ยูเนียนแปซิฟิก ชาลเลนเจอร์
ยูเนียนแปซิฟิก ชาลเลนเจอร์ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ยูเนียนแปซิฟิก 3985 วิ่งผ่านออลตัน รัฐไอโอวา เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 2008 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
ยูเนียนแปซิฟิก ชาลเลนเจอร์ (อังกฤษ: Union Pacific Challenger) เป็นรถจักรไอน้ำข้อต่อแบบง่ายชนิด 4-6-6-4 ผลิตโดยบริษัทอเมริกันโลโคโมทีฟ (ALCO) ระหว่างปี ค.ศ. 1936 ถึง 1944 และใช้งานโดยยูเนียนแปซิฟิกเรลโรดจนถึงปลายคริสต์ทศวรรษ 1950
ชาลเลนเจอร์ถูกสร้างขึ้นมาทั้งหมด 105 คันใน 5 ชั้น แต่ละคันยาวเกือบ 122 ฟุต (37 เมตร) และหนัก 537 ชอร์ตตัน (487 ตัน) พวกมันถูกใช้งานทั่วไปในระบบรถไฟของยูเนียนแปซิฟิก ส่วนใหญ่ใช้ในการขนส่งสินค้า แต่บางส่วนก็ถูกนำไปใช้กับขบวนรถโดยสารอย่างพอร์ตแลนด์โรส (Portland Rose) และขบวนรถโดยสารอื่น ๆ การออกแบบและประสบการณ์การใช้งานของชาลเลนเจอร์ได้กลายเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบรถจักรบิกบอย ในทางกลับกันก็ส่งอิทธิพลต่อการออกแบบชาลเลนเจอร์สามรุ่นสุดท้าย
ปัจจุบันชาลเลนเจอร์ยังคงหลงเหลืออยู่ 2 คัน โดยคันที่โดดเด่นที่สุดคือหมายเลข 3985 ซึ่งได้รับการบูรณะโดยยูเนียนแปซิฟิกในปี ค.ศ. 1981 และนำมาให้บริการนำเที่ยวในฐานะส่วนหนึ่งของโครงการกองรถไฟมรดก อย่างไรก็ดี ปัญหาทางกลทำให้รถจักรคันนี้ต้องหยุดให้บริการในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2010 และถูกปลดระวางในเดือนมกราคม ค.ศ. 2020 หลังการบูรณะรถจักรบิกบอยหมายเลข 4014 เสร็จสิ้น[1][2] และท้ายที่สุดก็ถูกบริจาคให้แก่องค์การอนุรักษ์มรดกทางรถไฟมิดเวสต์อเมริกาในปี ค.ศ. 2022 ที่ซึ่งรถจักรคันดังกล่าวกำลังอยู่ระหว่างการบูรณะเป็นครั้งที่สอง[3] ชาลเลนเจอร์อีกคันที่ยังคงเหลืออยู่คือหมายเลข 3977 ซึ่งจัดแสดงอยู่ที่นอร์ทแพลตต์ รัฐเนแบรสกา
ประวัติ
[แก้]รายละเอียด
[แก้]ชื่อ "ชาลเลนเจอร์" นั้นถูกตั้งให้กับรถจักรไอน้ำที่มีรูปแบบล้อ 4-6-6-4 ซึ่งหมายถึงล้อนำ 4 ล้อสำหรับช่วยเข้าโค้ง ล้อขับเคลื่อน 2 ชุด ๆ ละ 6 ล้อ และล้อตาม 4 ล้อ สำหรับรองรับท้ายเครื่องจักรและเรือนไฟขนาดใหญ่ ล้อขับเคลื่อนแต่ละชุดถูกขับด้วยกระบอกสูบไอน้ำสองกระบอก ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือเครื่องจักรสองตัวภายใต้หม้อน้ำใบเดียว ยูเนียนแปซิฟิกได้พัฒนารถจักรชาลเลนเจอร์ทั้งหมด 5 ชนิด ได้แก่ ชนิดเบา CSA-1 และ CSA-2 และชนิดหนัก 4664-3, 4664-4 และ 4664-5
บริษัทต้องการรถจักรที่มีกำลังสูงที่สามารถลากขบวนรถไต่ขึ้นทางชันบนภูเขาด้วยความเร็วสูงได้ ในอดีต รถจักรแบบข้อต่อถูกจำกัดความเร็วให้ต่ำเนื่องจากโครงสร้างของตัวรถ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้ชาลเลนเจอร์สามารถทำงานได้ด้วยแรงดันไอน้ำในหม้อน้ำสูงถึง 280 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว (1.93 เมกะปาสกาล) ซึ่งโดยปกติแล้วเป็นค่าที่สงวนไว้สำหรับรถจักรโดยสาร เช่น เอฟอีเอฟซีรีส์ รถจักรเหล่านี้มีล้อขับขนาด 