ข้ามไปเนื้อหา

รัฐเคาะลีฟะฮ์กุรฏุบะ

พิกัด: 37°53′N 4°46′W / 37.883°N 4.767°W / 37.883; -4.767
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รัฐเคาะลีฟะฮ์กุรฏุบะ

خلافة قرطبة
Khilāfat Qurṭubah (ในภาษาอาหรับ)
929–1031
รัฐเคาะลีฟะฮ์กุรฏุบะราว ค.ศ. 1000
รัฐเคาะลีฟะฮ์กุรฏุบะราว ค.ศ. 1000
เมืองหลวงกอร์โดบา
ภาษาทั่วไป
ศาสนา
การปกครองราชาธิปไตยแบบเทวาธิปไตย
ประวัติศาสตร์ 
• อับดุรเราะห์มานที่ 3 ประกาศเป็น เคาะลีฟะฮ์แห่งกอร์โดบา[1]
929
• สลายตัวไปเป็นหลายอาณาจักรไตฟาอิสระ
1031
พื้นที่
ประมาณ ค.ศ. 1000[2]600,000 ตารางกิโลเมตร (230,000 ตารางไมล์)
ประชากร
• ประมาณ ค.ศ. 1000
10,000,000
ก่อนหน้า
ถัดไป
เอมิเรตแห่งกอร์โดบา
ราชวงศ์อิดรีซิด
ไตฟาแห่งกอร์โดบา
ไตฟาแห่งเดนิอา
ไตฟาแห่งซาราโกซา
ไตฟาแห่งบาดาโฆซ
ไตฟาแห่งโตเลโด
ไตฟาแห่งบาเลนเซีย
ราชวงศ์อัลโมราวิด
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของยิบรอลตาร์ (สหราชอาณาจักร)
โมร็อกโก
โปรตุเกส
สเปน

รัฐเคาะลีฟะฮ์กุรฏุบะ (อาหรับ: خلافة قرطبة) ปกครองคาบสมุทรไอบีเรียและแอฟริกาเหนือจากเมืองกุรฏุบะตั้งแต่ ค.ศ. 929 จนถึง ค.ศ. 1031 สมัยนี้เป็นสมัยของความรุ่งเรืองทางการค้าขายและทางวัฒนธรรม สถาปัตยกรรมอิสลามชิ้นเอกหลายชิ้นของไอบีเรียสร้างขึ้นในสมัยนี้ รวมทั้งมัสยิดใหญ่แห่งกอร์โดบา (Great Mosque of Córdoba) ในเดือนมกราคม ค.ศ. 929 อับดุรเราะห์มานที่ 3ประกาศตนเป็น “เคาะลีฟะฮ์” แห่งกอร์โดบา[3] แทนตำแหน่ง “เอมีร์แห่งกอร์โดบา” (Emir of Córdoba) เดิม อับดุรเราะห์มานที่ 3 มาจากราชวงศ์อุมัยยะฮ์ราชวงศ์ที่มีตำแหน่งเป็นเอมีร์แห่งกอร์โดบามาตั้งแต่ ค.ศ. 756 การปกครองในฐานะกาหลิบถือกันว่าเป็นสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดของมุสลิมในคาบสมุทรไอบีเรีย

อาณาจักรสลายตัวไปแทบทั้งหมดในสงครามกลางเมืองระหว่างผู้สืบเชื้อสายจากกาหลิบฮิชามที่ 2 และผู้สืบการปกครองจากนายกรัฐมนตรี (hayib) อัลมันศูร อิบน์ อะบี อามิร ส่วนที่เหลืออยู่บ้างก็อยู่มาจนถึง ค.ศ. 1031 เมื่อหลังจากการต่อสู้กันภายในต่อเนื่องกันอยู่หลายปีก็แตกแยกออกไปเป็นไตฟา (Taifa) หรือรัฐย่อย ๆ[4]

ประชากร

[แก้]

Thomas Glick รายงานว่า "แม้จะมีการอพยพออกไปเป็นจำนวนมากในช่วงภัยแล้งและความอดอยากในคริสต์ทศวรรษ 750 การอพยพเข้าของชาวเบอร์เบอร์ที่มาใหม่จากแอฟริกาเหนือเป็นคุณลักษณะที่คงที่ของประวัติศาสตร์อันดาลูซี ซึ่งทำให้มีประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในคริสต์ศตวรรษที่ 10 ชาวฮิสแปนิก-โรมันที่หันมาเข้ารับอิสลามจำนวน 6 หรือ 7 ล้านคน เป็นประชากรส่วนใหญ่และยังครอบครองลำดับสังคมขั้นต่ำสุด"[5][6] มีการประมาณว่าเมืองหลวงมีประชากรประมาณ 450,000 คน ทำให้เป็นเมืองที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ของยุโรปในขณะนั้น[7]

