รัฐบัญญัติปัญญาประดิษฐ์
ข้อกำหนดสหภาพยุโรป | |
ชื่อ | รัฐบัญญัติปัญญาประดิษฐ์[a] |
---|---|
จัดทำโดย | รัฐสภายุโรปและคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป |
ประวัติ | |
คะแนนเสียงในรัฐสภายุโรป | 13 มีนาคม 2024 |
คะแนนเสียงในคณะมนตรียุโรป | 21 พฤษภาคม 2024 |
เนื้อความเบื้องต้น | |
เสนอโดยคณะกรรมาธิการ | 2021/206 |
รัฐบัญญัติปัญญาประดิษฐ์ (อังกฤษ: Artificial Intelligence Act)[a] หรือ รัฐบัญญัติเอไอ (AI Act) เป็นข้อบังคับของสหภาพยุโรปเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์
รัฐบัญญัตินี้วางกรอบในการจัดระเบียบและกรอบทางกฎหมายร่วมกันสำหรับปัญญาประดิษฐ์ในสหภาพยุโรป[1] รัฐบัญญัตินี้คณะกรรมาธิการยุโรปเสนอในวันที่ 21 เมษายน 2021[2] ผ่านรัฐสภายุโรปในวันที่ 13 เมษายน 2024[3] และได้รับอนุมัติเป็นเอกฉันท์จากคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรปในวันที่ 21 พฤษภาคม 2024[4] รัฐบัญญัตินี้จัดตั้งคณะกรรมการปัญญาประดิษฐ์แห่งยุโรป (European Artificial Intelligence Board) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระดับชาติและสร้างความมั่นใจว่าจะมีการปฏิบัติตามข้อบังคับ[5] เช่นเดียวกับข้อบังคับการคุ้มครองข้อมูลทั่วไป รัฐบัญญัติเอไอนี้มีผลนอกอาณาเขตของสหภาพยุโรป ตราบที่มีผู้ใช้งานอยู่ภายในสหภาพยุโรป[6]
รัฐบัญญัตินี้ครอบคลุมปัญญาประดิษฐ์ในสาขาต่าง ๆ ยกเว้นระบบปัญญาประดิษฐ์ที่ใช้เฉพาะการทหาร ความมั่นคงของชาติ การวิจัย และการใช้งานที่ไม่ใช่ในเชิงวิชาชีพ[7] ในฐานะที่เป็นข้อบังคับสำหรับผลิตภัณฑ์ รัฐบัญญัตินี้มิได้ให้สิทธิต่าง ๆ แก่ปัจเจกบุคล แต่มีไว้จัดระเบียบผู้ให้บริการระบบปัญญาประดิษฐ์และหน่วยงานที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์ในเชิงวิชาชีพ[6] ร่างรัฐบัญญัติได้รับการตรวจแก้เพื่อให้รองรับความนิยมที่พุ่งสูงขึ้นของระบบปัญญาประดิษฐ์ช่วยสร้าง เช่น ChatGPT ซึ่งมีขีดความสามารถที่ไม่สอดรับกับกรอบการทำงานหลักของร่างเดิม[8] นอกจากนี้ยังมีการวางแผนว่าจะมีข้อกำหนดสำหรับระบบเอไอเชิงสังเคราะห์ที่มีขีดจำกัดสูงที่มีผลกระทบเชิงระบบ[9]
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 ชื่อทางการคือ ข้อบังคับของรัฐสภายุโรปและของคณะมนตรีเพื่อวางระเบียบที่สอดคล้องกันในเรื่องปัญญาประดิษฐ์และแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับ (อีซี) ที่ 300/2008, (อียู) ที่ 167/2013, (อียู) ที่ 168/2013, (อียู) 2018/858, (อียู) 2018/1139 และ (อียู) 2019/2144 และคำสั่ง 2014/90/อียู, (อียู) 2016/797 และ (อียู) 2020/1828 (อังกฤษ: Regulation of the European Parliament and of the Council laying down harmonised rules on artificial intelligence and amending Regulations (EC) No 300/2008, (EU) No 167/2013, (EU) No 168/2013, (EU) 2018/858, (EU) 2018/1139 and (EU) 2019/2144 and Directives 2014/90/EU, (EU) 2016/797 and (EU) 2020/1828)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Proposal for a Regulation laying down harmonised rules on artificial intelligence: Shaping Europe's digital future". digital-strategy.ec.europa.eu (ภาษาอังกฤษ). 21 April 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 January 2023. สืบค้นเมื่อ 2023-01-09.
- ↑ "EUR-Lex – 52021PC0206 – EN – EUR-Lex". eur-lex.europa.eu. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 August 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-09-07.
- ↑ "World's first major act to regulate AI passed by European lawmakers". CNBC. 14 March 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 March 2024. สืบค้นเมื่อ 13 March 2024.
- ↑ Browne, Ryan (2024-05-21). "World's first major law for artificial intelligence gets final EU green light". CNBC (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 May 2024. สืบค้นเมื่อ 2024-05-22.
- ↑ MacCarthy, Mark; Propp, Kenneth (2021-05-04). "Machines learn that Brussels writes the rules: The EU's new AI regulation". Brookings (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 October 2022. สืบค้นเมื่อ 2021-09-07.
- ↑ 6.0 6.1 Mueller, Benjamin (2021-05-04). "The Artificial Intelligence Act: A Quick Explainer". Center for Data Innovation (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 October 2022. สืบค้นเมื่อ 2024-01-06.
- ↑ "Artificial intelligence act: Council and Parliament strike a deal on the first rules for AI in the world". Council of the EU. 9 December 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 January 2024. สืบค้นเมื่อ January 6, 2024.
- ↑ Coulter, Martin (December 7, 2023). "What is the EU AI Act and when will regulation come into effect?". Reuters. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 December 2023. สืบค้นเมื่อ 11 January 2024.
- ↑ Espinoza, Javier (December 9, 2023). "EU agrees landmark rules on artificial intelligence". Financial Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 December 2023. สืบค้นเมื่อ 2024-01-06.