ข้ามไปเนื้อหา

รพี สุจริตกุล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

รพี สุจริตกุล นามเดิม ระพีพงศ์ สุจริตกุล (เกิด 2 ตุลาคม พ.ศ. 2505)[1] เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ด้านการประกันภัย ในรัฐบาลประยุทธ์ จันทร์โอชา กรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์​ อาจารย์พิเศษประจำ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[2] อดีตเลขาธิการคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) อดีตกรรมการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน​ เป็นบุตรของเจ้าระวีพันธุ์ สุจริตกุล เจ้านายฝ่ายเหนือ และมีศักดิ์เป็นเหลนของเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 9 (องค์สุดท้าย)

ประวัติ

[แก้]

รพี สุจริตกุล เป็นบุตรของเจ้าระวีพันธุ์ สุจริตกุล หรือ เจ้าต่อน[3] กับนายสุชาต สุจริตกุล ต.จ.[4] อดีตนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่, อดีตข้าราชการการเมืองตำแหน่งประจำสำนักนายกรัฐมนตรี[5] มีพี่ชายและพี่สาวร่วมบิดามารดาอย่างละคน คือ

  1. รองศาสตราจารย์ ตะวัน สุจริตกุล (นามเดิม ชาดตวัน; เกิด 6 ตุลาคม พ.ศ. 2497)[1] สมรสกับหม่อมราชวงศ์นุช ศุขสวัสดิ์
  2. พันธุ์ระวี สุจริตกุล (เกิด 27 มกราคม พ.ศ. 2500)[1] สมรสกับผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์วิรัช เจริญเอี่ยม

รพี สมรสกับนางจันทวรรณ สุจริตกุล

การศึกษา

[แก้]

รพี สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ด้านกฎหมาย จาก University of Essex สหราชอาณาจักร และปริญญาโท ด้านกฎหมายจาก University of Bristol สหราชอาณาจักร

การทำงาน

[แก้]

หลังเรียนจบกฎหมายจากประเทศอังกฤษ เขาเริ่มทำงานเป็นนิติกร ประจำฝ่ายกฎหมายของธนาคารแห่งประเทศไทย จนกระทั่งเมื่อปีการจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เขาจึงเป็นส่วนหนึ่งของบุคลากรที่โอนย้ายไปทำงานประจำที่สำนักงาน ก.ต.ล. ใช้ระยะเวลาประมาณ 12 ปี ในตำแหน่งสูงสุดคือ ผู้ช่วยเลขาธิการอาวุโส เขาจึงตัดสินใจลาออกจากหน่วยงานของราชการ เมื่อปี พ.ศ. 2547[6] ต่อมารพี เขาทำงานที่ธนาคารกสิกรไทย ตามคำชักชวนของประสาร ไตรรัตน์วรกุล[7]

ในปี พ.ศ. 2557 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจตาม คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 75/2557 [8]

ในปี พ.ศ. 2558 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นเลขาธิการคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)[9]

ลำดับสาแหรก

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 ลำดับสกุล สุจริตกุล : ราชินีกุล รัชกาลที่ 6 และ รัชกาลที่ 7 ราชนิกุล รัชกาลที่ 8 และรัชกาลปัจจุบัน. พระนคร : ไทยพณิชยการ จำกัด. 2507, หน้า 36
  2. "รายชื่ออาจารย์พิเศษ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-16. สืบค้นเมื่อ 2019-10-16.
  3. คัมภีร์ คัมภีรญาณนนท์ , นาวาอากาศเอก. เจ้านายฝ่ายเหนือ. [1] เก็บถาวร 2021-05-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  4. ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เล่ม 81 ตอนที่ 42 วันที่ 7 พฤษภาคม 2507
  5. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2505/D/097/2285.PDF แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมืองในสำนักนายกรัฐมนตรี]
  6. "รพี" ไขก๊อก ก.ล.ต. สิ้นปี จับตายุคเปลี่ยนคนรุ่นเก่าตบเท้าออก[ลิงก์เสีย]
  7. "พระสยาม ฉบับที่ 3" เดือนกรกฎาคม - สิงหาคม 2556[ลิงก์เสีย]
  8. คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 75/2557 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 131 ตอน 125 ง พิเศษ หน้า 6-7 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
  9. “รพี สุจริตกุล” เบียดลูกหม้อ นั่งเลขาธิการ ก.ล.ต.คนใหม่ตามคาด[ลิงก์เสีย]