รัดยาร์ด คิปลิง (เรือ)
เรือลากอวนไอน้ำ รัดยาร์ด คิปลิง
| |
ประวัติ | |
---|---|
![]() | |
ชื่อ | รัดยาร์ด คิปลิง |
ตั้งชื่อตาม | รัดยาร์ด คิปลิง |
เจ้าของ | |
ท่าเรือจดทะเบียน | |
อู่เรือ | บริษัท โคแครนแอนด์ซันส์ จำกัด, เซลบี[1] |
Yard number | 686[2] |
เดินเรือแรก | 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1920[2] |
สร้างเสร็จ | กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1921[1] |
บริการ | ค.ศ. 1920–1939[1][2] |
รหัสระบุ | FD 33[1] |
ความเป็นไป | ถูกจมโดย อู-27 เมื่อวันที่ 16 กันยายน ค.ศ. 1939[1][2] |
ลักษณะเฉพาะ [1][2] | |
ขนาด (ตัน): | 333 |
ความยาว: | 138.8 ฟุต (42.3 เมตร) |
ความกว้าง: | 23.7 ฟุต (7.2 เมตร) |
กินน้ำลึก: | 12.9 ฟุต (3.9 เมตร) |
ระบบขับเคลื่อน: | ที.3-กระบอกสูบ โดย บริษัท ซี.ดี.โฮล์มส์แอนด์โค จำกัด, ฮัลล์ |
ลูกเรือ: | 13 คน |
รัดยาร์ด คิปลิง (อังกฤษ: Rudyard Kipling) เป็นอดีตเรือลากอวนไอน้ำอังกฤษที่เริ่มเดินเรือเมื่อ ค.ศ. 1920 โดยใช้ในการประมงนอกชายฝั่งของบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เป็นเวลาเกือบ 20 ปี เมื่อวันที่ 16 กันยายน ค.ศ. 1939 ไม่นานหลังเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง เรือลากอวนถูกยึดโดยเรือดำน้ำเยอรมัน อู-27 ที่ทางตะวันตกของเกาะแคลร์ 40 ไมล์ (64 กม.) หลังจากนำอาหาร อุปกรณ์ และลูกเรือออกจากเรือแล้ว พวกเยอรมันก็จมเรือโดยใช้ระเบิดทำลายเรือ หลายชั่วโมงต่อมา ลูกเรือของ รัดยาร์ด คิปลิง ก็ถูกปล่อยลงน้ำพร้อมเรือชูชีพซึ่งห่างจากชายฝั่งไอร์แลนด์ 5 ไมล์ทะเล (9.3 กม.) ในที่สุดพวกเขาก็ได้นำเรือชูชีพมาขึ้นบกที่คิลลีเบกส์
รัดยาร์ด คิปลิง เป็นเรือสินค้าลำที่ 27, เรือสินค้าอังกฤษลำที่ 26 และเรือลากอวนอังกฤษลำที่สอง ที่ถูกจมโดยเรืออูของเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่สอง
การก่อสร้างและออกแบบ
[แก้]รัดยาร์ด คิปลิง สร้างโดยบริษัทต่อเรือ โคแครนแอนด์ซันส์ จำกัด ในเมืองเซลบี และถูกปล่อยลงน้ำจากอู่ต่อเรือหมายเลข 686 เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1920 ตั้งชื่อเรือ รัดยาร์ด คิปลิง โดยบริษัท นิววิงตันสตรีมทรอว์ลิง จำกัด ซึ่งเป็นเจ้าของเรือ และได้รับการจดทะเบียนในท่าเรือฮัลล์เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1921 และสร้างเสร็จในช่วงปลายเดือนเดียวกัน[1][3] หมายเลขทางการของเรือคือ 144068 เรือมีระวางบรรทุกสุทธิ 140 ตันและระวางบรรทุกรวม 333 ตัน เรือลากอวนมีความยาวจากหัวเรือถึงท้ายเรือ 138.8 ฟุต (42.3 ม.) กินน้ำลึก 12.9 ฟุต (3.9 ม.) และกว้าง 23.7 ฟุต (7.2 ม.) เครื่องยนต์เป็น ที.3-กระบอกสูบ จากบริษัท ซี.ดี.โฮล์มส์แอนด์โค จำกัด ในเมืองฮัลล์เช่นกัน[1][2]
ประวัติการเดินเรือ
[แก้]ช่วงแรก