69 นิ้ว (1,800 มิลลิเมตร) ซึ่งเป็นล้อขนาดใหญ่ที่มักพบในรถจักรโดยสารเท่านั้น เพราะโดยทั่วไปแล้วรถจักรสินค้าต้องการแรงบิดมาก ล้อขนาดเล็กจึงให้แรงบิดได้มากกว่า[โปรดขยายความ] ความเร็วเกิน 60 ไมล์ต่อชั่วโมง (100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ที่ถือเป็นเรื่องที่ไม่เคยพบมาก่อนในบริษัทรถไฟอื่น ๆ ที่ใช้รถจักรไอน้ำแบบข้อต่อ กลายเป็นเรื่องปกติธรรมดาของยูเนียนแปซิฟิก
เมื่อชาลเลนเจอร์รุ่นแรกให้บริการในปี ค.ศ. 1936 บนเส้นทางสายหลักของยูเนียนแปซิฟิกที่ข้ามเทือกเขาวอแซตช์ระหว่างกรีนริเวอร์กับออกเดิน รถจักรเหล่านี้ก็ประสบปัญหาในการปีนขึ้นทางชัน ตลอดเส้นทางส่วนใหญ่ ความชันสูงสุดอยู่ที่ร้อยละ 0.82 ทั้งขาไปและขากลับ แต่เมื่อปีนขึ้นไปทางทิศตะวันออกจากออกเดินเข้าสู่เทือกเขาวอแซตช์แล้ว ความชันจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 1.14 การลากขบวนรถบรรทุกที่มีน้ำหนัก 3,600 ชอร์ตตัน (3,300 ตัน; 3,200 ลองตัน) จึงต้องใช้รถจักรสองคันและรถจักรช่วย และการเพิ่มหรือลดรถจักรช่วยเหล่านี้ก็จะทำให้การเดินรถช้าลง ข้อจำกัดเหล่านั้นได้กระตุ้นให้มีการนำบิกบอยมาใช้งานในปี ค.ศ. 1941 รวมถึงการออกแบบใหม่สำหรับชาลเลนเจอร์สามรุ่นสุดท้ายในช่วงปี ค.ศ. 1942 ถึง 1944
โดยอาศัยประสบการณ์จากบิกบอย อ็อทโท ยาเบลมันน์ วิศวกรใหญ่ฝ่ายเครื่องกลของยูเนียนแปซิฟิก ได้ออกแบบชาลเลนเจอร์สามรุ่นสุดท้ายในปี ค.ศ. 1941 ผลลัพธ์ที่ได้คือรถจักรที่สามารถใช้งานได้จริง มีน้ำหนักประมาณ 317 ชอร์ตตัน (288 ตัน; 283 ลองตัน) พร้อมกับตู้เชื้อเพลิงที่มีน้ำหนัก 174 ชอร์ตตัน (158 ตัน; 155 ลองตัน) เมื่อบรรทุกเต็ม 2 ใน 3 แรงฉุดที่คำนวณได้คือ 97,350 ปอนด์-แรง (433.0 กิโลนิวตัน) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1941 ชาลเลนเจอร์ถูกออกแบบมาเพื่อเร่งความเร็วของขบวนรถสินค้าบนทางชันในรัฐไวโอมิง ส่วนการปีนขึ้นเทือกเขาวอแซตช์ทางทิศตะวันออกจากออกเดินนั้น บิกบอยได้เข้ามาทำหน้าที่แทนโดยไม่ต้องใช้รถจักรช่วย
การสร้าง
[แก้]รถจักรไอน้ำทั้ง 105 คันถูกสั่งซื้อเป็น 5 รุ่น โดยรุ่นแรกและสองเป็นชาลเลนเจอร์ขนาดเบา และรุ่นสุดท้าย 3 รุ่นเป็นชาลเลนเจอร์ขนาดหนัก เช่นเดียวกับบิกบอย ชาลเลนเจอร์ก็ปรากฏตัวขึ้นในช่วงเวลาที่ปริมาณการขนส่งสินค้าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเพื่อรองรับการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่สองของสหรัฐอเมริกา
รุ่น | จำนวน | ผู้ผลิต | หมายเลขที่ผลิต | ปีที่สร้าง (ค.ศ.) | หมายเลขของยูเนียนแปซิฟิก | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|---|
CSA-1 | 15 | อเมริกันโลโคโมทีฟ | 68745–68759 | 1936 | 3900–3914 | แปลงให้ใช้เชื้อเพลิงน้ำมันในช่วงปี 1941–43; เปลี่ยนหมายเลขใหม่เป็น 3800–3814 ในปี 1944; ทั้งหมดถูกทำลายระหว่างปี 1957 และ 1958 |
CSA-2 | 25 | อเมริกันโลโคโมทีฟ | 68924–68948 | 1937 | 3915–3939 | แปลงให้ใช้เชื้อเพลิงน้ำมัน; เปลี่ยนหมายเลขใหม่เป็น 3815–3839 ในปี 1944; ทั้งหมดทำลายในปี 1958 |
