ข้ามไปเนื้อหา

ระบบอาร์-เอส-ที

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ระบบ อาร์-เอส-ที)
เอสมิเตอร์ (เครื่องรับส่งสัญญาณเอชเอฟ ไอคอม ไอซี-732)

ระบบอาร์-เอส-ที (อังกฤษ: R-S-T system) ใช้กันในหมู่นักวิทยุสมัครเล่น, ผู้ฟังคลื่นสั้น และนักวิทยุอื่น ๆ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพของสัญญาณวิทยุที่ได้รับ รหัสเป็นตัวเลขสามหลัก โดยแต่ละหลักมีตัวเลขสำหรับการประเมินความชัดเจน ความแรง และความใสของเสียงของสัญญาณ[1][2] รหัสนี้ได้รับการพัฒนาในปี พ.ศ. 2477 โดยนักวิทยุสมัครเล่น อาเธอร์ ดับเบิลยู. บราเทน สัญญาณเรียกขาน W2BSR[3][4][5][6] และคล้ายกับรหัสที่ประมวลผลในข้อบังคับวิทยุของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ไคโร พ.ศ. 2481[7]

ความชัดเจน

[แก้]

R ย่อมาจาก Readability หรือ ความชัดเจนในการรับฟังข้อความ[8] คือการประเมินเชิงคุณภาพว่าการถ่ายทอดข้อมูลที่ส่งระหว่างการส่งสัญญาณนั้นยากงานแค่ไหน ในการส่งสัญญาณโทรเลขรหัสมอร์ส ความชัดเจนหมายถึง ความง่ายหรือยาก ในการแยกแยะอักขระแต่ละตัวในข้อความที่ส่ง ในการส่งสัญญาณเสียง ความชัดเจนหมายถึง ความง่ายหรือยากในการเข้าใจคำพูดแต่ละคำอย่างถูกต้อง ความชัดเจนในการรับฟังจะแบ่งเป็นระดับ 1 ถึง 5[9]

  1. รับไม่ได้เลย
  2. ไม่ชัดเจน แยกแยะคำได้เป็นบางครั้ง
  3. ชัดเจน แต่รับข้อความได้ลำบา
  4. ชัดเจน รับข้อความได้ดี
  5. ชัดเจนดีมาก

ความแรง

[แก้]

S ย่อมาจาก Strength หรือ ความแรงของสัญญาณ คือการประเมินความแรงของสัญญาณที่ได้รับ ณ ตำแหน่งที่รับสัญญาณ แม้ว่าเครื่องวัดความแรงของสัญญาณที่แม่นยำจะสามารถกำหนดค่าเชิงปริมาณสำหรับความแรงของสัญญาณได้ แต่ในทางปฏิบัติ รหัสอาร์เอสทีส่วนนี้เป็นการประเมินเชิงคุณภาพ ซึ่งมักจะดูจากเอสมิเตอร์ (S meter) ของเครื่องรับวิทยุ ณ ตำแหน่งที่รับสัญญาณ ความแรงของสัญญาณจะแบ่งเป็นระดับ 1 ถึง 9[9]

  1. สัญญาณแทบจะไม่สามารถรับได้
  2. สัญญาณอ่อนมาก
  3. สัญญาณอ่อน
  4. สัญญาณรับได้
  5. สัญญาณค่อนข้างดี
  6. สัญญาณดี
  7. สัญญาณแรงปานกลาง
  8. สัญญาณแรง
  9. สัญญาณแรงมาก

