รอซาลินด์ พีคาร์ด
รอซาลินด์ พีคาร์ด | |
---|---|
รอซาลินด์ พีคาร์ด ในขณะอภิรายในหัวข้อ "Living Machines: Can Robots Become Human?" | |
เกิด | 17 พฤษภาคม ค.ศ. 1962 |
ศิษย์เก่า | สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ |
อาชีพทางวิทยาศาสตร์ | |
สถาบันที่ทำงาน | สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ |
วิทยานิพนธ์ | Texture Modeling: Temperature Effects on Markov/Gibbs Random Fields (1991) |
อาจารย์ที่ปรึกษาในระดับปริญญาเอก | Alex Pentland Jae Soo Lim Sanjoy K. Mitter |
เว็บไซต์ | web |
รอซาลินด์ ไรต์ พีคาร์ด (อังกฤษ: Rosalind Wright Picard) เป็นศาสตราจารย์ที่สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ เป็นผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยการคำนวณเชิงอารมณ์ ที่ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยสื่อ สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ และผู้อำนวยการร่วมบริษัท Affectiva ปัจจุบันเป็นสมาชิกของสถาบันวิชาชีพวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
พีคาร์ดมีชื่อเสียงในฐานะเป็นผู้ริเริ่มสาขาทางวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์สาขาหนึ่งที่เรียกว่า การคำนวณเชิงอารมณ์ (affective computing) หลังจากที่ได้ตีพิมพ์หนังสือชื่อ Affective Computing[1][2] อันเป็นหนังสือที่อธิบายถึงความสำคัญของ "อารมณ์" ในความฉลาดของเครื่องจักร โดยชี้ว่าอารมณ์ของมนุษย์นั้นมีความสำคัญในการสื่อสารระหว่างบุคคล และหุ่นยนต์และคอมพิวเตอร์ชนิดที่สวมใส่กับคนก็น่าจะมีความสามารถในการรู้จำอารมณ์ของคนได้เช่นกัน พีคาร์ดมีผลงานการวิจัยต่อยอดในการศึกษาโรคออทิซึมและการสร้างเครื่องมือที่ช่วยให้มนุษย์แยกแยะความแตกต่างของอารมณ์แม้เพียงเล็กน้อยได้
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Kleine-Cosack, Christian (October 2006). "Recognition and Simulation of Emotions" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-28. สืบค้นเมื่อ May 13, 2008.
The introduction of emotion to computer science was done by Pickard (sic) who created the field of affective computing.
- ↑ Diamond, David (December 2003). "The Love Machine; Building computers that care". Wired. สืบค้นเมื่อ May 13, 2008.
Rosalind Picard, a genial MIT professor, is the field's godmother; her 1997 book, Affective Computing, triggered an explosion of interest in the emotional side of computers and their users.