[แก้]หลังจากสร้างเสร็จและลงทะเบียนแล้ว เรือ รัดยาร์ด คิปลิง ก็เริ่มออกหาปลาในบริเวณชายฝั่งของไอร์แลนด์และบริเตนใหญ่[2] เรือถูกขายให้กับ บริษัท ซันสตรีมทรอว์ลิง จำกัด ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1934 เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม เลขทะเบียนของเรือที่จดไว้ที่ฮัลล์หมดอายุ และเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม เรือได้รับการจดทะเบียนในเมืองท่าฟลีตวูดของอังกฤษ ซึ่งเป็นที่ตั้งของเจ้าของใหม่ รัดยาร์ด คิปลิง ยังคงอยู่กับ บริษัท ซันสตรีมทรอว์ลิง จำกัด ตลอดช่วงเวลาที่เหลือของเรือ[2]
การอับปาง
[แก้]เมื่อวันที่ 16 กันยายน ค.ศ. 1939 รัดยาร์ด คิปลิง ออกจากฟลีตวูดเพื่อไปหาปลาตามปกติในพื้นที่นอกชายฝั่งตะวันตกของไอร์แลนด์ เรือลากอวนซึ่งอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของกัปตัน ชาร์ลส์ รอบินสัน พร้อมลูกเรือ 12 คน อยู่ห่างจากเมืองโดเนกัลของไอร์แลนด์ไปทางตะวันตกประมาณ 100 ไมล์ทะเล (190 กม.) เมื่อ อู-27 แล่นเข้ามาใกล้และสั่งให้พวกเขาจอดเข้าเทียบเรือดำน้ำและยอมมอบตัว จากนั้นลูกเรือชาวเยอรมันก็นำอาหารของเรือ รัดยาร์ด คิปลิง ได้แก่ น้ำตาล ขนมปัง และปลา ตลอดจนวิทยุไร้สายของเรือลากอวน และส่งต่อให้กับเรืออู จากนั้นมีการวางระเบิดตั้งเวลาไว้ที่เรือลากอวน และสามนาทีต่อมา เวลา 15:53 น. เรือลากอวนก็ระเบิดและจมลง[2][4]
ขณะโจมตีเรือลากอวน ชาวเยอรมันก็พาลูกเรือของ รัดยาร์ด คิปลิง ขึ้นเรือและให้อาหารและเสื้อผ้ากันหนาวแก่พวกเขา[1] แปดชั่วโมงต่อมา ในช่วงเช้าของวันที่ 17 กันยายน ชาวเยอรมันอนุญาตให้ลูกเรือของ รัดยาร์ด คิปลิง กลับขึ้นเรือชูชีพและปล่อยพวกเขาทิ้งไว้ห่างจากเมืองท่าโดเนกัลไปทางตะวันตกประมาณ 5 ไมล์ (8.0 กม.) ต่อมา ลูกเรือก็ขึ้นฝั่งที่ทางทิศตะวันตกของเมืองคิลลีเบกส์[1][3] รัดยาร์ด คิปลิง เป็นเรือสินค้าลำที่ 27 (เรือสินค้าอังกฤษลำที่ 26) และเรือลากอวนอังกฤษลำที่สอง ที่ถูกจมโดยเรืออูของเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่สอง[5][6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 1.13 Helgason, Guðmundur. "Rudyard Kipling (Steam trawler)". Uboat.net. สืบค้นเมื่อ 30 June 2010.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 2.7 2.8 "S.T. Rudyard Kipling FD33". fleetwood-trawlers.info. สืบค้นเมื่อ 30 June 2010.
- ↑ 3.0 3.1 "FV Rudyard Kipling". wrecksite.eu. สืบค้นเมื่อ 5 July 2010.
- ↑ "First Trawler Loss of WWII". fleetwood-trawlers.info. สืบค้นเมื่อ 5 July 2010.
- ↑ "S.T. Rudyard Kipling FD33". The Bosun's Watch. connectfree.co. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 October 2011. สืบค้นเมื่อ 30 June 2010.
- ↑ Helgason, Guðmundur. "Ship losses by month – September 1939". German U-boats of WWII - uboat.net. สืบค้นเมื่อ 30 June 2010.