สำหรับการประเมินเชิงปริมาณ เครื่องรับวิทยุแบบเอชเอฟที่มีคุณภาพสูงจะได้รับการปรับเทียบเพื่อให้ระดับ 9 บนเอสมิเตอร์จะสอดคล้องกับสัญญาณ 50 μV ที่ความต้านทานขั้วต่อมาตรฐานของสายอากาศ 50 โอห์ม[10] ความแตกต่างของค่าเอสมิเตอร์หนึ่งระดับควรสอดคล้องกับ 6 dB ที่มีความแรงของสัญญาณ (แรงดันไฟฟ้า 2x = กำลัง 4x) บนเครื่องรับวีเอชเอฟและยูเอชเอฟที่ใช้สำหรับการสื่อสารด้วยสัญญาณอ่อน ระดับ 9 บนเอสมิเตอร์มักจะสอดคล้องกับ 5 μV ที่ขั้วต่อสายอากาศ 50 โอห์ม นักวิทยุสมัครเล่น (แฮม) อาจใช้ความแรงของสัญญาณ "20 ถึง 60 ต่อจากระดับ 9" หรือ "+20 ถึง +60 ต่อจากระดับ 9" ข้อมูลนี้มักใช้รายงานสัญญาณที่เกินกว่าระดับ 9 บนมิเตอร์สัญญาณบนเครื่องรับเอชเอฟ

ความใสของเสียง

[แก้]

T ย่อมาจาก Tone หรือ ความใสของเสียงสัญญาณ แบ่งเป็นระดับ 1 ถึง 9 ความใสของเสียงเกี่ยวข้องกับรหัสมอร์สและโหมดการส่งสัญญาณดิจิทัลอื่น ๆ เท่านั้น ดังนั้นจึงไม่มีการใช้งานในการออกอากาศด้วยเสียง ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ความไม่สมบูรณ์ในคุณภาพของการปรับสัญญาณดิจิทัลของเครื่องส่งสัญญาณที่รุนแรงพอที่จะตรวจพบโดยหูของมนุษย์ทำได้ยาก[9]

ค่า ความหมาย
1 60 Hz (หรือ 50 Hz) ความถี่ AC หรือน้อยกว่า หยาบมากและแรง
2 ความถี่ AC หยาบ ระคายหูมาก
3 ความถี่ AC หยาบพอได้ยิน เข้าที่เข้าทางแต่ไม่ถูกกรองออก
4 หยาบอยู่ แต่มีการกรองพอฟังรู้เรื่อง
5 เข้าที่ พอกรองได้บ้าง แต่ยังเกิดการกล้ำสัญญาณอยู่
6 เสียงถูกกรอง การกล้ำสัญญาณยังพอมีอยู่บ้าง
7 เสียงเกือบสะอาด การกล้ำสัญญาณบางเบาลง
8 เสียงเกือบสมบูรณ์ มีการกล้ำสัญญาณน้อยมาก
9 เสียงสมบูรณ์ ไม่มีการกล้ำสัญญาณแทรกเข้ามาเลย
หากมีคุณสมบัติด้านความใสของเสียงที่โดดเด่นอื่นๆ ให้เพิ่มตัวอักษร A–X อย่างน้อยหนึ่งตัวตามรายการด้านล่างหลังตัวเลข

ในอดีต คำต่อท้ายถูกเพิ่มเพื่อระบุคุณสมบัติของสัญญาณอื่น ๆ และอาจส่งเป็น 599K เพื่อระบุสัญญาณที่ชัดเจนและแรง แต่มีการคลิกคีย์ที่น่ารำคาญ

รหัสต่อท้าย ความหมาย
A สัญญาณถูกบิดเบือนจากการแพร่กระจายของแสงออโรร่า[11]
C ความถี่กระชากขึ้นลง (การเปลี่ยนความถี่เมื่อกดคีย์) (chirp)
K คลิกคีย์ (key click)
M สัญญาณบิดเบี้ยวโดยการแพร่กระจายแบบหลายเส้นทาง (multipath propagation)
S สัญญาณบิดเบี้ยวโดยการแพร่กระจายแบบกระจาย (scatter propagation)
X ความถี่คงที่ (การควบคุมคริสตัลความถี่)

รูปแบบต่างๆ

[แก้]

