ข้ามไปเนื้อหา

ระดับขั้นในสถาบันศาสนา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ระดับขั้นทางศาสนาที่ใช้เรียกกันในสถาบันศาสนานั้นสามารถแบ่งออกเป็นสองส่วน ได้แก่ ระดับขั้นที่เป็นทางการ ( ระดับชั้นที่หนึ่ง ระดับชั้นที่สอง ระดับชั้นที่สาม และระดับชั้นที่สี่) และระดับขั้นที่ไม่เป็นทางการ ซึ่งระดับดับขั้นที่เป็นทางการนั้นแบ่งตามพื้นฐานทางด้านนิติศาสตร์ (ฟิกฮ์) และศาสตร์ด้านอุซูล ส่วนระดับขั้นที่ไม่เป็นทางการนั้นไม่มีการระบุไว้เป็นที่ชัดเจน แต่สามารถแบ่งได้ว่า ( ษิเกาะตุลอิสลาม , ฮุจญะตุลอิสลาม, อายาตุลลอฮ์ และอายาตุลลอฮ์อัลอุซมา)

ระดับขั้นที่เป็นทางการ

[แก้]

ระดับเบื้องต้น

[แก้]

ระดับหนึ่ง

[แก้]

ระดับหนึ่งของสถาบันศาสนามีทั้งหมด 6 หลักสูตรขั้นพื้นฐาน ซึ่งก็แตกต่างกันไปตามแต่ละเมืองและสถานศึกษานั้นๆ  แต่หลักสูตรการศึกษาล่าสุดของสถาบันศาสนานั้นอยู่ภายใต้หลักสูตรของสถาบันศาสนาแห่งเมืองกุม และสถานศึกษาศาสนาแห่งเมืองโครอซานจะใช้เวลาเรียนหลักสูตรระดับชั้นที่หนึ่ง 4 ปี

โดยทั่วไปแล้วสามปีแรกจะเรียนไวยากรณ์ภาษาอาหรับและจะเรียนนิติศาสตร์ขั้นพื้นฐานอีกประมาณสองปี

นักเรียนศาสนาแห่งสถาบันศาสนาที่จบการศึกษาระดับหนึ่งจะได้รับปริญญาบัตรเทียบเท่าระดับอนุปริญญาของมหาวิทยาลัยที่ออกโดยศูนย์การศึกษาศาสนาแห่งเมืองกุม

ทั่วไปแล้วจะใช้เวลาหกปีกว่าจะจบระดับชั้นที่หนึ่ง นอกจากจะต้องเรียนไวยากรณ์ภาษาอาหรับ (ซอรอฟ นะห์วุ มะอานี บะยาน บะเดี้ยะอ์ โลเฆาะฮ์ และตัจญ์วีด) ไวยากรณ์ภาษาเปอร์เซีย บทเรียนเกี่ยวกับตรรกวิทยา ปรัชญา และเทววิทยาแล้ว ก็ต้องเรียน นิติศาสตร์อิสลาม อุซูลุลฟิกฮ์ ประวัติศาสตร์ กุรอานวิทยา ฮะดีษวิทยาและอรรถาธิบายอัลกุรอาน (ตัฟซีร)  เรียนนิติศาสตร์อิสลามโดยใช้หนังสือ อัรเราเฎาะฮ์ อัลบะฮียะฮ์ ฟี ชัรฮิลลุมอะฮ์ อัดดิมิชกียะฮ์ (ชัรห์ลุมอะฮ์)  อุซูลุลฟิกฮ์ของมัรฮูมมุซอฟฟัร ซึ่งทั้งสองถือเป็นหนังสือที่สำคัญที่สุดในระดับนี้

และเรียกระดับหนึ่งว่าระดับเบื้องต้นด้วยเช่นกัน

طلاب سطح مقدماتی در یک مدرسه علمیه در قم
นักเรียนศาสนาระดับเบื้องต้นในโรงเรียนแห่งหนึ่งของเมืองกุม

