ข้ามไปเนื้อหา

รังไข่บิดขั้ว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รังไข่บิดขั้ว
(Ovarian torsion)
ชื่ออื่นAdnexal torsion[1]
หลอดเลือดแดงในระบบสืบพันธุ์สตรี แสดงให้เห็นหลอดเลือดแดงมดลูก (uterine artery), หลอดเลือดแดงรังไข่ (ovarian artery), และหลอดเลือดแดงช่องคลอด (vaginal artery)
สาขาวิชานรีเวชวิทยา
อาการปวดท้องน้อย[2]
ภาวะแทรกซ้อนเป็นหมัน[2]
การตั้งต้นมักเป็นขึ้นอย่างเฉียบพลันทันที[2]
ปัจจัยเสี่ยงOvarian cysts, ovarian enlargement, ovarian tumors, pregnancy, tubal ligation[3][2]
วิธีวินิจฉัยBased on symptoms, ultrasound, CT scan[1][2]
โรคอื่นที่คล้ายกันAppendicitis, kidney infection, kidney stones, ectopic pregnancy[2]
การรักษาการผ่าตัด[1]
ความชุก6 ต่อ 100,000 ประชากรสตรีต่อปี[2]

รังไข่บิดขั้ว (อังกฤษ: ovarian torsion) คือภาวะที่รังไข่และอวัยวะข้างเคียงเกิดบิดขั้ว ทำให้เลือดไปเลี้ยงรังไข่ไม่ได้[3][4] ผู้ป่วยมักมีอาการปวดท้องน้อยข้างที่เป็น[2][5] โดยทั่วไปแล้วอาการเจ็บปวดมักเป็นขึ้นอย่างเฉียบพลันทันที แต่ก็ไม่เสมอไป[2] อาการอื่น ๆ ที่อาจพบร่วมคืออาการคลื่นไส้[2] ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดได้แก่ การติดเชื้อ เลือดออก และเป็นหมัน[2][5]

ปัจจัยเสี่ยงคือการมีถุงน้ำที่รังไข่ รังไข่โต เนื้องอกรังไข่ การตั้งครรภ์ การรักษาภาวะเจริญพันธุ์ และการเคยผ่าตัดผูกท่อนำไข่[3][2][5] การวินิจฉัยทำได้โดยพิจารณาจากอาการ การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงทางช่องคลอด และการถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์ ช่วยสนับสนุนการวินิจฉัยได้ แต่ถึงจะตรวจไม่พบก็ไม่ได้หมายความว่าผู้ป่วยไม่ได้เป็นภาวะนี้[2] การวินิจฉัยที่แน่ชัดที่สุดคือการผ่าตัดเปิดช่องท้อง[2]

การรักษาทำได้โดยการผ่าตัด โดยอาจคลายการบิดขั้วและยึดรังไข่ให้อยู่กับที่ หรือตัดรังไข่ออก[2][1] ผู้ป่วยจำนวนมากสามารถรักษาได้โดยไม่ต้องตัดรังไข่ออกแม้จะเป็นมาแล้วระยะเวลาหนึ่งก็ตาม[5] ผู้ป่วยที่เคยมีรังไข่บิดขั้วมีโอกาสประมาณร้อยละ 10 ที่รังไข่อีกข้างจะเป็นด้วยในอนาคต[4] ภาวะนี้ค่อนข้างพบได้น้อย โดยในแต่ละปีจะมีสตรีเป็นภาวะนี้ประมาณ 6 ใน 100,000[2] ภาวะนี้พบได้ในทุกช่วงอายุ โดยพบบ่อยที่สุดในวัยเจริญพันธุ์[2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 "Adnexal Torsion". Merck Manuals Professional Edition. สืบค้นเมื่อ 12 กันยายน 2018.
  2. 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 2.10 2.11 2.12 2.13 2.14 2.15 2.16 Robertson JJ, Long B, Koyfman A (เมษายน 2017). "Myths in the Evaluation and Management of Ovarian Torsion". The Journal of Emergency Medicine. 52 (4): 449–456. doi:10.1016/j.jemermed.2016.11.012. PMID 27988260.
  3. 3.0 3.1 3.2 Asfour V, Varma R, Menon P (27 กรกฎาคม 2015). "Clinical risk factors for ovarian torsion". Journal of Obstetrics and Gynaecology. 35 (7): 721–5. eISSN 1364-6893. PMID 26212687.
  4. 4.0 4.1 Ros PR, Mortele KJ (2007). CT and MRI of the Abdomen and Pelvis: A Teaching File (ภาษาอังกฤษ). Lippincott Williams & Wilkins. p. 395. ISBN 978-0-7817-7237-2.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 Wall R (2017). Rosen's Emergency Medicine: Concepts and Clinical Practice (9 ed.). Elsevier. p. 1232. ISBN 978-0-323-35479-0.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก