ข้ามไปเนื้อหา

รัฐสภาเวลส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รัฐสภาเวลส์

Senedd Cymru
สมัยที่ 6
ประเภท
ประเภท
ประวัติ
ก่อตั้ง12 พฤษภาคม ค.ศ. 1999
ก่อนหน้าสำนักงานเวลส์ (ค.ศ. 1965–1999)
ผู้บริหาร
ประธานสภา
เอลิน โจนส์, ไพลด์คัมรี
ตั้งแต่ 11 พฤษภาคม ค.ศ. 2016
Trefnydd (ผู้นำวิปรัฐบาล)
เลสลีย์ กริฟฟิธส์, พรรคแรงงาน
ตั้งแต่ 13 พฤษภาคม ค.ศ. 2021
มาร์ค เดรกฟอร์ด, พรรคแรงงาน
ตั้งแต่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 2018
มานอน แอนโทนีอาซซี
ตั้งแต่ เมษายน ค.ศ. 2017
แอนดรูว์ เดวีส์, พรรคอนุรักษ์นิยม
ตั้งแต่ 24 มกราคม ค.ศ. 2021
โครงสร้าง
สมาชิก60
กลุ่มการเมือง
ฝ่ายรัฐบาล (30)
  พรรคแรงงาน (30)[a]

พรรคร่วมรัฐบาล

  ไพลด์คัมรี (13)

ฝ่ายค้าน (16)

  พรรคอนุรักษ์นิยม (16)

พรรคร่วมฝ่ายค้าน (1)

  พรรคเสรีประชาธิปไตย (1)
การเลือกตั้ง
ระบบสมาชิกเพิ่มเติม
การเลือกตั้งครั้งล่าสุด
6 พฤษภาคม ค.ศ. 2021
การเลือกตั้งครั้งหน้า
7 พฤษภาคม ค.ศ. 2026
ที่ประชุม
ห้องประชุมสภาภายในอาคารรัฐสภา
คาร์ดิฟ, เวลส์
เว็บไซต์
www.senedd.wales

รัฐสภาเวลส์ (อังกฤษ: Welsh parliament, เวลส์: senedd[1], ออกเสียง [ˈsɛnɛð] ; แปลว่า รัฐสภา หรือวุฒิสภา) คือรัฐสภาแห่งเวลส์ที่ได้รับการถ่ายโอนอำนาจมาจากสหราชอาณาจักร โดยมีลักษณะเป็นสภาเดียว มีสมาชิกมาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย โดยมีอำนาจหน้าที่ในการตรากฎหมายเพื่อใช้ในเวลส์ โดยเฉพาะกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร และการกำกับดูแลรัฐบาลเวลส์[2] โดยรัฐสภาเวลส์ใช้ภาษาราชการสองภาษา ประกอบด้วยภาษาเวลส์ และภาษาอังกฤษ[3] โดยเมื่อแรกก่อตั้งในปีค.ศ. 1999 จนถึงปีค.ศ. 2020 นั้นเคยเรียกสภานี้ว่า สมัชชาแห่งชาติเวลส์ (อังกฤษ: National Assembly of Wales, เวลส์: Cynulliad Cenedlaethol Cymru)

รัฐสภาเวลส์ประกอบด้วยสมาชิกรัฐสภา (อังกฤษ: Members of the Senedd, เวลส์: Aelodau o'r Senedd) เรียกเป็นอักษรย่อว่า "MS"[4] ("AS" ในภาษาเวลส์)[5] จำนวน 60 คน โดยตั้งแต่ค.ศ. 2011 สมาชิกมาจากการเลือกตั้ง โดยมีวาระ 5 ปี โดยผ่านการลงคะแนนระบบสมาชิกเพิ่มเติม โดยมีสมาชิกจำนวน 40 เป็นผู้แทนมาจากแต่ละเขตเลือกตั้งที่แบ่งตามเขตภูมิศาสตร์ และได้รับการเลือกตั้งมาจากระบบการลงคะแนนแบบแบ่งเขตคะแนนสูงสุด (First-past-the-post) และอีก 20 คน ที่มาจากการเลือกตั้งจากเขตภูมิภาค (electoral regions) ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น โดยใช้ระบบการลงคะแนนตามวิธีโดนต์ในแบบสัดส่วน โดยพรรคการเมืองที่รวมเสียงข้างมากในสภาได้จะเป็นผู้จัดตั้งรัฐบาล

สมัชชาแห่งชาติเวลส์ได้ถูกจัดตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกตามพระราชบัญญัติรัฐบาลแห่งเวลส์ ค.ศ. 1998 อันเป็นผลมาจากการลงประชามติในปีค.ศ. 1997 โดยสมัชชานี้ไม่ได้มีอำนาจในการตรากฎหมายปฐมภูมิ โดยต่อมาได้รับอำนาจในการตรากฎหมายมากขึ้นตามพระราชบัญญัติรัฐบาลแห่งเวลส์ ค.ศ. 2006 และต่อมาได้มีอำนาจในการตรากฎหมายปฐมภูมิอันสืบเนื่องมาจากการลงประชามติเมื่อ 3 มีนาคม ค.ศ. 2011 โดยรัฐสภาสหราชอาณาจักร และรัฐมนตรีเวลส์นั้นไม่จำเป็นต้องเห็นชอบในการผ่านกฎหมายใดๆ ที่ตราโดยรัฐสภาเวลส์เพื่อใช้ในเขตทั้ง 20 เขตของเวลส์[6] โดยต่อมารัฐสภาเวลส์ได้รับอำนาจมากขึ้นจากพระราชบัญญัติเวลส์ ค.ศ. 2014 และ ค.ศ. 2017 โดยในฉบับหลังนั้นทำให้รัฐสภาเวลส์มีอำนาจในการตรากฎหมายเหมือนกับรัฐสภาสกอตแลนด์

ต่อมาในปีค.ศ. 2020 สมัชชาแห่งชาติเวลส์ได้เปลี่ยนชื่อเป็นรัฐสภาเวลส์ ตามพระราชบัญญัติรัฐสภาเวลส์และการเลือกตั้งของเวลส์ ค.ศ. 2020 โดยมีอำนาจเต็มในการตรากฎหมายเกี่ยวกับการสาธารณสุข การศึกษา การพัฒนาทางเศรษฐกิจ การคมนาคม สิ่งแวดล้อม การเกษตร การปกครองท้องถิ่น และภาษีอากรบางกรณี

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Senedd Cymru and Welsh Parliament names become law". senedd.wales (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 6 May 2020. สืบค้นเมื่อ 16 May 2021.
  2. "What is the role of the Senedd?". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 June 2020. สืบค้นเมื่อ 13 May 2020.
  3. แม่แบบ:Cite legislation Wales
  4. "Senedd and Elections (Wales) Bill" (PDF). senedd.wales.
  5. "Senedd and Elections (Wales) Act 2020". Legislation.gov.uk. 5 March 2020. สืบค้นเมื่อ 11 May 2020.
  6. "Wales says Yes in referendum vote". BBC News. 4 March 2011.
  1. รวมกับ 16 คนจากพรรคแรงงานและสหกรณ์