รัศมีดาวพฤหัสบดี
รัศมีดาวพฤหัสบดี | |
---|---|
ขนาดของดาวพฤหัสบดีเทียบกับโลก | |
ข้อมูลทั่วไป | |
ระบบการวัด | ดาราศาสตร์ |
เป็นหน่วยของ | ความยาว |
สัญลักษณ์ | RJ หรือ R♃ |
การแปลงหน่วย | |
1 RJ ใน ... | ... มีค่าเท่ากับ ... |
หน่วยฐานเอสไอ | 7.1492×107 m[1] |
รัศมีดาวพฤหัสบดี (อังกฤษ: Jupiter radius หรือ Jovian radius) คือหน่วยวัดความยาวที่ยืนพื้นจากรัศมีในแนวเส้นศูนย์สูตรของดาวพฤหัสบดี
ภาพรวม
[แก้]สัญลักษณ์คือ RJ และ RJ = 71,492km = 71,492,000m ซึ่งเท่ากับประมาณ 11.2 เท่าของรัศมีโลก
รัศมีดาวพฤหัสแปลงเป็นหน่วยอื่นได้ดังต่อไปนี้
- 11.209 รัศมีโลก (RE, R⊕)
- 0.103 รัศมีดวงอาทิตย์ (R☉, Ro)
ตัวอย่างการใช้งาน
[แก้]รัศมีดาวพฤหัสบดีใช้เพื่อเปรียบเทียบขนาดของดาวเคราะห์นอกระบบขนาดใหญ่ ดาวแคระน้ำตาล และดาวแคระน้ำตาลเล็ก และ หรือบางครั้งก็อาจใช้กับดาวฤกษ์ขนาดเล็ก (โดยเฉพาะดาวแคระแดง)[2][3][4][5] หน่วยนี้มีประโยชน์มากสำหรับการเปรียบเทียบขนาดของวัตถุท้องฟ้าขนาดพอประมาณ เพราะค่าของรัศมีโลกมีขนาดเล็กเกินไป และรัศมีดวงอาทิตย์มีขนาดใหญ่เกินไป
ชื่อทางดาราศาสตร์ | ประเภทวัตถุ | รัศมีดวงอาทิตย์ | รัศมีดาวพฤหัสบดี | รัศมีโลก |
---|---|---|---|---|
Kepler-16b | ดาวเคราะห์ | 0.0776+0.0003-0.0002 | 0.7538+0.0026-0.0023[6] | 8.449+0.029-0.026 |
S Ori 70 | ดาวแคระน้ำตาล | 0.17 | 1.6[7] | 18 |
Kepler-42 | ดาวฤกษ์ | 0.17 ± 0.05[8] | 1.65 ± 0.49 | 18.5±5.4 |
WASP-12b | ดาวเคราะห์ | 0.184 ± 0.009 | 1.79 ± 0.09[9][10] | 20.1±1.0 |
Cha 110913-773444 | ดาวแคระน้ำตาล | 0.19 | 1.8[11] | 20 |
ความไม่แน่นอนของรัศมี
[แก้]ดาวพฤหัสบดีหมุนด้วยความเร็วที่เร็วที่สุดในบรรดาดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ และมีความแตกต่างอย่างมากระหว่างรัศมีที่วัดที่เส้นศูนย์สูตรกับรัศมีที่วัดบนแกนหมุน ดังนั้นโดยทั่วไปจึงมักจะใช้รัศมีแนวเส้นศูนย์สูตร
ดาวพฤหัสบดีกำลังหดตัวในขณะที่ปล่อยความร้อน โดยเคร่งครัดด้วยกระบวนการที่ขับเคลื่อนโดยกลไกเคลวิน–เฮ็ล์มฮ็อลทซ์ อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงในรัศมีเนื่องจากกระบวนการนี้เล็กน้อยมากเพียงแค่ 1 ซม./ปี ดังนั้นจึงมักไม่นำมาพิจารณา
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Mamajek, E. E; Prsa, A; Torres, G; และคณะ (2015). "IAU 2015 Resolution B3 on Recommended Nominal Conversion Constants for Selected Solar and Planetary Properties". arXiv:1510.07674 [astro-ph.SR].
- ↑ Interactive Extra-solar Planets Catalog 半径降順 The Extrasolar Planets Encyclopaedia
- ↑ "The Planets SuperWASP". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-07. สืบค้นเมื่อ 2023-06-16.
- ↑ "Kepler Discoveries Kepler". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-04-01. สืบค้นเมื่อ 2023-06-16.
- ↑ NASA Exoplanet Archive[ลิงก์เสีย]
- ↑ "Kepler-16b NASA". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-31. สืบค้นเมื่อ 2023-06-16.
- ↑ "Notes for S Ori 70 Extrasolar Planets Encyclopaedia". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-29. สืบค้นเมื่อ 2023-06-16.
- ↑ Star : Kepler-42 Extrasolar Planets Encyclopaedia[ลิงก์เสีย]
- ↑ WASP-12b as a prolate, inflated and disrupting planet from tidal dissipation Nature
- ↑ WASP-12b: THE HOTTEST TRANSITING EXTRASOLAR PLANET YET DISCOVERED The Astrophysical Journal
- ↑ "Notes for Cha 110913 Extrasolar Planets Encyclopaedia". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-13. สืบค้นเมื่อ 2023-06-16.