รถไฟดนตรี
รถไฟดนตรี เป็นค่ายเพลงในประเทศไทย ซึ่งมีผลงานเพลงจากศิลปินที่มีชื่อเสียงในอดีตของค่าย เช่น พงษ์สิทธิ์ คำภีร์ , ฟรีเบิร์ดส , หนู มิเตอร์ , พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ , เดวิด อินธี ฯลฯ
อุตสาหกรรม | บันเทิง |
---|---|
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2522 |
สำนักงานใหญ่ | 186 ซอยรามคำแหง 4 (ซอยสมานมิตร) ถนนรามคำแหง แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250 |
บุคลากรหลัก | ประเสริฐ พงษ์ธนานิกร |
ผลิตภัณฑ์ | เพลง, รายการโทรทัศน์ |
เว็บไซต์ | www |
ประวัติของค่าย
[แก้]รถไฟดนตรี ก่อตั้งในช่วงปี พ.ศ. 2522 โดยคุณประเสริฐ พงษ์ธนานิกร หรือที่รู้จักกันในนาม ระย้า อดีตดีเจชื่อดัง ซึ่งมีรายการวิทยุชื่อว่า Music Train ดังนั้นหลังจากทำงานให้กับบริษัท อีเอ็มไอ (EMI) มานาน คุณระย้าจึงตัดสินใจลาออกจากอีเอ็มไอ และมาเปิดค่ายเพลงเป็นของตัวเองในชื่อ รถไฟดนตรี โดยดำเนินธุรกิจการผลิต และโปรโมทผลงานเพลงไทยสากลในช่วงทศวรรษแรก ก่อนจะลุยแนวเพลงเพื่อชีวิตและเพลงลูกทุ่งเป็นหลักในช่วงทศวรรษที่สองและที่สาม ด้านการผลิตและจัดจำหน่ายผลงานเพลงนั้น ในระยะแรกได้ให้ ชัวร์ออดิโอ เป็นผู้จัดจำหน่าย ก่อนจะเปลี่ยนเป็นโรต้า , บีเคพี และมาผลิตและจัดจำหน่ายเองในนามบริษัท ยูเอฟโอ มาร์เก็ตติ้ง (ปัจจุบันปิดตัวไปแล้ว และจัดจำหน่ายผลงานเพลงในนามรถไฟดนตรีแทน) นอกจากนี้ รถไฟดนตรียังมีบริษัทในเครือชื่อว่า Zergeon Tech ซึ่งดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์อีกด้วย [1]
ในปี พ.ศ. 2552 ทางบริษัทจะมีอายุครบ 30 ปี จึงได้รวบรวมงานเพลงของศิลปินดังๆ ในอดีตทั้งหมด 8 ศิลปินได้แก่ ฟรีเบิร์ดส,สาว สาว สาว, ชรัส เฟื่องอารมย์, ภูสมิง หน่อสวรรค์, พัณนิดา เศวตาสัย, จำรัส เศวตาภรณ์, สุชาติ ชวางกูร และ ศุ บุญเลี้ยง มาจำหน่ายใหม่ในรูปแบบบ็อกซ์เซ็ต [2]
ค่ายเพลงในเครือ
[แก้]- ฮิตซ์เมกเกอร์
- ฟรีโซน
- แบ็คยาร์ด
ศิลปินที่เคยมีผลงานในค่าย
[แก้]ศิลปินในช่วงทศวรรษแรก (พ.ศ. 2522 - 2532)
[แก้]- ชรัส เฟื่องอารมย์
- วงไอสครีม
- วงสปาย
- สาว สาว สาว
- จำรัส เศวตาภรณ์
- ฟรีเบิร์ดส
- ปะการัง
- ภูสมิง หน่อสวรรค์
- ภูสมสนุก หน่อสวรรค์
- สุชาติ ชวางกูร
- ชัยรัตน์ เทียบเทียม
- ชัชชัย สุขาวดี (หรั่ง ร็อคเคสตร้า)
- ฤทธิพร อินสว่าง
- อินโดจีน
- จรรยา ปิยะวดี
- นกน้อยกับพี่หมี
- เบิร์ด พันธุ์อุดม
ศิลปินในช่วงทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2533 - 2542)
[แก้]- ศุ บุญเลี้ยง (พ.ศ. 2537)
- ปฐมพร ปฐมพร
- กิตติ กาญจนสถิตย์
- สุรชัย จันทิมาธร (หงา คาราวาน)
- วงโฮป / โฮป แฟมิลี่
- แก้ว ลายทอง
- คาซาม่า
- พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ (พ.ศ. 2535 - 2543,2553)
- พงษ์สิทธิ์ คำภีร์
- เล็ก คาราบาว
