ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 232
N1819U แมคดอนเนลล์ ดักลาส ดีซี-10 ลำที่เกิดเหตุ ถ่ายห้าปีก่อนเกิดเหตุ | |
สรุปอุบัติเหตุ | |
---|---|
วันที่ | 19 กรกฎาคม ค.ศ. 1989 |
สรุป | เครื่องยนต์ล้มเหลวนำมาสู่การสูญเสียระบบไฮดรอลิกและการควบคุม |
จุดเกิดเหตุ | ท่าอากาศยานซูเกทเวย์ ซูซิตี รัฐไอโอวา สหรัฐอเมริกา 42°24′29″N 96°23′02″W / 42.40806°N 96.38389°W |
อากาศยานลำที่เกิดเหตุ | |
ประเภทอากาศยาน | แมคดอนเนลล์ ดักลาส ดีซี-10-10 |
ดําเนินการโดย | ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ |
หมายเลขเที่ยวบิน IATA | UA232 |
หมายเลขเที่ยวบิน ICAO | UAL232 |
รหัสเรียก | UNITED 232 HEAVY |
ทะเบียน | N1819U |
ต้นทาง | ท่าอากาศยานนานาชาติสเตเปิลตัน เดนเวอร์ รัฐโคโลราโด |
จุดพัก | ท่าอากาศยานนานาชาติโอแฮร์ ชิคาโก รัฐอิลลินอย |
ปลายทาง | ท่าอากาศยานนานาชาติฟิลาเดลเฟีย ฟิลาเดลเฟีย รัฐเพนซิลเวเนีย |
จำนวนคน | 296 |
ผู้โดยสาร | 285 |
ลูกเรือ | 11 |
เสียชีวิต | 112 |
บาดเจ็บ | 171 |
รอดชีวิต | 184 |
ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 232 เป็นเที่ยวบินภายในประเทศสหรัฐอเมริกาในเส้นทาง เดนเวอร์ รัฐโคโลราโด สู่ ฟิลาเดลเฟีย รัฐเพนซิลเวเนีย โดยเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม ค.ศ. 1989 หลังจากทำการบินได้กว่าหนึ่งชั่วโมง ก็เกิดการระเบิดบริเวณท้ายเครื่อง นักบินตัดสินใจนำเครื่องลงจอดฉุกเฉินที่สนามบินซูใน รัฐไอโอวา แต่เครื่องบินเสียการทรงตัว ทำให้ตกกระแทกกับรันเวย์และพลิกคว่ำ มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก
เหตุการณ์
[แก้]ช่วงบ่ายวันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม ซึ่งเป็นวันหยุด พ่อแม่พาลูกหลานเดินทางไปเที่ยวในวันหยุด เครื่องบิน แมคดอนเนลล์ ดักลาส ดีซี-10-10 ของสายการบิน ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ พร้อมผู้โดยสาร 285 คน และลูกเรือ 11 คน ออกเดินทางจากท่าอากาศยานนานาชาติสตาพเพิลตันในเดนเวอร์ไปยัง ท่าอากาศยานนานาชาติฟิลาเดลเฟีย ในฟิลาเดลเฟียเมื่อเวลา 14:09 น. ตามเวลาท้องถิ่นของสหรัฐ โดยกัปตันในเที่ยวบินนี้คือ อัลเฟรด ซี. เฮนส์ นักบินผู้ช่วย William Roy (Bill) Records วิศวกรการบิน Dudley Joseph Dvorak หลังจากบินได้ 1 ชั่วโมง 7 นาที เมื่อเวลา 15:16 น. ตามเวลาท้องถิ่นของสหรัฐ ได้เกิดเสียงระเบิดดังสนั่นบริเวณท้ายเครื่องจนทำให้ผู้โดยสารตกใจและหวาดกลัว
