ข้ามไปเนื้อหา

ย่านความถี่ 160 เมตร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ย่านความถี่ 160 เมตร เป็นย่านความถี่ที่มีความถี่สูงกว่าความถี่ของวิทยุกระจายเสียง A.M. เล็กน้อย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแถบความถี่ปานกลาง (MF หรือย่อมาจาก Medium wave) ย่านความถี่ 160 เมตรถูกจัดสรรให้กับกิจการวิทยุสมัครเล่น โดยทั่วไปแล้วย่านความถี่นี้จะมีความยาวคลื่นสูงสุด ที่อนุญาตให้กับนักวิทยุสมัครเล่นในหลาย ๆ ประเทศ ด้วยเหตุนี้ทำให้นักวิทยุสมัครเล่นเรียกย่านความถี่นี้ว่า Top Band

การแพร่กระจายคลื่น

[แก้]

ย่านความถี่ 160 เมตร เป็นย่านความถี่ที่เหมาะกับการติดต่อสื่อสารในช่วงเวลากลางคืน การติดต่อในช่วงเวลากลางวันนั้นจะถูก ชั้นบรรยากาศ D-layer ดูดกลืนเอาไว้ ทำได้เพียงแค่การแพร่กระจายคลื่นแบบ ground-wave สามารถติดต่อได้ในระยะทางประมาณ 1,500 กิโลเมตร (สำหรับสถานีวิทยุที่ติดตั้งอย่างดี และส่งด้วยกำลังส่งสูงสุดเท่าที่กฎหมายอนุญาตให้ใช้ได้ คือ 1,500 วัตต์) ในช่วงเวลากลางคืนชั้นบรรยากาศ D-layer จะจางหายไปอย่างรวดเร็วทำให้การติดต่อสื่อสารรอบโลกด้วยย่านความถี่ 160 เมตร มีความเป็นไปได้มากขึ้น ด้วยการแพร่กระจายคลื่นแบบ F2 layer skip และ ducting สัญญาณรบกวนที่เกิดจากธรรมชาติ และเกิดจากมนุษย์ จะเป็นตัวจำกัดการติดต่อสื่อสาร เพราะว่าย่านความถี่นี้จะไวต่อสัญญาณรบกวนมาก ช่วงฤดูกาลที่เหมาะกับการติดต่อทางไกลสำหรับย่านความถี่ 160 เมตรก็คือฤดูหนาว

ระบบสายอากาศสำหรับย่าน 160 เมตร

[แก้]

ปัญหาหนึ่งของย่านความถี่ 160 เมตรนอกจากขนาดสายอากาศที่ใหญ่โตก็คือสัญญาณรบกวนอย่างมาก สำหรับการติดต่อแบบหวังผล เราใช้สายอากาศแค่ชุดเดียวอาจจะทำได้ยาก จำเป็นต้องมีการแยกสายอากาศระหว่างสายอากาศส่ง (Transmitting Antenna) และสายอากาศรับ (Receiving Antennas) โดยสายอากาศรับ อาจจะเป็นสายอากาศแบบ Beverage, 4-square, small loop และอื่น ๆ ก็ได้ สาเหตุที่ต้องแยกส่วนกันก็เพราะว่า ในส่วนของการรับ จำเป็นต้องมีการกำจัดสัญญาณรบกวนออกให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ (อัตราการขยายของสายอากาศเป็นลบ) ส่วนการส่งสัญญาณจำเป็นต้องให้มีความแรงในการแพร่กระจายคลื่นมากที่สุด

อ้างอิง

[แก้]