รายพระนาม

[แก้]
เคาะลีฟะฮ์แห่งกอร์โดบา
เคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์แห่งกอร์โดบา
เคาะลีฟะฮ์ ครองราชย์
อับดุรเราะห์มานที่ 3 อันนาศิร ลิดีนิลลาฮ์ 16 มกราคม 929 – 15 ตุลาคม 961
อัลฮะกัมที่ 2 อัลมุสตันศิร บิลลาฮ์ 15 ตุลาคม 961 – 16 ตุลาคม 976
ฮิชามที่ 2 อัลมุอัยยัด บิลลาฮ์ 16 ตุลาคม 976 – 1009
มุฮัมมัดที่ 2 อัลมะฮ์ดี บิลลาฮ์ 1009
สุลัยมาน อัลมุสตะอีน บิลลาฮ์ 1009 – 1010
ฮิชามที่ 2 อัลมุอัยยัด บิลลาฮ์ 1010 – 19 เมษายน 1013
สุลัยมาน อัลมุสตะอีน บิลลาฮ์ 1013 – 1016
อับดุรเราะห์มานที่ 4 อัลมุรตะฎอ บิลลาฮ์ 1017
เคาะลีฟะฮ์ฮัมมูดแห่งกอร์โดบา
อะลี อิบน์ ฮัมมูด อันนาศิร ลิดีนัลลอฮ์ 1016–1018
อัลมะอ์มูน อัลกอซิม อิบน์ ฮัมมูด 1018–1021
ยะห์ยา อิบน์ อะลี อิบน์ ฮัมมูด อัลมัวะอ์ตะลี บิลลาฮ์ 1021–1023
อัลมะอ์มูน อัลกอซิม อิบน์ ฮัมมูด 1023
เคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์แห่งกอร์โดบา (ฟื้นฟู)
อับดุรเราะห์มานที่ 5 อัลมุสตัซฮิร บิลลาฮ์ 1023 – 1024
มุฮัมมัดที่ 3 อัลมุสตักฟี บิลลาฮ์ 1024 – 1025
เคาะลีฟะฮ์ฮัมมูดแห่งกอร์โดบา (ช่วงว่างระหว่างรัชกาล)
ยะห์ยา อิบน์ อะลี อิบน์ ฮัมมูด อัลมัวะอ์ตะลี บิลลาฮ์ 1025–1026
เคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์แห่งกอร์โดบา (ฟื้นฟู)
ฮิชามที่ 3 อัลมัวะอ์ตัด บิลลาฮ์ 1026–1031
รัฐเคาะลีฟะฮ์สิ้นสุด

อ้างอิง

[แก้]
  1. Azizur Rahman, Syed (2001). The Story of Islamic Spain (snippet view). New Delhi: Goodword Books. p. 129. ISBN 978-81-87570-57-8. สืบค้นเมื่อ 5 September 2010. [Emir Abdullah died on] 16 Oct., 912 after 26 years of inglorious rule leaving his fragmented and bankrupt kingdom to his grandson ‘Abd ar-Rahman. The following day, the new sultan received the oath of allegiance at a ceremony held in the "Perfect salon" (al-majils al-kamil) of the Alcazar.
  2. Taagepera, Rein (September 1997). "Expansion and Contraction Patterns of Large Polities: Context for Russia". International Studies Quarterly. 41 (3): 495. doi:10.1111/0020-8833.00053. JSTOR 2600793. สืบค้นเมื่อ 7 September 2018.
  3. Barton 2004, p. 38.
  4. Chejne 1974, pp. 43–49.
  5. Glick 2005, p. 202.
  6. "The rate of conversion is slow until the tenth century (less than one-quarter of the eventual total number of converts had been converted); the explosive period coincides closely with the reign of 'Abd al-Rahman III (912–961); the process is completed (eighty percent converted) by around 1100. The curve, moreover, makes possible a reasonable estimate of the religious distribution of the population. Assuming that there were seven million Hispano-Romans in the peninsula in 711 and that the numbers of this segment of the population remained level through the eleventh century (with population growth balancing out Christian migration to the north), then by 912 there would have been approximately 2.8 million indigenous Muslims (muwalladûn) plus Arabs and Berbers. At this point Christians still vastly outnumbered Muslims. By 1100, however, the number of indigenous Muslims would have risen to a majority of 5.6 million." Glick 2005, pp. 23–24
  7. Tertius Chandler, Four Thousand Years of Urban Growth: An Historical Census, Lewiston, New York: Edwin Mellen Press, 1987. ISBN 0-88946-207-0. Figures in main tables are preferentially cited. Part of Chandler's estimates are summarized or modified at The Institute for Research on World-Systems; Largest Cities Through History by Matt T. Rosenberg; or The Etext Archives เก็บถาวร 2008-02-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Chandler defined a city as a continuously built-up area (urban) with suburbs but without farmland inside the municipality.

บรรณานุกรม

[แก้]

37°53′N 4°46′W / 37.883°N 4.767°W / 37.883; -4.767