ระบบเวลาทำงาน 996
ระบบเวลาทำงาน 996 | |||||||
ภาษาจีน | 996工作制 | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
|
ระบบชั่วโมงทำงาน 996 (จีน: 996工作制, อังกฤษ: 996 working hour system) เป็นรูปแบบการจัดตารางงานที่ใช้ในบางบริษัทของประเทศจีน ชื่อของระบบมาจากการบังคับให้ลูกจ้างทำงานตั้งแต่เวลา 9:00 AM (เก้าโมงเช้า) ถึง 9:00 PM (สามทุ่ม) เป็นเวลา 6 วันต่อสัปดาห์ หรือคิดเป็นการทำงานรวม 72 ชั่วโมงต่อสัปดาห์[1][2][3][4][5] มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าระบบการทำงานแบบนี้เป็นการละเมิดกฎหมายแรงงานของจีน และเรียกระบบนี้ว่าเป็น "การใช้งานทาสยุคใหม่"[6][7] โดยระบบนี้ยิ่งมีความเด่นชัดเป็นพิเศษในบริษัทในสายงานไอทีและอินเทอร์เน็ต
วัฒนธรรมการทำงานล่วงเวลามีมาอย่างยาวนานในบรรดาบริษัทไอทีของจีน[8] ที่ซึ่งพุ่งเป้าไปที่การเพิ่มความเร็วในการทำงาน และการลดค่าใช้จ่าย[9] บริษัทจำนวนมากใช้นโยบายหลายแบบ เช่น จ่ายเงินคืนค่าแท็กซี่ให้กับพนักงานที่ทำงานล่วงเวลาในตอนกลางคืน เพื่อกระตุ้นให้พนักงานทำงานล่วงเวลากันมากขึ้น[10]
ระบบการทำงานที่ยาวนานนี้นำไปสู่โรคและปัญหาสุขภาพจิตมากมายในบรรดาแรงงานชาวจีน มีการประมาณการณ์ไว้ว่าพนักงานเงินเดือนเกิน 3 ใน 4 ที่ทำงานในเมืองใหญ่อย่างปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ และกว่างโจว เผชิญกับภาวะความเหนื่อยล้าจากการทำงาน การเจ็บปวดในระบบกล้ามเนื้อและกระดูก ปัญหาการนอนหลับ[11] ไปจนถึงปัญหาการกิน ความเครียดจากงาน และปัญหาความไม่สมดุลระหว่างชีวิตการทำงานกับชีวิตครอบครัว[12] ข้อมูลจากสื่อ People's Daily ซึ่งควบคุมโดยรัฐบาลจีน ระบุว่าผลการสำรวจในปี 2013 แสดงให้เห็นว่าแรงงานในอุตสาหกรรมไอทีของจีนถึง 98.8% ระบุว่าตนมีปัญหาทางสุขภาพ[13][14] มีรายงานการเสียชีวิตจากการทำงานและการฆ่าตัวตาย มาตลอดหลายสิบปีที่มีการนำระบบ 996 นี้ และระบบการทำงานล่วงเวลาอื่น ๆ มาใช้ในจีน[15][16]
ระบบการทำงานแบบ 996 ชั่วโมงนั้นถูกตราว่าผิดต่อกฎหมายโดยศาลสูงของจีนตั้งแต่ 27 สิงหาคม ค.ศ. 2021[17] อย่างไรก็ตาม เป็นที่กังขาอยู่ว่าข้อกฎหมายนี้จะถูกนำมาบังคับใช้อย่างจริงจังหรือไม่[18][19]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Denise Hruby (2018-05-08). "Young Chinese are sick of working long hours". BBC (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-02. สืบค้นเมื่อ 2019-04-02.
- ↑ Zhao, Ang (2018-06-03). "不接受"996"是不能吃苦?媒体:合法权益应获保障" [Do not accept "996" is not able to work hard? Media: Legal rights should be protected]. Xinhuanet (ภาษาจีนตัวย่อ). Workers' Daily. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-31. สืบค้นเมื่อ 2019-03-30.
- ↑ Sarah Dai; Li Tao (2019-01-29). "China's work ethic stretches beyond '996' as tech companies feel the impact of slowdown". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-31. สืบค้นเมื่อ 2019-03-31.
