รัฐควาลิยัร
รัฐควาลิยัร ग्वालियर राज्य | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1731–1948 | |||||||||||
แผนที่รัฐควาลิยัรเมื่อปี 1903 | |||||||||||
เมืองหลวง | |||||||||||
ภาษาทั่วไป | พุนเทล, ฮินดี, มราฐา | ||||||||||
ประวัติศาสตร์ | |||||||||||
• ก่อตั้ง | 1731 | ||||||||||
• โอนสิทธิ์ปกครองแก่อินเดีย | 15 มิถุนายน 1948 | ||||||||||
| |||||||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ | มัธยประเทศ ประเทศอินเดีย |
รัฐควาลิยัร (อักษรโรมัน: Gwalior) เป็นรัฐมราฐากึ่งเอกราช กินพื้นที่ที่ปัจจุบันคือรัฐมัธยประเทศ และเติบโตขึ้นมาในสมัยการเจริญรุ่งเรืองของจักรวรรดิมราฐา และการแตกสลายของอาณาจักรโมกุล
รัฐควาลิยัรปกครองโดยราชวงศ์สินธิยา ซึ่งเป็นราชวงศ์ในจักรวรรดิมราฐาที่เป็นฮินดู ในสมัยอาณานิคมอังกฤษ รัฐควาลิยัรได้รับการบรรจุเป็นหนึ่งในรัฐมหาราชาระดับ 21 สลุต ภายใต้ปกครองของบริติชราช[1] ชื่อของรัฐมาจากเมืองโบราณควาลิยัร ซึ่งแม้จะไม่ได้เป็นราชธานีของรัฐในช่วงแรก แต่เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญ ต่อมาเนื่องมาจากความแข็งแกร่วของป้อมควาลิยัร จึงได้ย้ายราชธานีมาที่นี่แทนอุชไชนะ หลังทาวลัต ราว สินทิยา สร้างวังขึ้นในหมู่บ้านใกล้กับป้อม รัฐตั้งขึ้นในศตวรรษที่ 18 โดยราโนจี สินทิยา ตั้งขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของสมาพันธรัฐมราฐา
ภายใต้ปกครอของ มหัทจี สินทิยา (1761–1794) รัฐควาลิยัรกลายมาเป็นหนึ่งในอำนาจระดับบน ๆ ของอินเดียกลาง และมีอำนาจเหนือในความสัมพันธ์ระหว่างรัฐในบรรดาสมาพันธรัฐมราฐา กระทั่งเกิดสงครามกับอังกฤษ รัฐกลายมาอยู่ภายใต้อำนาจของอังกฤษแทน และกลายมาเป็นรัฐมหาราชาของจักรวรรดิอังกฤษในอินเดีย ควาลิยัรเป็นรัฐที่ใหญ่สุดในเอเยนซีอินเดียกลาง และอยู่ภายใต้การดูแลของเรสซิเดนซีแห่งควาลิยัร จนถึงปี 1936 ที่ซึ่งแยกควาลิยัรออกจากเอเยนซีและมาอยู่ภายใต้การดูแลโดยตรงของผู้สำเร็จราชการประจำอินเดีย หลังอินเดียได้เอกราชในปี 1947 ผู้นำแห่งศินเทได้ลงนามในสนธิสัญญาส่งมอบสิทธิ์ปกครองให้แก่อินเดีย และรัฐควาลิยัรถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัฐมัธยภารัต[2]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Gwalior – Princely State (21 gun salute)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 August 2018. สืบค้นเมื่อ 11 August 2014.
- ↑ Boland-Crewe, Tara; Lea, David (2004). The Territories and States of India. Psychology Press. ISBN 9780203402900.