รถสัมภาระมีเครื่องห้ามล้อ
![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/4/40/BR_brake_van_at_Colne_Valley_Railway_2.jpg/220px-BR_brake_van_at_Colne_Valley_Railway_2.jpg)
รถสัมภาระมีเครื่องห้ามล้อ (พ.ห.) หรือ รถโบกี้สัมภาระมีเครื่องห้ามล้อ (บพห.)[1] (อังกฤษบริติช: Brake Van อังกฤษอเมริกัน: Caboose)[2] เป็นยานยนต์รางชนิดหนึ่งซึ่งใช้พ่วงในขบวนรถไฟ เพื่อบรรทุกสิ่งของและใช้เป็นรถทำการของพนักงานรักษารถ ในอดีต ยานยนต์รางชนิดนี้มีความสำคัญมากในฐานะที่จะช่วยห้ามล้อได้นอกเหนือจากระบบห้ามล้อปกติของรถจักร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อทำขบวนรถสินค้า ปัจจุบันในประเทศไทยยังมีรถชนิดนี้พ่วงไว้ตอนท้ายขบวนรถสินค้าทุกขบวน
หน้าที่
[แก้]รถสัมภาระมีเครื่องห้ามล้อ ใช้เป็นรถทำการของพนักงานรักษารถและพนักงานห้ามล้อ ซึ่งพนักงานเหล่านั้นมีหน้าที่กลับประแจมือแทนพนักงานสถานีเมื่อเกิดเหตุขัดข้อง ตลอดจนเฝ้าระวังเหตุอันตรายอันอาจเกิดแก่ขบวนรถไฟ รวมไปถึงจดบันทึกความเคลื่อนไหวของขบวนรถว่าถึงสถานีใดเวลาใด นอกจากนี้ บนรถยังมีเครื่องห้ามล้อมือที่พนักงานห้ามล้อสามารถใช้งานได้ หากขบวนรถใช้ความเร็วเกินควร ที่ว่างบนรถใช้ในการบรรทุกส่งสิ่งของที่มีขนาดใหญ่ รวมถึงสิ่งของที่ผู้อื่นที่มิได้โดยสารฝากส่ง
รถชนิดอื่นที่คล้ายกัน
[แก้]ในกิจการรถไฟไทย มีรถสำหรับบรรทุกสัมภาระที่พ่วงในขบวนรถโดยสารอีกสองชนิดคือ
- รถโบกี้ชั้นสามและสัมภาระ (บสพ.)
- รถโบกี้ชั้นสองและสัมภาระ (บทพ.)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "รถโดยสาร, รถสินค้า 4 ล้อ" (PDF). สายย่อ, วารสารรถไฟสัมพันธ์. การรถไฟแห่งประเทศไทย (๔/๒๕๖๒): 20, 23.
- ↑ "A Brief History of the Caboose: The Caboose's Early Uses". Union Pacific Railroad. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 สิงหาคม 2012.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ รถสัมภาระมีเครื่องห้ามล้อ