ข้ามไปเนื้อหา

รอยนูนสมองกลีบขมับส่วนบน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รอยนูนสมองกลีบขมับส่วนบน
(superior temporal gyrus)
รอยนูนสมองกลีบขมับส่วนบนของมนุษย์
ภาพวาดแสดงความสัมพันธ์ของสมองและกะโหลกศีรษะ รอยนูนสมองกลีบขมับส่วนบนอยู่ตรงกลางมีสีเขียว
รายละเอียด
ส่วนหนึ่งของสมองกลีบขมับ
หลอดเลือดแดงmiddle cerebral
ตัวระบุ
ภาษาละตินgyrus temporalis superior
นิวโรเนมส์136
นิวโรเล็กซ์ IDbirnlex_1648
TA98A14.1.09.138
TA25489
FMA61905
ศัพท์ทางกายวิภาคของประสาทกายวิภาคศาสตร์

รอยนูนสมองกลีบขมับส่วนบน (อังกฤษ: superior temporal gyrus, gyrus temporalis superior, ตัวย่อ STG) เป็นหนึ่งในสามรอยนูน (แต่บางครั้งปรากฏแค่สอง) ในสมองกลีบขมับของมนุษย์ อยู่ด้านข้างของศีรษะเหนือหูเล็กน้อย

รอยนูนสมองกลีบขมับส่วนบนล้อมรอบด้วย

รอยนูนสมองกลีบขมับส่วนบนมีโครงสร้างสำคัญหลายส่วนรวมทั้ง

รอยนูนสมองกลีบขมับส่วนบนประกอบด้วยคอร์เทกซ์การได้ยินปฐมภูมิ ซึ่งทำหน้าที่ประมวลผลเกี่ยวกับเสียง ความถี่เสียงหนึ่ง ๆ จะมีความสัมพันธ์กับตำแหน่งหนึ่ง ๆ ในคอร์เทกซ์การได้ยินปฐมภูมิอย่างเสมอต้นเสมอปลาย (คือคอร์เทกซ์จะมีพื้นที่เป็นตัวแทนเป็นตัวรองรับข้อมูลสำหรับความถี่เสียงที่มนุษย์สามารถได้ยินได้) แผนที่ความถี่เสียงอย่างนี้ (auditory map หรือ tonotopic map) คล้ายคลึงกับแผนที่ homunculus (หรือ cortical homunculus) ของคอร์เทกซ์สั่งการปฐมภูมิ (primary motor cortex) เขตบางเขตของ STG มีหน้าที่เฉพาะในการประมวลความถี่เสียงหลาย ๆ ความถี่ และเขตอื่น ๆ ก็มีหน้าที่เฉพาะในการประมวลผลเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงของแอมพลิจูดและความถี่ของเสียง นอกจากนั้นแล้ว STG ยังมีเขตเวอร์นิเกอีกด้วย ซึ่งในคนส่วนมากจะอยู่ในซีกสมองด้านซ้าย เป็นเขตสำคัญในการเข้าใจภาษา แม้ว่า STG จะมีบทบาทในการประมวลผลเกี่ยวกับเสียงรวมทั้งการเข้าใจภาษาพูด แต่ STG ก็ยังมีบทบาทสำคัญในความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสังคม (social cognition[1]) อีกด้วย[2]

บทบาทหน้าที่

[แก้]

STG มีบทบาทในการรับรู้อารมณ์ความรู้สึกจากใบหน้าที่เห็น[3][4] นอกจากนั้นแล้ว STG ยังเป็นโครงสร้างสำคัญในการประมวลผลเกี่ยวกับเสียงและการทำงานทางภาษาของบุคคลที่อาจจะมีปัญหาในการใช้ศัพท์ หรือบุคคลที่กำลังพัฒนาการใช้ภาษาอยู่ และยังพบอีกว่า STG เป็นโครงสร้างสำคัญในวิถีประสาทที่ประกอบด้วยอะมิกดะลา (amygdala) และคอร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้า (prefrontal cortex) ซึ่งมีบทบาทในการประมวลผลเนื่องกับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเข้าสังคม[5][6] เขตต่าง ๆ ด้านหน้า (anterior) และด้านบน (dorsal) ของสมองกลีบขมับ รวมทั้ง STG ด้วย มีส่วนในการประมวลผลเกี่ยวกับลักษณะของใบหน้าที่ปรากฏต่าง ๆ กันไป[7] งานวิจัยที่ทำโดยใช้เทคนิคการสร้างภาพในสมอง (neuroimaging) พบว่า คนไข้โรคจิตเภทมี STG ที่มีความผิดปกติทางโครงสร้าง[8]

ภาพต่าง ๆ

[แก้]


เชิงอรรถและอ้างอิง

[แก้]
  1. social cognition (สังคมปริชาน ???) เป็นการเข้ารหัสข้อมูล การเก็บข้อมูล การค้นคืนข้อมูล และการประมวลข้อมูลเกี่ยวกับสัตว์ชนิดเดียวกัน (conspecific) ในสมอง เป็นศัพท์ที่ใช้ในวงการจิตวิทยาและ cognitive neuroscience หมายความถึงความสามารถต่าง ๆ ในสังคม เช่นความสามารถในการเข้าสังคมที่ถูกทำลายไปเนื่องจากโรคออทิซึม
  2. Erin D. Bigler, Sherstin Mortensen, E. Shannon Neeley, Sally Ozonoff, Lori Krasny, Michael Johnson, Jeffrey Lu, Sherri L. Provencal, William McMahon & Janet E. Lainhart (2007) : Superior Temporal Gyrus, Language Function, and Autism, Developmental Neuropsychology, 31:2, 217-238
  3. Radua, Joaquim; Phillips, Mary L.; Russell, Tamara; Lawrence, Natalia; Marshall, Nicolette; Kalidindi, Sridevi; El-Hage, Wissam; McDonald, Colm; Giampietro, Vincent; Brammer, Michael J.; David, Anthony S.; Surguladze, Simon A. (2010). "Neural response to specific components of fearful faces in healthy and schizophrenic adults". NeuroImage. 49: 939–946. doi:10.1016/j.neuroimage.2009.08.030. PMID 19699306.
  4. Erin D. Bigler, Sherstin Mortensen, E. Shannon Neeley, Sally Ozonoff, Lori Krasny, Michael Johnson, Jeffrey Lu, Sherri L. Provencal, William McMahon & Janet E. Lainhart (2007) : Superior Temporal Gyrus, Language Function, and Autism, Developmental Neuropsychology, 31:2, 217-238
  5. Adolphs, 2003 ; Takahashi et al., 2004
  6. Bigler, E. et al. (2007) Superior Temporal Gyrus, Language Function, and Autism Developmental Neuropsychology, 31(2), 217-238
  7. Bigler ED, Mortensen S, Neeley ES, Ozonoff S, Krasny L, Johnson M, Lu J, Provencal SL, McMahon W, Lainhart JE. 2007. Superior temporal gyrus, language function, and autism. 31 (2) : 217-238
  8. Kasai K, Shenton ME, Salisbury DF, Hirayasu Y, Lee C-U, Ciszewski AA, et al. Progressive decrease of left superior temporal gyrus gray matter volume in patients with first-episode schizophrenia. Am J Psychiatry 2003a;160:156–64.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]