ตัวอย่างการรายงานแบบอาร์เอสทีสำหรับการส่งสัญญาณเสียงคือ "59" ซึ่งปกติจะออกเสียงว่า "ห้าเก้า" หรือ "ห้าโดยเก้า" ซึ่งเป็นรายงานที่ระบุสัญญาณที่ชัดเจนและแรงมาก สัญญาณที่แรงเป็นพิเศษถูกกำหนดโดยจำนวนเดซิเบล (dB) เชิงปริมาณซึ่งเกินกว่า "เอสมิเตอร์ระดับ 9" ซึ่งแสดงบนมิเตอร์ S ของเครื่องรับ ตัวอย่าง: "สัญญาณของคุณคือ 30 dB มากกว่า เอสมิเตอร์ 9" หรือพูดง่ายๆ ก็คือ "สัญญาณของคุณคือ 30 มากกว่า 9" โดยในประเทศไทยมักใช้การรายงานในรูปแบบ 59+30 dB (อ่านว่า ห้าเก้า บวกสามสิบดีบี)[12]

เนื่องจากอักขระ N ในรหัสมอร์สต้องใช้เวลาในการส่งน้อยกว่าเลข 9 ในระหว่างการแข่งขันวิทยุสมัครเล่นซึ่งสถานีวิทยุสมัครเล่นที่แข่งขันกันล้วนใช้รหัสมอร์ส ดังนั้นเลขเก้าใน RST มักจะย่อเป็น N เพื่ออ่านว่า 5NN[13] โดยทั่วไป แนวทางปฏิบัตินี้เรียกว่าตัวเลขแบบย่อหรือแบบ "ตัด"[14][15][16]

ระบบอาร์เอสคิว (RSQ system) ยังได้รับการเสนอให้มีการใช้งานสำหรับโหมดดิจิทัลเพื่อเป็นทางเลือกแทนระบบอาร์เอสที โดย Q แทนที่ "Tone" ด้วย "Quality" ในระดับ 1-9 ที่คล้ายกันซึ่งบ่งชี้ว่ามีหรือจำนวนของ 'คู่แถบด้านข้าง' ที่ไม่ต้องการในโหมดดิจิทัลย่านความถี่แคบ

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Quick Reference Operating Aids (The RST System)".
  2. "Ham Radio "RST" Signal Reporting System for CW/Phone Operation". University of Buffalo. สืบค้นเมื่อ 24 September 2017.
  3. "The Radio Amateur's Handbook" (PDF). p. 363. สืบค้นเมื่อ 4 July 2015.
  4. "The RST Standard of Reporting". สืบค้นเมื่อ 4 July 2015.
  5. Andrea, Steve. "Can You Read Me Now?" (PDF). ARRL. สืบค้นเมื่อ 4 July 2015.
  6. Arthur M. Braaten, W2BSR. "A New Standard System of Reporting Signals" (PDF). ARRL. p. 18. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-07-05. สืบค้นเมื่อ 4 July 2015.
  7. Alcorn, John (October 2002). "Radiotelegraph and Radiotelephone Codes, Prowords and Abbreviations for the Summerland Amateur Radio Club" (PDF). สืบค้นเมื่อ February 5, 2020.
  8. "การรายงานสัญญาณด้วยระบบ RST สำหรับนักวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2012-11-14.
  9. 9.0 9.1 9.2 The beginner's handbook of amateur radio by Clay Laster, Page 379, McGraw-Hill Professional, 2000, ISBN 0-07-136187-1, ISBN 978-0-07-136187-3
  10. "S9 Signal reference".
  11. VHF Managers' Handbook. Region 1. International Amateur Radio Union. 2013.
  12. "การรายงานสัญญาณด้วยระบบ RST สำหรับนักวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2012-11-14.
  13. http://www.radioing.com/hamstart/rst.html Ham Radio RST Signal Reporting System for CW Operation, by Charlie Bautsch, W5AM
  14. "CW". QSL.net.
  15. http://ac6v.com/morseaids.php#AB MORSE CODE, INTERNATIONAL EXTENSIONS AND ABBREVIATED NUMBERS
  16. "Codes and Alphabets". amateur-radio-wiki.net. 28 March 2020. bottom of § RST code.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]