ระดับชั้นสูง

[แก้]

ระดับสอง

[แก้]

นักเรียนศาสนาที่จบระดับสองนี้จะได้รับปริญาบัตรเทียบเท่าปริญญาตรี ของมหาวิทยาลัย ซึ่งออกให้โดยศูนย์ศาสนาแห่งเมืองกุม โดยสามารถใช้วุฒิการศึกษานี้เข้าสอบระดับปริญญาโทในมหาวิทยาลัยต่างๆได้ในคณะมนุษย์ศาสตร์ทุกสาขา และศึกษาต่อได้หากสามารถสอบเข้าได้

ระดับสองนี้ก็จะเรียนอุซูลุลฟิกฮ์ นิติศาสตร์อิสลาม ปรัชญา ที่ลงรายละเอียดเป็นการเฉพาะ นอกจากนั้นก็จะเรียนวิชาริญาล และตัฟซีร ด้วย

ในระดับชั้นที่สองนี้จะใช้เวลาเรียนสองปี

ระดับสาม

[แก้]

นักเรียนศาสนาที่จบระดับสองนี้จะได้รับปริญาบัตรเทียบเท่าปริญญาโท ของมหาวิทยาลัย ซึ่งออกให้โดยศูนย์ศาสนาแห่งเมืองกุม โดยสามารถใช้วุฒิการศึกษานี้เข้าสอบระดับด็อกเตอร์ในมหาวิทยาลัยต่างๆได้ในคณะมนุษย์ศาสตร์ทุกสาขา และศึกษาต่อได้หากสามารถสอบเข้าได้ และฝ่ายการศึกษาของมหาวิทยาลัยจะพิจารณาบทเรียนพื้นฐานระดับด็อกเตอร์ตามหน่วยกิจที่เห็นควรซึ่งจะใช้เวลาเรียนอีกสองปีครึ่ง

ระยะเวลาในการเรียนระดับสามนอกเหนือจากการการเขียนวิทยานิพนธ์รวมแล้วทั้งหมดใช้เวลาหนึ่งปี 

นักเรียนศาสนาระดับสองและระดับสาม ส่วนมากแล้วจะเรียนวิชาฟิกฮ์ (หนังสือมะกาซิบของ มุรตะฎอ อันซอรี) อุซูลุลฟิกฮ์ (หนังสือ ฟะรออิดุลดุซูล ของท่านมุรตะฎอ อันซอรี และกิฟายะตุลอุซูล ของท่านออคุน โครอซอนี) จะเรียนกันตั้งแต่วันเสาร์ถึงวันพุธ โดยใช้เวลาเรียน 3-4 ชั่วโมงของแต่ละวัน ส่วนเวลาที่เหลือนั้นก็จะเรียนวิชา ปรัชญา เทววิทยา ริญาล ดิรอยะฮ์ (มุศฏอละฮุลฮะดีษ) ตัฟซีรกุรอาน ประวัติศาสตร์อิสลาม และจริยธรรม บ้างก็คิดว่านักเรียนศาสนาจะใช้เวลาเรียนวิชาคณิตศาสตร์ (โดยเฉพาะวิชาดาราศาสตร์ซึ่งก็คือเรขาคณิตเกี่ยวกับโลก ซึ่งเป็นวิชาฟิกฮ์ที่เกี่ยวข้องกับสามสาขาของวิชาคณิตศาสตร์ ได้แก่ ฮัยอัต การคำนวณ เรขาคณิตและดนตรี) แพทยศาสตร์ (อาชีวเวชศาสตร์ก็เป็นแพทย์แผนเดียวกับอิสลามในแง่ของรากฐานและพื้นฐาน) และวิชาอิรฟาน ซึ่งเมื่อดูหลักสูตรของสถาบันการศึกษาแล้วก็จะรู้ว่าวิชาการเหล่านี้เป็นวิชานอกหลักสูตร ซึ่งสามารถหาเรียนได้ตามศูนย์การศึกษาเฉพาะด้าน ซึ่งก็ส่งผลต่อดีกรีการศึกษาของนักเรียนศาสนาในการศึกษาต่อระดับที่สูงขึ้น

