ระบบอาร์-เอส-ที
ระบบอาร์-เอส-ที (อังกฤษ: R-S-T system) ใช้กันในหมู่นักวิทยุสมัครเล่น, ผู้ฟังคลื่นสั้น และนักวิทยุอื่น ๆ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพของสัญญาณวิทยุที่ได้รับ รหัสเป็นตัวเลขสามหลัก โดยแต่ละหลักมีตัวเลขสำหรับการประเมินความชัดเจน ความแรง และความใสของเสียงของสัญญาณ[1][2] รหัสนี้ได้รับการพัฒนาในปี พ.ศ. 2477 โดยนักวิทยุสมัครเล่น อาเธอร์ ดับเบิลยู. บราเทน สัญญาณเรียกขาน W2BSR[3][4][5][6] และคล้ายกับรหัสที่ประมวลผลในข้อบังคับวิทยุของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ไคโร พ.ศ. 2481[7]
ความชัดเจน
[แก้]R ย่อมาจาก Readability หรือ ความชัดเจนในการรับฟังข้อความ[8] คือการประเมินเชิงคุณภาพว่าการถ่ายทอดข้อมูลที่ส่งระหว่างการส่งสัญญาณนั้นยากงานแค่ไหน ในการส่งสัญญาณโทรเลขรหัสมอร์ส ความชัดเจนหมายถึง ความง่ายหรือยาก ในการแยกแยะอักขระแต่ละตัวในข้อความที่ส่ง ในการส่งสัญญาณเสียง ความชัดเจนหมายถึง ความง่ายหรือยากในการเข้าใจคำพูดแต่ละคำอย่างถูกต้อง ความชัดเจนในการรับฟังจะแบ่งเป็นระดับ 1 ถึง 5[9]
- รับไม่ได้เลย
- ไม่ชัดเจน แยกแยะคำได้เป็นบางครั้ง
- ชัดเจน แต่รับข้อความได้ลำบา
- ชัดเจน รับข้อความได้ดี
- ชัดเจนดีมาก
ความแรง
[แก้]S ย่อมาจาก Strength หรือ ความแรงของสัญญาณ คือการประเมินความแรงของสัญญาณที่ได้รับ ณ ตำแหน่งที่รับสัญญาณ แม้ว่าเครื่องวัดความแรงของสัญญาณที่แม่นยำจะสามารถกำหนดค่าเชิงปริมาณสำหรับความแรงของสัญญาณได้ แต่ในทางปฏิบัติ รหัสอาร์เอสทีส่วนนี้เป็นการประเมินเชิงคุณภาพ ซึ่งมักจะดูจากเอสมิเตอร์ (S meter) ของเครื่องรับวิทยุ ณ ตำแหน่งที่รับสัญญาณ ความแรงของสัญญาณจะแบ่งเป็นระดับ 1 ถึง 9[9]
- สัญญาณแทบจะไม่สามารถรับได้
- สัญญาณอ่อนมาก
- สัญญาณอ่อน
- สัญญาณรับได้
- สัญญาณค่อนข้างดี
- สัญญาณดี
- สัญญาณแรงปานกลาง
- สัญญาณแรง
- สัญญาณแรงมาก
สำหรับการประเมินเชิงปริมาณ เครื่องรับวิทยุแบบเอชเอฟที่มีคุณภาพสูงจะได้รับการปรับเทียบเพื่อให้ระดับ 9 บนเอสมิเตอร์จะสอดคล้องกับสัญญาณ 50 μV ที่ความต้านทานขั้วต่อมาตรฐานของสายอากาศ 50 โอห์ม[10] ความแตกต่างของค่าเอสมิเตอร์หนึ่งระดับควรสอดคล้องกับ 6 dB ที่มีความแรงของสัญญาณ (แรงดันไฟฟ้า 2x = กำลัง 4x) บนเครื่องรับวีเอชเอฟและยูเอชเอฟที่ใช้สำหรับการสื่อสารด้วยสัญญาณอ่อน ระดับ 9 บนเอสมิเตอร์มักจะสอดคล้องกับ 5 μV ที่ขั้วต่อสายอากาศ 50 โอห์ม นักวิทยุสมัครเล่น (แฮม) อาจใช้ความแรงของสัญญาณ "20 ถึง 60 ต่อจากระดับ 9" หรือ "+20 ถึง +60 ต่อจากระดับ 9" ข้อมูลนี้มักใช้รายงานสัญญาณที่เกินกว่าระดับ 9 บนมิเตอร์สัญญาณบนเครื่องรับเอชเอฟ