กัปตันอัลทราบว่าระบบไฮดรอลิกมีปัญหา จึงดับเครื่องยนต์ตัวที่ 2 ซึ่งอยู่บริเวณหางลง และใช้เครื่องยนต์ตัวที่ 1 และตัวที่ 3 ซึ่งอยู่ที่ปีกทั้งสองข้างในการส่งแรงกำลังให้เครื่องบินบินต่อไปได้ ต่อมาในเวลา 15:29 น. ตามเวลาท้องถิ่นของสหรัฐ กัปตันเดนนิส อี. ฟิตช์ นักบิน ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ และผู้ฝึกสอนการบินในเครื่องรุ่นดีซี-10 ซึ่งกำลังเดินทางกลับบ้าน ได้เดินเข้าไปในห้องนักบินเพื่อช่วยเหลือกัปตันอัลในการแก้ปัญหาเรื่องระบบไฮดรอลิก เมื่อนักบินติดต่อกับหอบังคับการบินก็ได้รับการแนะนำว่าให้ไปลงจอดที่ท่าอากาศยานซู เกทเวย์ในเมืองซูซิตี้ รัฐไอโอว่าซึ่งเป็นท่าอากาศยานขนาดเล็กแต่มีรันเวย์ยาวพอที่จะให้เครื่องดีซี-10ลงจอดได้ เมื่อมาถึงสนามบิน กัปตันอัลพยายามจะนำเครื่องบินลงจอด โดยมีกัปตันเดนนิสคอยใช้เครื่องยนต์ที่เหลือ 2 ตัวเพิ่มกำลังให้ อย่างไรก็ตาม เครื่องบินเกิดเสียการทรงตัว เขาต้องการใช้รันเวย์ที่มีรถดับเพลิงจอดขวางอยู่รถดับเพลิงจึงรีบออกจากรันเวย์นั้น ในที่สุด เมื่อเวลา 16:00 น. ตามเวลาท้องถิ่นของสหรัฐ เที่ยวบินที่ 232 ตกกระแทกกับรันเวย์อย่างแรง ก่อนที่ระเบิดลุกเป็นไฟและพลิกคว่ำไปหยุดอยู่ที่ไร่ข้าวโพดข้างๆรันเวย์ โดยมีผู้ถ่ายวีดีโอขณะเกิดเหตุสยองไว้ได้จากการตกครั้งนี้ มีผู้เสียชีวิต 112 คน แบ่งเป็นเสียชีวิตในที่เกิดเหตุ 111 คน และเสียชีวิตในเวลาต่อมาอีก 1 คน และรอดชีวิต 184 คนรวมทั้งกัปตันอัล กัปตันเดนนิส และนักบินอีก 2 คนในห้องนักบิน โดยมี 171 คนที่ได้รับบาดเจ็บ
สาเหตุ
[แก้]3 เดือนต่อมา คณะสืบสวนอุบัติเหตุได้รับแจ้งจากหญิงชาวไร่ข้าวโพดคนหนึ่งว่าพบใบพัดเครื่องยนต์เจ็ทที่หักออกไปจากเครื่อง UA232 จึงเดินทางไปตรวจสอบยังจุดที่พบ ผลจากการตรวจสอบพบว่าใบพัดเครื่องยนต์ของแมคดอนเนลล์ ดักลาส ดีซี-10นั้นมีรอยร้าว เมื่อถูกหมุนด้วยความเร็วสูงขณะที่เครื่องบินกำลังบินอยู่ จึงทำให้เกิดรอยร้าวที่ใบพัดเครื่องยนต์มากขึ้นจนกระทั่งระเบิดในทีสุด เมื่อใบพัดเครื่องยนต์ระเบิดออกไป จึงทำให้ระบบไฮดรอลิกเสียหาย ซึ่งเป็นสาเหตุของอุบัติเหตุครั้งนี้
ภายหลังเหตุการณ์
[แก้]ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 232 ถูกยอมรับโดยทั่วไปว่าเป็นตัวอย่างของการรับมือกับสถานการณ์ที่ยอดเยี่ยมทั้งกับนักบิน นักบินผู้ช่วย วิศวกรการบิน พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน เจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศ รถดับเพลิง รถพยาบาล แม้กระทั่งนักข่าว ที่พร้อมรอรับสถานการณ์เครื่องบินตก โดยปกติแล้วจำนวนผู้เสียชีวิตจะมีมากกว่านี้ การร่วมมือกันเป็นอย่างดีส่งเสริมให้รักษาชีวิตคนไว้ได้
นักดับเพลิงยังใช้กรณีนี้เป็นกรณีศึกษาเนื่องจากในตอนแรกเขาได้รับคำสั่งให้อยู่รันเวย์อีกทางหนึ่งหากรถดับเพลิงยังอยู่ในรันเวย์นั้นเครื่องบินจะชนรถดับเพลิงการที่รถดับเพลิงต้องรีบเปลี่ยนรันเวย์ในขั้นตอนสุดท้ายภายในระยะเวลาไม่ถึง 5 นาที เป็นเรื่องยากพอสมควร