ข้ามไปเนื้อหา

รอยโรคแบงคาร์ต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รอยโรคแบงคาร์ต
ภาพถ่ายทางรังสี แสดงรอยโรคกระดูกแบบแบงคาร์ตและรอยแตกสเตชันนารี (stationary fragment) ที่กลีนอยด์ตอนล่าง (inferior glenoid)

รอยโรคแบงคาร์ต (อังกฤษ: Bankart lesion) เป็นรูปแบบหนึ่งของการบาดเจ็บหัวไหล่ที่เกิดขึ้นสืบเนื่องจากไหล่หลุด[1] รอยโรคนี้เป็นการบาดเจ็บส่วนช่วงล่างของกลีนอยด์ลาบรัมของไหล่[2] เมื่อเกิดการบาดเจ็บนี้ขึ้น จะเกิดถุง (pocket) ทางด้านหน้าของกลีนอยด์ขึ้น ซึ่งทำให้ส่วนหัวของกระดูกฮิวเมอรัสสามารถเคลื่อนเข้าไปได้ รอยโรคนี้เป็นข้อบ่งชี้สำหรับการผ่าตัด และมักจะพบร่วมกับรอยโรคฮิลล์-แช็กส์ ซึ่งคือการบาดเจ็บที่ส่วนหัวของกระดูกฮิวเมอรัสส่วนหลัง[3]

รอยโรคกระดูกแบบบแบงคาร์ต (bony Bankart) เป็นรอยโรคที่รวมถึงการหักของโพรงกลีนอยด์ทางด้านหน้า-ด้านล่าง (anterior-inferior) ของกระดูกสะบัก[4]

รอยโรคแบงคาร์ตตั้งชื่อตามศัลยแพทย์ออร์โทพีดิกส์ชาวอังกฤษ อาร์เธอร์ ซิดนีย์ บรุนเดิล แบงคาร์ต (1879–1951)[5]

การวินิจฉัย

[แก้]

การวินิจฉัยแรกเริ่มโดยทั่วไปสามารถใช้การตรวจร่างกายร่วมกับการถ่ายภาพทางการแพทย์ ซึ่งอาจใช้การถ่ายภาพรังสีโพรเจ็กชั่น หรือ เอ็มอาร์ไอ ของช่วงไหล่ หากพบความต่างสีภายในข้อ (intra-articular contrast) จะช่วยให้สามารถประเมินกลีนอยด์ลาบรัมได้ดียิ่งขึ้น[6]

การรักษา

[แก้]

การแก้ไขในข้อสำหรับการบาดเจ็บแบงคาร์ตมีอัตราสำเร็จสูง กระนั้น เกือบหนึ่งในสามอาจต้องได้รับการผ่าตัดแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อรักษาความไม่มั่นคงที่จะยังคงอยู่ (continued instability) หลังการผ่าตัดแรก อัตราการต้องผ่าตัดแก้ไขนี้เพิ่มขึ้นในกรณีที่อายุต่ำกว่า 20 ปี[7] การผ่าตัดแก้ไขสามารถใช้วิธีส่องกล้องเข้าทางข้อ หรือผ่านหัตถการลาทาร์เจ็ตซึ่งลุกลามและต้องผ่าเปิด[8] วิธีหลังนี้มีแนวโน้มในการเกิดกระดูกเคลื่อนซ้ำต่ำ แต่อาจมีระยะการเคลื่อนไหวที่ลดลงหลังการผ่าตัด[9]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Major, Nancy M.; Anderson, Mark W. (2020). "10. Shoulder". Musculoskeletal MRI (ภาษาอังกฤษ). Philadelphia: Elsevier. pp. 218–219. ISBN 978-0-323-415606.
  2. Widjaja A, Tran A, Bailey M, Proper S (2006). "Correlation between Bankart and Hill-Sachs lesions in anterior shoulder dislocation". ANZ Journal of Surgery. 76 (6): 436–8. doi:10.1111/j.1445-2197.2006.03760.x. PMID 16768763. S2CID 42257934.
  3. Porcellini, Giuseppe; Campi, Fabrizio; Paladini, Paolo (2002). "Arthroscopic approach to acute bony Bankart lesion". Arthroscopy: The Journal of Arthroscopic and Related Surgery. 18 (7): 764–769. doi:10.1053/jars.2002.35266. ISSN 0749-8063. PMID 12209435.
  4. "bony Bankart at The Steadman Clinic Vail, CO. © 2001 by LeadingMD". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-26. สืบค้นเมื่อ 2011-05-16.
  5. Who Named It.com - Bankart's Lesion
  6. Jana, M; Srivastava, DN; Sharma, R; Gamanagatti, S; Nag, H; Mittal, R; Upadhyay, AD (April 2011). "Spectrum of magnetic resonance imaging findings in clinical glenohumeral instability". The Indian Journal of Radiology & Imaging. 21 (2): 98–106. doi:10.4103/0971-3026.82284. PMC 3137866. PMID 21799591.
  7. Flinkkilä, T; Knape, R; Sirniö, K; Ohtonen, P; Leppilahti, J (16 March 2017). "Long-term results of arthroscopic Bankart repair: Minimum 10 years of follow-up". Knee Surgery, Sports Traumatology, Arthroscopy. 26 (1): 94–99. doi:10.1007/s00167-017-4504-z. PMID 28303281. S2CID 6692528.
  8. Zimmermann, SM; Scheyerer, MJ; Farshad, M; Catanzaro, S; Rahm, S; Gerber, C (7 December 2016). "Long-Term Restoration of Anterior Shoulder Stability: A Retrospective Analysis of Arthroscopic Bankart Repair Versus Open Latarjet Procedure" (PDF). The Journal of Bone and Joint Surgery. American Volume. 98 (23): 1954–1961. doi:10.2106/jbjs.15.01398. PMID 27926676. S2CID 24940288.
  9. Wang, L; Liu, Y; Su, X; Liu, S (8 October 2015). "A Meta-Analysis of Arthroscopic versus Open Repair for Treatment of Bankart Lesions in the Shoulder". Medical Science Monitor. 21: 3028–35. doi:10.12659/msm.894346. PMC 4603609. PMID 26446430.

แหล่งข้อมูล

[แก้]

แม่แบบ:Dislocations, sprains and strains