ความใสของเสียง
[แก้]T ย่อมาจาก Tone หรือ ความใสของเสียงสัญญาณ แบ่งเป็นระดับ 1 ถึง 9 ความใสของเสียงเกี่ยวข้องกับรหัสมอร์สและโหมดการส่งสัญญาณดิจิทัลอื่น ๆ เท่านั้น ดังนั้นจึงไม่มีการใช้งานในการออกอากาศด้วยเสียง ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ความไม่สมบูรณ์ในคุณภาพของการปรับสัญญาณดิจิทัลของเครื่องส่งสัญญาณที่รุนแรงพอที่จะตรวจพบโดยหูของมนุษย์ทำได้ยาก[9]
ค่า | ความหมาย |
---|---|
1 | 60 Hz (หรือ 50 Hz) ความถี่ AC หรือน้อยกว่า หยาบมากและแรง |
2 | ความถี่ AC หยาบ ระคายหูมาก |
3 | ความถี่ AC หยาบพอได้ยิน เข้าที่เข้าทางแต่ไม่ถูกกรองออก |
4 | หยาบอยู่ แต่มีการกรองพอฟังรู้เรื่อง |
5 | เข้าที่ พอกรองได้บ้าง แต่ยังเกิดการกล้ำสัญญาณอยู่ |
6 | เสียงถูกกรอง การกล้ำสัญญาณยังพอมีอยู่บ้าง |
7 | เสียงเกือบสะอาด การกล้ำสัญญาณบางเบาลง |
8 | เสียงเกือบสมบูรณ์ มีการกล้ำสัญญาณน้อยมาก |
9 | เสียงสมบูรณ์ ไม่มีการกล้ำสัญญาณแทรกเข้ามาเลย |
หากมีคุณสมบัติด้านความใสของเสียงที่โดดเด่นอื่นๆ ให้เพิ่มตัวอักษร A–X อย่างน้อยหนึ่งตัวตามรายการด้านล่างหลังตัวเลข |
ในอดีต คำต่อท้ายถูกเพิ่มเพื่อระบุคุณสมบัติของสัญญาณอื่น ๆ และอาจส่งเป็น 599K เพื่อระบุสัญญาณที่ชัดเจนและแรง แต่มีการคลิกคีย์ที่น่ารำคาญ
รหัสต่อท้าย | ความหมาย |
---|---|
A | สัญญาณถูกบิดเบือนจากการแพร่กระจายของแสงออโรร่า[11] |
C | ความถี่กระชากขึ้นลง (การเปลี่ยนความถี่เมื่อกดคีย์) (chirp) |
K | คลิกคีย์ (key click) |
M | สัญญาณบิดเบี้ยวโดยการแพร่กระจายแบบหลายเส้นทาง (multipath propagation) |
S | สัญญาณบิดเบี้ยวโดยการแพร่กระจายแบบกระจาย (scatter propagation) |
X | ความถี่คงที่ (การควบคุมคริสตัลความถี่) |
รูปแบบต่างๆ
[แก้]ตัวอย่างการรายงานแบบอาร์เอสทีสำหรับการส่งสัญญาณเสียงคือ "59" ซึ่งปกติจะออกเสียงว่า "ห้าเก้า" หรือ "ห้าโดยเก้า" ซึ่งเป็นรายงานที่ระบุสัญญาณที่ชัดเจนและแรงมาก สัญญาณที่แรงเป็นพิเศษถูกกำหนดโดยจำนวนเดซิเบล (dB) เชิงปริมาณซึ่งเกินกว่า "เอสมิเตอร์ระดับ 9" ซึ่งแสดงบนมิเตอร์ S ของเครื่องรับ ตัวอย่าง: "สัญญาณของคุณคือ 30 dB มากกว่า เอสมิเตอร์ 9" หรือพูดง่ายๆ ก็คือ "สัญญาณของคุณคือ 30 มากกว่า 9" โดยในประเทศไทยมักใช้การรายงานในรูปแบบ 59+30 dB (อ่านว่า ห้าเก้า บวกสามสิบดีบี)[12]
เนื่องจากอักขระ N ในรหัสมอร์สต้องใช้เวลาในการส่งน้อยกว่าเลข 9 ในระหว่างการแข่งขันวิทยุสมัครเล่นซึ่งสถานีวิทยุสมัครเล่นที่แข่งขันกันล้วนใช้รหัสมอร์ส ดังนั้นเลขเก้าใน RST มักจะย่อเป็น N เพื่ออ่านว่า 5NN[13] โดยทั่วไป แนวทางปฏิบัตินี้เรียกว่าตัวเลขแบบย่อหรือแบบ "ตัด"[14][15][16]