โดยรวมแล้วจะเรียกระดับสองและระดับสามว่า ระดับสูง  ซึ่งเมื่อจบแล้วนักเรียนศาสนาจะเข้าสอบอัตนัยจบระดับการศึกษาโดยจะไม่มีการสอบใดๆอีก ทว่านักเรียนศาสนาจะเข้าศึกษาระดับคอริจ ตามความสามารถจนถึงระดับขั้นของการอิจติฮาด (ระดับวินิจฉัยหลักปฏิบัติศาสนกิจ)

ระดับสี่

[แก้]

หลังจากนักเรียนศาสนาผ่านการสอบจนจบระดับสูงแล้วก็จะเข้าร่วมเรียนระดับคอริจอีกค้นคว้าวิจัยเพิ่มเติมอีกทั้งเรียนวิธีการอิจติฮาดและการวินิจฉัยหลักปฏิบัติศาสนกิจ

นักเรียนศาสนาที่ได้รับปริญญาบัตรที่ทางศูนย์บริหารกิจการสถาบันศาสนาแห่งเมืองกุมแล้วก็จะเข้าสู่ระดับสี่ตามหลักสูตรวิชาการแล้วเทียบเท่าการศึกษาระดับดอกเตอร์ตามระบบของมหาวิทยาลัย[1]

การศึกษาในระดับนี้นักเรียนศาสนาจะไม่มีบทเรียนเฉพาะ และไม่มีการสอบนิตินัย แต่จะเข้าศึกษาระดับคอริจที่มีการสัมภาษณ์วิชาการ ซึ่งมีทั้งหมด (สี่หลักสูตร) เมื่อจบสี่หลักสูตรแล้วก็จะรับปริญญาบัติหลังจากผ่านสัมภาษณ์วิชาการ

นักเรียนศาสนาไม่ว่าจะกำลังเรียนในระดับสี่หรือหลังจากจบระดับสี่แล้ว ก็จะทำงานวิจัยและเข้าร่วมบทเรียนคอริจเพื่อเรียนรู้วิธีการวินิจฉัยหลักปฏิบัติศาสนกิจซึ่งถือเป็นการฝึกภาคปฏิบัติในการอิจติฮาดนั่นเอง  เป็นหลักสูตรหนึ่งที่นักเรียนศาสนาต้องเรียนควบคู่ไปกับการทำงานวิจัยและค้นคว้าวิธีการวินิจฉัยหลักปฏิบัติศาสนกิจ

บทเรียนคอริจ

[แก้]

บทเรียนคอริจ ถือเป็นบทเรียนระดับสูงสุดของระบบการเรียนศาสนา ซึ่งจะเรียกอีกอย่างว่า "บทเรียนนอกเหนือระดับ -คอริจ สัฏห์"  การเรียนจบระสี่ไม่ได้หมายความว่าเขาถึงขึ้นอิจติฮาดอย่างสมบูรณ์

طلبه های درس خارج در زیرزمین فیضیه قم
นักเรียนศาสนาระดับคอริจ ณ ห้องโถงในโรงเรียนฟัยซียะฮ์ เมืองกุม

ระดับขั้นที่ไม่เป็นทางการ

[แก้]

เนื่องจากในสถาบันศาสนามีผู้รู้ศาสนาที่ฐานะภาพสูงส่งทางด้านวิชาการและความประเสริฐด้านจริยธรรมในยุคของตน ก็จะมีตำแหน่งใช้เรียกพวกท่าน บ้างก็เรียกว่า อัลลามะฮ์ เชคุลอิสลาม ซึ่งในยุคซอฟะวีนั้นมีความหมายเกี่ยวข้องทางด้านการเมือง