- จรัล มโนเพ็ชร เสียชีวิตแล้ว เมื่อ 3 กันยายน พ.ศ. 2544
- คนด่านเกวียน
- ซูซู (อัลบั้ม ดอกไม้พฤษภา พ.ศ. 2535)
- โดม มาร์ติน
- คาไลโดสโคป
- เป๊ก บลูสกาย
- เอ-ม็อบ ย้ายไปอยู่ค่าย อาร์สยาม โดยมีผลงานเพลง และแต่งเพลงให้กับศิลปินในค่าย
- เคียส พันตา หรือ (พันตา สุรศิลป์พิศุทธิ์) เสียชีวิตแล้ว เมื่อ 9 กันยายน พ.ศ. 2553
- หนู มิเตอร์ ปัจจุบันย้ายไปค่ายอาร์สยาม ตั้งแต่ พ.ศ. 2547 ถึงปัจจุบัน
- หนุ่มสกล (เพลง มดเบื่อ , คว้าได้เลย,รักเธอที่สุดในโลก)
- พิทักษ์ เสริมราษฎร์ ปัจจุบันย้ายไปค่ายอาร์สยาม ตั้งแต่ พ.ศ. 2551 ถึงปัจจุบัน
- รอน อรัณย์
- สิงหไกรพันธ์
- ร็อกเกอร์
- อมตะ
- ประกาศิต
- วงสิมิลัน (เพลง สะพานรักสารสิน)
ศิลปินในช่วงทศวรรษที่สาม (พ.ศ. 2543 - ปัจจุบัน)
[แก้]- เดวิด อินธี ปัจจุบันย้ายไปค่ายแกรมมี่โกลด์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2554
- อ้อย กะท้อน ปัจจุบันย้ายไปค่ายอาร์สยาม ตั้งแต่ พ.ศ. 2552
- กษาปณ์ จำปาดิบ (อัลบั้ม อยากเป็นหมา พ.ศ. 2543) ปัจจุบันอยู่ที่ค่ายมิวสิคดี เอ็นเตอร์เทนเมนท์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2556
- สมรักษ์ คำสิงห์
- เบิร์ด ปากน้ำโพ
- ป๋อง ณ ปะเหลียน (เพลง ไก่ฟ้า , รักคนอ้อร้อ)
- เอก อนาลโย
- สมชาย ใหญ่ (เพลง ปู่ชิว , เล่ห์ลมลวง)
- ฌามา ปัจจุบันย้ายไปค่ายอาร์สยาม (เฉพาะทรงกลด กระจ่างเมฆ) ตั้งแต่ พ.ศ. 2551
- หนุ่มสกล
- วงสันติภาพ
- ลูกหิน (Cover งานเพลงของ ประภาส ชลศรานนท์)
- ศตวรรษ เมทะนี
- ธีรศักดิ์ พันธุจริยา
- จุฬาลักษณ์ กฤติยารัตน์
- สไมล์บัฟฟาโล่ (เชษฐ์, หนึ่ง)
- คนสองหน้า
- วงกระดังงา (เพลง สาวภูธร)
- ดอกหญ้าริมทาง
- โจ สูงเนิน
- กวี วังหิน
- สุ ไทรงาม ปัจจุบันเปิดค่ายเพลงในชื่ออาร์มีเร็คคอร์ด ตั้งแต่ พ.ศ. 2553 ถึงปัจจุบัน
- เลมอน ป๊อป (ปุณ+ป๋วย) มีผลงานอัลบั้มสองชุด พ.ศ. 2545 - 2547
- วงกระบือ
- เบียร์ วรวุธ ย้ายไปอยู่ค่ายอาร์สยาม พ.ศ. 2557
- มายา 01
- สันกาลา
- ปรัชญา-แสงตะวัน
- พลเอก (ตั้ม-สามารถ ทองขาว) ปัจจุบันก่อตั้งค่ายต้นไม้มิวสิค มีศิลปินชื่อดังในค่ายเช่น แซ็ค ชุมแพ
- เชน ชาโดว์
ศิลปินที่ไม่ได้อยู่ในสังกัด แต่มีการโปรโมทและจัดจำหน่ายผลงานเพลงให้
[แก้]- วงกางเกง
- วงสกายพาส
- พจน์ สุวรรณพันธ์
- วงคาซอย
รายการเพลงที่เคยออกอากาศ
[แก้]- นัดกับโน๊ต (วันพุธสัปดาห์แรกของเดือน บ่ายโมง ช่อง 7) ออกอากาศถึงปี พ.ศ. 2547
- มิทไนท์สตาร์ (วันเสาร์ เที่ยงคืน ช่อง 9) ออกอากาศถึงปี พ.ศ. 2551
- ดึกดึกยังคึกอยู่ (วันศุกร์ และย้ายไปวันพฤหัสบดี 01.30 น. ช่อง 9) ออกอากาศถึงปี พ.ศ. 2551
- โบกี้ท็อปไฟว์ (วันจันทร์สัปดาห์แรกของเดือน 11.00 น. ททบ.5) ออกอากาศถึงปี พ.ศ. 254x
อ้างอิง
[แก้]- ↑ [ลิงก์เสีย] "รถไฟดนตรี" ขบวน(เพลง)ธรรมดาที่ไม่ธรรมดา จากผู้จัดการออนไลน์
- ↑ ฉลองครบรอบ 30ปี[ลิงก์เสีย]