ระบบอาร์เอสคิว (RSQ system) ยังได้รับการเสนอให้มีการใช้งานสำหรับโหมดดิจิทัลเพื่อเป็นทางเลือกแทนระบบอาร์เอสที โดย Q แทนที่ "Tone" ด้วย "Quality" ในระดับ 1-9 ที่คล้ายกันซึ่งบ่งชี้ว่ามีหรือจำนวนของ 'คู่แถบด้านข้าง' ที่ไม่ต้องการในโหมดดิจิทัลย่านความถี่แคบ
ดูเพิ่ม
[แก้]- การตรวจสอบสัญญาณวิทยุด้วยภาษาธรรมดา
- รหัสซินโป (SINPO)
- รายงานความแรงของสัญญาณและความชัดเจน
- บัตรยืนยันการติดต่อ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Quick Reference Operating Aids (The RST System)".
- ↑ "Ham Radio "RST" Signal Reporting System for CW/Phone Operation". University of Buffalo. สืบค้นเมื่อ 24 September 2017.
- ↑ "The Radio Amateur's Handbook" (PDF). p. 363. สืบค้นเมื่อ 4 July 2015.
- ↑ "The RST Standard of Reporting". สืบค้นเมื่อ 4 July 2015.
- ↑ Andrea, Steve. "Can You Read Me Now?" (PDF). ARRL. สืบค้นเมื่อ 4 July 2015.
- ↑ Arthur M. Braaten, W2BSR. "A New Standard System of Reporting Signals" (PDF). ARRL. p. 18. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-07-05. สืบค้นเมื่อ 4 July 2015.
- ↑ Alcorn, John (October 2002). "Radiotelegraph and Radiotelephone Codes, Prowords and Abbreviations for the Summerland Amateur Radio Club" (PDF). สืบค้นเมื่อ February 5, 2020.
- ↑ "การรายงานสัญญาณด้วยระบบ RST สำหรับนักวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2012-11-14.
- ↑ 9.0 9.1 9.2 The beginner's handbook of amateur radio by Clay Laster, Page 379, McGraw-Hill Professional, 2000, ISBN 0-07-136187-1, ISBN 978-0-07-136187-3
- ↑ "S9 Signal reference".
- ↑ VHF Managers' Handbook. Region 1. International Amateur Radio Union. 2013.
- ↑ "การรายงานสัญญาณด้วยระบบ RST สำหรับนักวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2012-11-14.
- ↑ http://www.radioing.com/hamstart/rst.html Ham Radio RST Signal Reporting System for CW Operation, by Charlie Bautsch, W5AM
- ↑ "CW". QSL.net.
- ↑ http://ac6v.com/morseaids.php#AB MORSE CODE, INTERNATIONAL EXTENSIONS AND ABBREVIATED NUMBERS
- ↑ "Codes and Alphabets". amateur-radio-wiki.net. 28 March 2020. bottom of § RST code.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Ham Radio RST Signal Reporting System for CW Operation, by Charlie Bautsch, W5AM
- RSQ - An Improved Signal Reporting System for PSK