ยุคปัจจุบัน ไม่นิยมใช้คำเรียกตำแหน่งบรรดาผู้รู้ด้านศาสนากันมากนัก นอกจากนั้นตำแหน่งเฉพาะที่เคยใช้เรียกกันในอดีตกลับเป็นคำที่ถูกนำมาใช้ทั่วไปที่เหมาะสมกับความรู้ อายุและฐานะภาพทางความรู้

เนื่องจากการใช้คำเรียกตำแหน่งนั้นบ่งชี้ถึงการให้เกียรติ บรรดาสานุศิษย์และบุคคลที่ชื่นชอบบรรดาผู้รู้เป็นพิเศษก็จะใช้คำเรียกตำแหน่งที่สูงกว่า ซึ่งก็เป็นไปได้ว่าอาจารย์ของผู้รู้ท่านนั้นจะใช้คำเรียกตำแหน่งที่มีระดับรองลงมาจากคำที่บรรดาสานุศิษย์ใช้เรียกกัน

โดยทั่วไปแล้วผู้คนในอิหร่านจะใช้ฉายานามต่างๆ เรียกบรรดานักการศาสนา เช่น ฮุจญะตุลอิสลาม  ฮุจญะตุลอิสลามวัลมุสลิมีน จะเรียกมุจตะฮิดว่า อายาตุลลอฮ์ และจะเรียกบรรดามัรเญี้ยะอ์ตักลีดว่า อายาตุลลอฮ์อัลอุซมา

ษิกอตุลอิสลาม

[แก้]

ส่วนใหญ่แล้วตำแหน่งนี้จะใช้เรียกนักเรียนศาสนาที่เพิ่งจะเข้าเรียนด้านศาสนา ทว่าปัจจุบันตำแหน่งนี้ไม่ถูกใช้กันแล้วในอิหร่าน

ความเป็นมา

ในอดีตประมาณ 1000 ปีก่อนจะใช้คำว่า ษิเกาะตุลอิสลาม เรียกผู้รู้ที่มีบุคลิกภาพทางด้านวิชาการ และนักรายงานฮะดีษที่น่าเชื่อถือ เช่น เชคกุลัยนี เชคซอดูก และถือเป็นคำที่มีเกียรติมาก  และในอดีตก็จะใช้คำว่า ออคูนด์ เรียกบรรดาผู้รู้ที่ยิ่งใหญ่ เช่น ออคูนด์ มุลลา บาเกร มัจบิซี หรือ ออคุนด์ มุลลา มุฮัมหมัด กาซิม โครอซานี[2]

ฮุจญะตุลอิสลาม

[แก้]

ปัจจุบันตำแหน่งนี้โดยเฉพาะในอิหร่านจะใช้เรียกนักเรียนศาสนาที่ใส่อะมาม่า (ผ้าสะระบั่น) และเป็นคำย่อของคำว่า ฮุจญะตุลอิสลามวัลมุสุลิมีน  บางคนเข้าใจว่าคำนี้ใช้เรียกนักเรียนศาสนาที่เรียนระดับบทเรียนคอริจ แต่จริงๆ แล้วคำนี้ใช้เรียกนักเรียนศาสนาที่อยู่ในระดับรองลงมาอีกด้วยเช่นกัน

นักนิติศาสตร์อิสลาม (ฟุกอฮา) บางท่านเชื่อว่าไม่มีประโยชน์อันใดที่จะค้นหาบรรทัดฐานของการใช้คำต่างๆ นี้ เช่น ฮุจญะตุลอิสลาม และษิกอตุลอิสลาม

