รักร่วมเพศในประเทศญี่ปุ่น
รักร่วมเพศในประเทศญี่ปุ่น เป็นที่ยอมรับในลัทธิชินโต มีการอ้างถึงรักร่วมเพศมากยิ่งขึ้นในยุคเฮอังและอย่างเห็นได้ชัดในยุคเอโดะ[1] อย่างไรก็ตามเมื่อประเทศญี่ปุ่นเข้าสู่ยุคเมจิ การรักร่วมเพศไม่ได้เป็นที่ยอมรับเหมือนแต่เดิม ในรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1947 ได้ให้คำนิยามการแต่งงานโดยเฉพาะว่าเป็นความสัมพันธ์ระหว่างชาย–หญิงเท่านั้น
ปัจจุบันเริ่มมีผู้สนับสนุนรักร่วมเพศมากยิ่งขึ้น ผลสำรวจ ค.ศ. 2015 ระบุว่าชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่เห็นชอบการทำให้รักร่วมเพศถูกกฎหมาย[2] ในปีต่อ ๆ มาผลสำรวจความคิดเห็นแสดงการสนับสนุนการแต่งงานระหว่างเพศเดียวกันที่สูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนรุ่นใหม่[3] อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจในบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศ ค.ศ. 2020 ระบุว่า 38% ของพวกเขาถูกล่วงละเมิดหรือถูกทำร้ายร่างกาย[4]
ประวัติ
[แก้]ในประวัติศาสตร์ ลัทธิชินโต "ไม่มีประมวลจรรยาบรรณพิเศษและมองว่าการมีเพศสัมพันธ์นั้นเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่สามารถแสวงหาความสุขได้ด้วยการหักห้ามใจเล็กน้อย"[5] ขณะที่ความเชื่อของลัทธิชินโตนั้นเปิดกว้างและไม่ได้ประณามรักร่วมเพศ[5] มีการอ้างอิงทางวรรณกรรมอย่างไม่ชัดเจนถึงการรักเพศเดียวกันปรากฏในแหล่งอ้างอิงโบราณอย่างเทวตำนานญี่ปุ่น[5] แต่การอ้างอิงดังกล่าวน้อยเกินไปจนไม่น่าเชื่อถือ อย่างไรก็ตาม การเปิดเผยตัวตนว่ามีความรักร่วมกับเพื่อนเพศเดียวกันนั้นเป็นเรื่องปกติ[6]
ในยุคเฮอัง (ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 11) เริ่มมีแหล่งอ้างอิงที่กล่างถึงรักร่วมเพศมากยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ตำนานเก็นจิ เขียนขึ้นในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 11 ผู้ชายมักมีความรู้สึกร่วมกับความสวยงามของเยาวชน ในฉากหนึ่ง พระเอกปฏิเสธสตรีและหลับนอนกับน้องชายของเธอแทน: "เก็นจิฉุดชายหนุ่มลงนอนข้างกายเขา ... เก็นจิ [...] มองว่าผู้ชายมีความน่าดึงดูดมากกว่าพี่สาวที่แสนเย็นชาของเขา"[7] นอกจากนี้ยังมีอนุทินในยุคเฮอังหลายเล่มที่ปรากฏการอ้างอิงถึงพฤติกรรมรักร่วมเพศ บางส่วนปรากฏการอ้างอิงจักรพรรดิมีส่วนในความสัมพันธ์รักร่วมเพศกับ "หนุ่มหล่อที่ถูกกักขังไว้เพื่อจุดประสงค์ทางเพศ"[8]
ขณะที่ประเทศญี่ปุ่นเริ่มเข้าสู่ยุคเมจิ กระแสต่อต้านรักร่วมเพศแข็งแรงขึ้นในภาพรวม กระทรวงยุติธรรมผ่านกฎหมายการชำเราแบบวิตถารใน ค.ศ. 1873 ส่งผลให้พฤติกรรมรักร่วมเพศผิดกฎหมาย[1] การเรียนการสอนเพศวิทยาที่ได้รับความนิยมขณะนั้นถูกวิจารณ์[9] ช่วงเวลาอันสั้นครั้งเดียวที่มีการห้ามการชำเราแบบวิตถารในรักร่วมเพศ (การร่วมเพศทางทวารหนัก) คือใน ค.ศ. 1872–1880 เนื่องจากอิทธิพลตะวันตก[10][11]
รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันของประเทศญี่ปุ่นซึ่งเขียนในระหว่างการยึดครองของอเมริกันให้คำนิยามของการแต่งงานว่าเป็นความสัมพันธ์ระหว่างชาย–หญิงโดยเฉพาะ[12] ในความพยายามที่จะหลีกเลี่ยงข้อกำหนดในการแต่งงาน คู่เกย์บางคู่หันไปพึ่งระบบการรับผู้ใหญ่เป็นบุตรบุญธรรมซึ่งเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะเป็นครอบครัวเดียวกัน[12] ด้วยวิธีนี้ ฝ่ายที่แก่กว่าจะรับฝ่ายที่เด็กว่าเป็นบุตรบุญธรรมซึ่งจะทำให้พวกเขาเป็นครอบครัวตามกฎหมาย อีกทั้งยังได้รับผลประโยชน์เดียวกันที่ครอบครัวปกติได้รับ เช่น นามสกุลเดียวกันและมรดก[12] ในที่ทำงาน ไม่มีการให้ความคุ้มครองการต่อต้านการเลือกปฏิบัติพนักงานที่มีความหลากหลายทางเพศ[12]
การแต่งงานกับเพศเดียวกันยังไม่ถูกกฎหมายในระดับชาติ ศาลแขวงชิบูยะในโตเกียวผ่านร่างใบรับรองความเป็นคู่ชีวิตเพศเดียวกันใน ค.ศ. 2015 เพื่อ "ออกใบรับรองให้แก่คู่รักเพศเดียวกันที่ยอมรับว่าเป็นคู่ชีวิตเฉกเช่นกับผู้ที่แต่งงานภายใต้กฎหมาย"[13] ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2021 ศาลแขวงซัปโปโระให้คำวินิจฉัยว่ากฎหมายการห้ามแต่งงานเพศเดียวกัน ค.ศ. 1984 นั้นขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญ[14] อย่างไรก็ตาม ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2022 ศาลแขวงโอซากะอ่านคำพิพากษาแย้งว่าการห้ามแต่งงานเพศเดียวกันนั้นเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ[15]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Furukawa, Makoto. The Changing Nature of Sexuality: The Three Codes Framing Homosexuality in Modern Japan. pp. 99, 100, 108, 112.
