนิเมชันยอดเยี่ยม (Best Animated Feature) – มีการมอบรางวัลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 ถึงปัจจุบัน
- ภาพยนตร์แอนิเมชันสั้นยอดเยี่ยม (Best Animated Short Film) – มีการมอบรางวัลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2474 ถึงปัจจุบัน
- ประเภทสารคดี
- ภาพยนตร์สารคดียอดเยี่ยม (Best Documentary Feature)
- ภาพยนตร์สารคดีสั้นยอดเยี่ยม (Best Documentary Short Subject)
- ประเภทอื่น ๆ
- ภาพยนตร์นานาชาติยอดเยี่ยม (Best Foreign Language Film) – มีการมอบรางวัลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2490 ถึงปัจจุบัน
- ภาพยนตร์เหตุการณ์สั้น (ไลฟ์แอ๊กชั่น) (Best Live Action Short Film) – มีการมอบรางวัลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2474 ถึงปัจจุบัน
รางวัลที่ถูกยกเลิกไปแล้ว
[แก้]- ผู้ช่วยผู้กำกับยอดเยี่ยม (Best Assistant Director)
มีการมอบรางวัลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2476 ถึงพ.ศ. 2480 ในปีแรกของการให้รางวัล (พ.ศ. 2476) มีผู้ได้รับรางวัล 7 คน จากผู้เข้าชิง 18 คน โดยไม่มีการอ้างถึงภาพยนตร์ที่กำกับโดยผู้เข้าชิงนั้น ๆ แต่ในปีต่อ ๆ มาก็ได้อ้างถึงภาพยนตร์ของผู้เข้าชิงด้วย จนกระทั่งปีพ.ศ. 2480 รางวัลนี้ก็ถูกยกเลิกไป
- ท่าเต้นยอดเยี่ยม (Best Dance Direction)
มีการมอบรางวัลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2478 ถึงพ.ศ. 2480
- เทคนิคทางวิศวกรรมยอดเยี่ยม (Best Engineering Effects)
มีการมอบรางวัลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2470 ถึงพ.ศ. 2471 รางวัลนี้มอบเพียงสองปีเท่านั้น หลังจากนั้นก็มีการมอบรางวัลบันทึกเสียงยอดเยี่ยม (Best Sound Recording) แทน
- ดนตรีดัดแปลงหรือดั้งเดิมยอดเยี่ยม (Best Score—Adaptation or Treatment)
- ดนตรีประกอบประเภทภาพยนตร์เพลงหรือตลกยอดเยี่ยม (Best Original Musical or Comedy Score)
มีการมอบรางวัลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 ถึงพ.ศ. 2546
- ภาพยนตร์สั้นประเภทสียอดเยี่ยม (Best Short Film—Color)
มีการมอบรางวัลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2479 ถึงพ.ศ. 2480
- ภาพยนตร์สั้นประเภทเหตุการณ์ขนาด 2 ฟิล์มยอดเยี่ยม (Best Short Film—Live Action—2 Reels)
มีการมอบรางวัลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2479 ถึงพ.ศ. 2499
- ภาพยนตร์สั้นประเภทใหม่ (Best Short Film—Novelty)
มีการมอบรางวัลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475 ถึงพ.ศ. 2478
- เรื่องราวดั้งเดิมยอดเยี่ยม (Best Original Story)
มีการมอบรางวัลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2470 ถึงพ.ศ. 2499 รางวัลนี้ถูกยกเลิกไปเนื่องจากเห็นว่าซ้ำซ้อนกับรางวัลบทภาพยนตร์ดั้งเดิมยอดเยี่ยมที่มีการมอบตั้งแต่พ.ศ. 2483
- การสร้างที่พิเศษและมีศิลปะยอดเยี่ยม (Best Unique and Artistic Quality of Production)
มีการมอบรางวัลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2470 ถึงพ.ศ. 2471 รางวัลนี้มีการมอบเฉพาะในครั้งแรกเท่านั้น แล้วถูกยกเลิกในครั้งต่อมา เนื่องจากเห็นว่าซ้ำซ้อนกับรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
- การเขียนบทยอดเยี่ยม (Best Title Writing)
มีการมอบรางวัลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2470 ถึงพ.ศ. 2471 รางวัลนี้มอบสำหรับภาพยนตร์ใบ้ที่มีการเขียนบทได้ยอดเยี่ยม เนื่องจากในสมัยดังกล่าวภาพยนตร์ยังไม่มีเสียง การอธิบายบทสนทนาของตัวละครจึงใช้วิธีแทรกไว้ระหว่างฉากการแสดง
- อื่น ๆ
ในช่วงแรกของการให้รางวัล รางวัลผู้กำกับยอดเยี่ยมจะถูกแบ่งออกเป็นประเภทภาพยนตร์ดรามาและภาพยนตร์ตลก ส่วนรางวัลบทภาพยนตร์ดั้งเดิมยอดเยี่ยมจะถูกแบ่งออกเป็นประเภทภาพยนตร์ดรามาและภาพยนตร์เพลงหรือตลก ซึ่งปัจจุบันได้รวมเหลือรางวัลเดียว คือ รางวัลบทภาพยนตร์ดั้งเดิมยอดเยี่ยม
นอกจากนี้ ช่วงปีพ.ศ. 2473 - 2503 รางวัลกำกับภาพยอดเยี่ยม รางวัลกำกับศิลป์ยอดเยี่ยม และรางวัลออกแบบเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม ยังถูกแบ่งออกเป็นประเภทภาพยนตร์สีและภาพยนตร์ขาวดำ
รางวัลที่ไม่ผ่านการพิจารณา
[แก้]ในแต่ละปีคณะกรรมการออสการ์จะพิจารณารางวัลสาขาใหม่ที่เสนอเข้ามา จวบจนปัจจุบัน มีรางวัลดังต่อไปนี้ที่ไม่ผ่านการพิจารณา
- คัดเลือกนักแสดงยอดเยี่ยม (Best Casting) – ไม่ผ่านการพิจารณาในปีพ.ศ. 2542
- ประสานงานการแสดงแทนยอดเยี่ยม (Best Stunt Coordination) – ไม่ผ่านการพิจารณาในปีพ.ศ. 2542 และพ.ศ. 2548
- ออกแบบไตเติ้ลยอดเยี่ยม (Best Title Design) – ไม่ผ่านการพิจารณาในปีพ.ศ. 2542
รางวัลพิเศษ
[แก้]รางวัลพิเศษในปัจจุบัน
[แก้]- รางวัลเกียรติยศ (Academy Honorary Award) มอบแด่ผู้มีผลงานดีเด่นในวงการ – มีการมอบรางวัลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2471 ถึงปัจจุบัน
- รางวัลความสำเร็จเกียรติยศ (Academy Special Achievement Award) มอบแด่ผู้มีผลงานดีเด่นในวงการ
- รางวัลความสำเร็จทางเทคนิค และ วิทยาศาสตร์ (Academy Award, Scientific or Technical) – มีการมอบรางวัลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2474 ถึงปัจจุบัน
- รางวัลเอิร์ฟวิง จี. ธัลเบิร์ก (The Irving G. Thalberg Memorial Award) สำหรับผู้อำนวยการสร้างดีเด่น – มีการมอบรางวัลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2481 ถึงปัจจุบัน
- รางวัลมนุษยธรรม ฌีน เฮอร์โชลต์ (The Jean Hersholt Humanitarian Award) สำหรับผู้ทำงานด้านมนุษยธรรม
- รางวัลกอร์ดอน อี. ซอว์เยอร์ (Gordon E. Sawyer Award) สำหรับผู้ประสบความสำเร็จในด้านเทคนิคการถ่ายทำ
รางวัลพิเศษที่ถูกยกเลิกไปแล้ว
[แก้]- รางวัลนักแสดงเยาวชน (Academy Juvenile Award) มอบแด่นักแสดงวัยเยาว์ผู้มีบทบาทการแสดงดีเด่น – มีการมอบรางวัลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2477 ถึง 2503
- รางวัลแดม เทคโนโลยี (DAM Technology Award) – มีการมอบรางวัลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2479 ถึง 2480
ดูเพิ่ม
[แก้]- รางวัลซีซาร์ (ฝรั่งเศส)
- รางวัลแบฟตา (สหราชอาณาจักร)
- รางวัลโลล่า (เยอรมนี)
- รางวัลอินทรีทองคำ (รัสเซีย)
- รางวัลโกย่า (สเปน)
- รางวัลไก่ทองคำ (จีน)
- เจแปนอะคาเดมีไพรซ์ (ญี่ปุ่น)
- รางวัลแกรนด์เบล (เกาหลีใต้)
- รางวัลสุพรรณหงส์ (ไทย)
- รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี (ไทย)
- รางวัลเอเรียล (เม็กซิโก)
- แกรนด์พรีมิโอโดซีนีม่าบราซีเลย์รู (บราซิล)
- แตรทองคำ (แอฟริกาใต้)
- รางวัลเอเอซีทีเอ (ออสเตรเลีย)
หมายเหตุ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "AMPAS Drops '85th Academy Awards' – Now It's Just 'The Oscars'". TheWrap. February 19, 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 3, 2016. สืบค้นเมื่อ April 9, 2017.
- ↑ Feinberg, Scott (January 20, 2020). "Oscars: What the '1917' PGA Win and 'Parasite' SAG Win Mean for Best Picture". The Hollywood Reporter. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 11, 2023. สืบค้นเมื่อ February 5, 2023.
- ↑ Rao, Sonia (April 16, 2021). "Why do the Oscars matter?". The Washington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 19, 2021. สืบค้นเมื่อ May 12, 2021.
- ↑ Vega, Nicolas (March 26, 2022). "The Oscar statuette is the most prestigious prize in Hollywood—here's why it's only worth $1". CNBC. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 5, 2022. สืบค้นเมื่อ April 5, 2022.
- ↑ "What are the Oscars and Baftas and what's the difference?". BBC. February 26, 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 5, 2022. สืบค้นเมื่อ April 5, 2022.
- ↑ Nichols, Chris (February 25, 2016). "Meet George Stanley, Sculptor of the Academy Award". Los Angeles Magazine. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 7, 2017. สืบค้นเมื่อ November 6, 2017.
- ↑ 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 "History of the Academy Awards". Academy of Motion Picture Arts and Sciences. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 6, 2010.
- ↑ Essex, Andrew (May 14, 1999). "The Birth of Oscar". Entertainment Weekly. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 11, 2013. สืบค้นเมื่อ March 2, 2011.
- ↑ Monush, Barry (February 9, 2012). "The Lure of Oscar: A Look at the Mightiest of All Award Shows, the Academy Awards". Paley Center for Media. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 16, 2020. สืบค้นเมื่อ October 29, 2019.
- ↑ "The 1st Academy Awards | 1929". Oscars.org | Academy of Motion Picture Arts and Sciences. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 1, 2019. สืบค้นเมื่อ October 29, 2019.
- ↑ "The Dunhill Hotel". Virtlo. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 19, 2022. สืบค้นเมื่อ March 16, 2022.
- ↑ "Court: 'Oscar' may be generic term in Italian". The Hollywood Reporter. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 17, 2016.
- ↑ "Court: Oscar may be generic term in Italian". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 29, 2016.
- ↑ "Bette Davis biography". The Internet Movie Database. สืบค้นเมื่อ 2007-04-13.
- ↑ "Oscars" เก็บถาวร 2013-08-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, นิตยสารไทม์, March 26, 1934
- ↑ "The Oscars, 1936". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-11. สืบค้นเมื่อ 2008-02-17.
- ↑ 17.0 17.1 OSCAR.com - 80th Annual Academy Awards - Oscar Statuette
- ↑ "A Brief History of the Oscar". Academy of Motion Picture Arts and Sciences. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-30. สืบค้นเมื่อ 2008-08-04.