ความเป็นมา

ในอดีตเคยใช้คำนี้เรียก อิมามมุฮัมหมัด ฆอซซาลี [3]ตามคำกล่าวของซัยยิด ฮุเซน นัศร์ และ ฮะมีด ดับบาชี ว่าฉายานามนี้น่าจะถูกนำมาใช้เรียก ซัยยิด มุฮัมหมัด บาเกร ชะฟะตี เป็นครั้งแรก  ต่อมาฉายานามนี้ก็ใช้เรียกนักการศาสนาที่มีชื่อเสียงจากเมืองกาชาน แต่หลังจากนั้นฉายานามนี้ก็ถูกลดระดับความน่าเชื่อถือลงอย่างมาก[4] สาเหตุที่ใช้ฉายานามนี้เรียก ชะฟะตี ก็เนื่องจากว่าท่านเป็นทั้งผู้พิพากษาและมุฟตี  มีผลงานทางวิชาการเกี่ยวกับกฎหมายอิสลามในยุคเร้นกาย[5] ตามคำกล่าวของท่านมุรตะฎอ อันซอรี ซึ่งเป็นลูกหลานของเชคมุรตะฎอ ว่า คำนี้เคยใช้เรียก ซัยยิดมุฮัมหมัด บาเกร ชะฟะตี และฮุจญะตุลอิสลาม อะสะดุลลอฮ์ บุรูญัรดี  แต่คำนี้ก็ค่อยถูกลดระดับในการใช้เรียกขานลงมาเรื่อยๆ[6][7]

อายะตุลลอฮ์

[แก้]

ตำแหน่งนี้จะใช้เรียกกลุ่มบุคคลเฉพาะที่ถึงระดับขั้นการวินิจฉัยหลักปฏิบัติศาสนกิจ (เป็นระดับสูงสุดของหลักสูตรการเรียนศาสนา) เป็นผู้ที่มีความสามารถในการออกคำวินิจฉัย มีทัศนะเกี่ยวกับหลักปฏิบัติศาสนกิจ อย่างไรก็ตามความอายุและความอาวุโสก็มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยเช่นกัน  เช่นหากมุจตะฮิดที่มีอายุน้อยและอยู่ในวัยหนุ่มก็จะเรียกว่า ฮุจญะตุลอิสลาม หรือ ฮุจญะตุลอิสลามวัลมุสลิมีน อีกด้านหนึ่งก็จะใช้เรียกบรรดผู้รู้ที่อาวุโสและมีความเชี่ยวชาญแต่ไม่ถึงระดับขั้นของมุจตะฮิดด้วยเช่นกัน

ความเป็นมา

[แก้]

ฉายานามนี้ถูกนำมาใช้ให้แก่อัลลามะฮ์ฮิลลี นักนิติศาสตร์อิสลาม (ฟะกีฮ์) ช่วง ฮ.ศ. ที่ 7 และก็เป็นคำที่ใช้เรียกท่านเท่านั้นกระทั่งศัตวรรษที่ 14  ยุคนี้ บางท่านก็ใช้ฉายานามสนี้สำหรับ ซัยยิด มุฮัมหมัดมะฮ์ดี บะห์รุลอุลูม จากนั้นต่อมาฉายานามอายาตุลลอฮ์ ก็ถูกนำมาใช้สำหรับนักนิติศาสตร์ (ฟุกอฮา) ท่านอื่น ๆ เช่น เชคมุรตะฎอ อันซอรี และ มีรซอ ชีรอซี เป็นต้น

บรรดานักประวัติศาสตร์ยังบันทึกไว้อีกว่านอกเหนือจากนี้แล้ว อายาตุลลอฮ์ ยังถูกนำมาใช้กับนักนิติศาสตร์บางท่าน เช่น ออคูนด์ โครอซอนี ต่อมาหลังจากการก่อตั้งสถาบันศาสาขึ้นที่เมืองกุม โดยท่าน เชคอับดุลกะรีม ฮาอิรี ยัซดี ก็จะใช้ฉายานามนี้เรียกบรรดาคณาจารย์ในสถาบันศาสนา[8]

อายะตุลลอฮ์ อัลอุซมา

[แก้]