- ↑ Chisaki Watanabe (2015-11-29). "Majority of Japanese Support Same-Sex Marriage, Poll Shows - Bloomberg Business". Bloomberg.com. สืบค้นเมื่อ 2015-12-27.
- ↑ "Survey: 78% of Japanese in 20s to 50s favor legal gay marriages". The Asahi Shimbun. 28 January 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-11. สืบค้นเมื่อ 2022-08-20.
- ↑ "38% of LGBT people in Japan sexually harassed or assaulted: survey". Kyodo News. 2020-12-27.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 Crompton, Louis (2003). "Pre-Meiji Japan". Homosexuality and Civilization. Cambridge, Massachusetts: Harvard University Press. p. 413. ISBN 9780674022331. LCCN 2003245327.
Japanese Shintoism was principally concerned with propitiatory rites and ceremonies; its mythology fostered nationalism through the cult of divine emperors, but it had no special code of morals and seems to have regarded sex as a natural phenomenon to be enjoyed with few inhibitions. Phallic shrines dotted the countryside. Premarital virginity was not rigidly insisted upon, and freeborn boys did not lose status if they had adult lovers. Early law codes penalized incest and bestiality but not homosexual relations. The gods of the Shinto pantheon were themselves highly sexual. In later times, some of them were seen as "guardian deities" of male love.
- ↑ Flanagan, Damian (2016-11-19). "The shifting sexual norms in Japan's literary history". The Japan Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2019-11-12.
- ↑ The Tale of Genji. Edward G. Seidensticker (trans.) p. 48.
- ↑ Leupp, Gary (1997). Male Colors: The Construction of Homosexuality in Tokugawa Japan. University of California Press. ISBN 978-0-520-91919-8. pg. 26, 32, 53, 69-78, 88, 90- 92, 94, 95-97, 98-100, 101-102, 104, 113, 119-120, 122, 128-129, 132-135, 137-141, 145..
- ↑ Pflugfelder, M. Gregory. 1999. "Cartographies of Desire: Male-Male Sexuality in Japanese Discourse, 1600- 1950": 256.
- ↑ Tamagawa, Masami (2019). Japanese LGBT Diasporas: Gender, Immigration Policy and Diverse Experiences. Springer Nature. p. 24. ISBN 978-3030310301.
The country's anti-homosexuality laws were gradually repealed between 1975 and 1997 (Carbery 2010). ... Japan never had a sodomy law, except the so-called Keikanh o (1872–1880), which exclusively prohibited anal intercourse.
- ↑ Peakman, Julie (2015). "4 Continuities and change in sexual behavioour and attitudes since 1750". ใน McNeill, J. R.; Pomeranz, Kenneth (บ.ก.). The Cambridge World History: Volume 7, Production, Destruction and Connection 1750–Present, Part 2, Shared Transformations?. Cambridge University Press. ISBN 978-1316297841.
Prohibition of homosexuality has continued into the twentyfirst century in some places with criminal penalties, ... Homosexuality has never been illegal in Japan except for a short time from 1872– 1880, and although civil rights are not ...
- ↑ 12.0 12.1 12.2 12.3 Tamagawa, Masami (2016-03-14). "Same-Sex Marriage in Japan". Journal of GLBT Family Studies. 12 (2): 160–187. doi:10.1080/1550428X.2015.1016252. ISSN 1550-428X. S2CID 146655189.
- ↑ Hongo, Jun (2015-03-31). "Tokyo's Shibuya Ward Passes Same-Sex Partner Bill". WSJ (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2018-03-26.
- ↑ "Japan Court Finds Same-Sex Marriage Ban Unconstitutional". BBC News. March 17, 2021. สืบค้นเมื่อ April 2, 2021.
- ↑ The Associated Press (20 June 2022). "Japan court says ban on same-sex marriage is constitutional". NPR (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 25 June 2022.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- "Queer Japan," special issue of Intersections: Gender, History and Culture in the Asian Context
- "Enduring Voices: Fushimi Noriaki and Kakefuda Hiroko's Continuing Relevance to Japanese Lesbian and Gay Studies and Activism," by Katsuhiko Suganuma
- "Telling Her Story: Narrating a Japanese Lesbian Community," by James Welker
- "Japan (GAYCATION Episode 1)." Viceland. February 24, 2016.
- Bibliography of Gay and Lesbian History
- Resource and Support group for LGBT foreigners in Japan "Stonewall AJET"