- ↑ Li Yuan (2017-02-22). "China's Grueling Formula for Success: 9-9-6". The Wall Street Journal (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-31. สืบค้นเมื่อ 2019-03-31.
- ↑ Zheping Huang (2019-03-20). "No sleep, no sex, no life: tech workers in China's Silicon Valley face burnout before they reach 30". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-05. สืบค้นเมื่อ 2019-04-05.
- ↑ Wang, Jenny Jing (2020). "How managers use culture and controls to impose a '996' work regime in China that constitutes modern slavery". Accounting & Finance (ภาษาอังกฤษ). 60 (4): 4331–4359. doi:10.1111/acfi.12682. ISSN 1467-629X. S2CID 225463581.
- ↑ Lu, Ying-Ying (2019-04-13). "Ep. 42: To 996, or Not to 996, That Is the Question". Pandaily (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-29. สืบค้นเมื่อ 2019-04-29.
- ↑ Wang, Pinzhi (2018-03-30). "50.7%受访者称所在企业有"加班文化"" [50.7% of respondents said their companies have an "overtime culture"]. Xinhuanet (ภาษาจีนตัวย่อ). China Youth Daily. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-31. สืบค้นเมื่อ 2019-03-31.
- ↑ Justin Bergman (2016-08-26). "Inside the high-pressure world of China's start-up workers". BBC (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-31. สืบค้นเมื่อ 2019-03-31.
- ↑ Liu, Jia, บ.ก. (2019-01-31). "默认996工作制背后:被撕掉的焦虑遮羞布" [Behind the default 996 work system: the shame of being torn off anxiety]. 第一财经 [Yicai] (ภาษาจีนตัวย่อ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-31. สืบค้นเมื่อ 2019-03-31.
- ↑ Liang, Lu-Hai (21 January 2021). "The psychology behind 'revenge bedtime procrastination'". BBC. สืบค้นเมื่อ 19 May 2022.
- ↑ Tsui, Audrey H.H. (27 June 2008). "Asian wellness in decline: a cost of rising prosperity". International Journal of Workplace Health Management. 1 (2): 123–135. doi:10.1108/17538350810893919. ISSN 1753-8351. สืบค้นเมื่อ 29 May 2022.
- ↑ Monet, Charmika (26 March 2014). "Working to Death in China". The Diplomat. สืบค้นเมื่อ 29 May 2022.
- ↑ "英报:过劳死提醒中国人"懒散些"" [British newspaper: overwork death reminds Chinese people to "be lazy"]. People's Daily. Xinhua News Agency. 6 April 2011. สืบค้นเมื่อ 29 May 2022.
信息技术(IT)从业人员似乎尤其脆弱:近日一项覆盖35万IT从业者的调查显示,98.8%的受访者表示自己有健康问题。
[Information technology (IT) workers appear to be particularly vulnerable: a recent survey covering 350,000 IT workers showed that 98.8% of respondents said they had health problems.] - ↑ "Death from Overwork in China". China Labour Bulletin (ภาษาอังกฤษ). 11 August 2006. สืบค้นเมื่อ 19 May 2022.
- ↑ Tan, JS (2022). "Tech Workers Lie Flat". Dissent. สืบค้นเมื่อ 19 May 2022.
- ↑ "China Spells Out How Excessive 996 Work Culture is Illegal". Bloomberg.com (ภาษาอังกฤษ). 27 August 2021.
- ↑ Meng, Siyuan (15 November 2021). "China's burned-out tech workers are fighting back against long hours". MIT Technology Review. สืบค้นเมื่อ 21 June 2022.
But even though authorities and state media seem to be taking a tougher stand, it is unclear when or if the rules that make 996 illegal will be fully enforced.
- ↑ Liu, Hong Yu (24 January 2022). "The role of the state in influencing work conditions in China's internet industry: Policy, evidence, and implications for industrial relations". Journal of Industrial Relations: 12. doi:10.1177/00221856211068488. ISSN 0022-1856.
The contradictory rulings by the district courts in these cases, one for the employee and two against, suggest that the legislative framework in China is not in a position that can stand firmly to defend workers against the inhumane and unlawful working hours. Wang and Cooke (2021) found a similar level of arbitrariness in court rulings in labour disputes between Chinese platforms and their workers.