ปัจจุบันคำนี้ใช้สำหรับมัรเญี้ยะอ์ตักลีด   ตำแหน่งนี้เริ่มขึ้นหลังจากยุคของซัยยิดฮุเซน ฏอบาฏอบาอีย์ บุรูญัรดี ก่อนหน้านี้จะเรียรกมัรเญี้ยะอ์ตักลีดว่า ฮุจญะตุลอิสลาม และฮุจญะตุลอิสลามวัลมุสลิมีน  เนื่องจากท่านซัยยิดฮุเซน ฏอบาฏอบาอีย์ บุรูญัรดีมีตำราวินิจฉัยนี้ซึ่งถือว่าเป็นตำราวินิจฉัยเล่มแรก จึงเรียกตำแหน่งนี้ให้แก่ท่าน  อายาตุลลอฮ์ อัลอุซมา เป็นตำแหน่งที่ใช้เรียกผู้ที่นอกจากจะวินิจฉัยหลักปฏิบัติศาสนกิจแล้วยังเป็นผู้ที่มีผู้ปฏิบัติตาม (มุก็อลลิด) เป็นจำนวนมากอีกด้วย ตามคำกล่าวของซัยยิด อับดุลกะรีม มูซะว่ี อิรดิบีลี กล่าวว่า ตำแหน่ง อายาตุลลอฮ์ ใช้เรียกผู้ทีนอกจากจะวินิจฉัยหลักปฏิบัติศาสนกิจแล้วยังเป็นผู้ที่มีความรู้สูงกว่าอีกด้วย และท่านมุบัชชิร กาชานี กล่าวว่า  หากเป็นมัรเญี้ยะอ์ตักลี หรือมีสถานภาพทางด้านนี้และเป็นมุจตะฮิดที่มีคุณสมบัติครบถ้วนก็จะเรียกว่า อายาตุลลอฮ์อัลอุซมา" ท่านฮุเซน มุซอฮิรี ประธานสถาบันศาสนาแห่งเมืองอิศฟาฮาน ถือว่า อายาตุลลอฮ์อัลอุซมา คือ ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในศาสตร์ด้านศาสนา ส่วนอายาตุลลอฮ์ คือ ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญรองลงมา

ลิงก์ต่างๆที่เกี่ยวข้อง

[แก้]

ท้ายกระดาษ

[แก้]

แม่แบบ:پانویس

  1. مصوبه شورای_عالی_انقلاب_فرهنگی جمهوری اسلامی ایران اول เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน دوم เก็บถาวร 2014-07-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  2. «حجت‌الاسلام کیست؟ آیت‌الله به چه کسی می‌گویند؟» ‎(فارسی)‎. خبرآنلاین. بازبینی‌شده در ۲۹ اردیبهشت ۱۳۹۳. {{cite web}}: Citation ว่างเปล่า (help)
  3. دائرةالمعارف بزرگ اسلامی ج۴ ص۲۳۷
  4. Seyyed Vali Reza Nasr, p.205-206.
  5. Ahmad Kazemi Moussavi, pp.279 - 299.
  6. «نظر مراجع تقلید دربارهٔ القاب علمی روحانیون» เก็บถาวร 2013-07-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ‎(فارسی)‎. شیعه‌آنلاین. بازبینی‌شده در ۲۱ تیر ۱۳۸۸. {{cite web}}: Citation ว่างเปล่า (help)
  7. «نظر مراجع تقلید دربارهٔ القاب علمی روحانیون» เก็บถาวร 2014-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ‎(فارسی)‎. نور پرتال. بازبینی‌شده در ۲۹ اردیبهشت ۱۳۹۳. {{cite web}}: Citation ว่างเปล่า (help)
  8. "معنی آیت‌الله و حجت‌الاسلام و المسلمین چیست؟ به چه کسانی اطلاق می‌شود؟". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-02-16. สืบค้นเมื่อ 2018-05-09.