ข้ามไปเนื้อหา

ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้
ประเทศไทย
ภูมิภาคภาคใต้
จังหวัด
การปกครอง
 • ประเภทเขตเศรษฐกิจพิเศษ
พื้นที่
 • ทั้งหมด32,141 ตร.กม. (12,410 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2019)[1]
 • ทั้งหมด3,334,611 คน
เขตเวลาUTC+7 (ICT)

ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (อังกฤษ: Southern Economic Corridor) เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษที่ตั้งอยู่บริเวณตอนบนของภาคใต้ของประเทศไทย ครอบคลุม 4 จังหวัด ได้แก่ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช[2] ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้เป็นส่วนหนึ่งของแผนใหญ่ในการเชื่อมโยงทะเลอันดามันและอ่าวไทยทางบก อากาศ และน้ำ โดยเชื่อมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้เข้ากับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) โครงการมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนในภาคใต้ของประเทศไทย โดยมุ่งเน้นไปที่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและการเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านรวมถึงประเทศสมาชิกบิมสเทค[3][4][5][6]

ประวัติ

[แก้]

ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (SEC) ได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีไทยเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2561 เพื่อเป็นโครงการที่มุ่งเชื่อมโยงระบบคมนาคมขนส่งระหว่างอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ส่งผลให้เกิดการเชื่อมต่อด้านคมนาคมและการสื่อสารที่สมบูรณ์แบบ[7][8] ช่วยเพิ่มศักยภาพในการรองรับปริมาณการขนส่งสินค้าจาก "เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)" เพื่อส่งออก-นำเข้าสินค้าไปยัง/จากประเทศในกลุ่ม "บิมสเทค" ตลอดจนตะวันออกกลางและยุโรปได้โดยตรง[9][10][11][3]

โครงสร้างพื้นฐาน

[แก้]

โครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้รวมถึงโครงการสะพานเศรษฐกิจเชื่อมทะเลอ่าวไทย-อันดามัน หรือแลนด์บริดจ์ มีเป้าหมายหลักในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งให้เชื่อมต่ออ่าวไทยและทะเลอันดามันอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังมุ่งเน้นการพัฒนาเมืองให้เป็นเมืองสีเขียว เมืองที่มีวัฒนธรรม เมืองอัจฉริยะ และเมืองที่น่าอยู่ รวมถึงยังขยายและปรับปรุงสนามบินสำคัญในภูมิภาค เช่นท่าอากาศยานนานาชาตินครศรีธรรมราช ท่าอากาศยานระนอง และท่าอากาศยานนานาชาติสุราษฎร์ธานี

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Demography Population and Housing Branch". สำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-20. สืบค้นเมื่อ April 2, 2021.
  2. "Southern Economic Corridor 'still on track'". The Nation Thailand. September 25, 2020. สืบค้นเมื่อ April 2, 2021.
  3. 3.0 3.1 B200bn Southern Corridor plan gets nod, August 22, 2018
  4. "New regional zones approved by panel", Bangkok Post, May 6, 2022
  5. "Thailand's infrastructure outlook remains positive in 2021 despite COVID-19". PricewaterhouseCoopers. March 10, 2021. สืบค้นเมื่อ April 2, 2021.
  6. "Govt launches Bt4.47bn study for southern land bridge". The Nation Thailand. March 5, 2021. สืบค้นเมื่อ April 2, 2021.
  7. Ranong Port to be Thailand's Gateway to South Asia, September 10, 2018
  8. Cabinet nods to Southern Economic Corridor project, August 21, 2018
  9. Govt to drive forward development of Southern Economic Corridor, September 25, 2020
  10. ปัดฝุ่นลงทุน SEC สานต่อการพัฒนาเศรษฐกิจภาคใต้, October 5, 2020
  11. "Bt106.8-bn budget allocated as Cabinet nods to SEC". The Nation Thailand. January 22, 2019. สืบค้นเมื่อ April 2, 2021.