4664-3 | 20 | อเมริกันโลโคโมทีฟ | 69760–69779 | 1942 | 3950–3969 | หมายเลข 3968 ถูกแปลงให้ใช้เชื้อเพลิงน้ำมันในปี 1946 และเปลี่ยนหมายเลขเป็น 3944; ในปีเดียวกัน หมายเลข 3967 เคยลากขบวนรถนำเที่ยวของสโมสรรถไฟร็อกกีเมาน์เทน จากเดนเวอร์ รัฐโคโลราโด ไปยังแลรามี รัฐไวโอมิง เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 1953;[5][6] ทั้งหมดถูกทำลายระหว่างปี 1958 และ 1959 |
4664-4 | 31 | อเมริกันโลโคโมทีฟ | 70158–70162 70169–70182 70678–70683 |
1943 | 3975–3999 | มีการสร้างทั้งหมด 31 คัน แต่ส่งมอบให้แก่ยูเนียนแปซิฟิกเพียง 25 คัน (ดูรายละเอียดด้านล่าง); หมายเลข 3975 ถึง 3984 ถูกแปลงให้ใช้เชื้อเพลิงน้ำมันในปี 1945; เปลี่ยนหมายเลขใหม่เป็น 3708–3717 ในปี 1952; หมายเลข 3985 ให้บริการนำเที่ยวตั้งแต่ปี 1981 ถึง 2010; หมายเลข 3977 ได้รับการอนุรักษ์และจัดแสดงอยู่กับที่; ที่เหลือถูกทำลายในปี 1957 |
4664-5 | 20 | อเมริกันโลโคโมทีฟ | 72792–72811 | 1944 | 3930–3949 | หมายเลข 3930, 3931, 3932, 3934, 3937, 3938, 3943 และ 3944 ถูกแปลงให้ใช้เชื้อเพลิงน้ำมันในปี 1952; เปลี่ยนหมายเลขเป็น 3700–3707; ทั้งหมดถูกทำลายระหว่างปี 1957 และ 1959 |
ในปี ค.ศ. 1943 บริษัทอเมริกันโลโคโมทีฟ (ALCO) ได้ผลิตรถจักรให้แก่ยูเนียนแปซิฟิกจำนวน 31 คัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคำสั่งซื้อรุ่นที่สี่ของยูเนียนแปซิฟิก โดยใช้แบบแผนและข้อมูลจำเพาะทางเทคนิคที่เหมือนกันทั้งหมด อย่างไรก็ตาม หลังจากการผลิตเสร็จสิ้น คณะกรรมการผลิตเพื่อสงครามได้เปลี่ยนการส่งมอบรถจักร 6 คันไปให้บริษัทเดนเวอร์แอนด์รีโอแกรนด์เวสเทิร์นเรลโรด ผ่านการเช่าจากบริษัทโรงงานป้องกันประเทศ กระทรวงการสงคราม รถจักรหมายเลข 3900–3905 ได้ถูกจัดเป็นชั้น L-97 ของรีโอแกรนด์[7] ต่อมารถจักรเหล่านี้ถูกขายให้แก่บริษัทคลินช์ฟีลด์เรลโรดในปี ค.ศ. 1947 และได้รับการเปลี่ยนหมายเลขเป็น 670–675 โดยถูกจัดอยู่ในชั้น E-3 ของคลินช์ฟีลด์ ชาลเลนเจอร์ทั้ง 6 คันนี้ถูกปลดระวางในปี ค.ศ. 1953[8]
การเก็บรักษา
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Keefe, Kevin. "The Challenger at high tide". Classic Trains.
- ↑ "Union Pacific No. 3985's next stop - Trains Magazine - Trains News Wire, Railroad News, Railroad Industry News, Web Cams, and Forms". cs.trains.com. สืบค้นเมื่อ 2020-04-05.
- ↑ Glischinski, Steve (April 28, 2022). "Railroading Heritage of Midwest America, Union Pacific agree to donation of Challenger, other locomotives, cars". Trains. Kalmbach Publishing. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 28, 2022. สืบค้นเมื่อ April 28, 2022.
- ↑ Drury 2015, p. 319.
- ↑ Wright (1942), p. 413
- ↑ "Union Pacific's 40th Anniversary Steam Excursion DVD". Pentrex. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 11, 2017. สืบค้นเมื่อ June 14, 2019.
- ↑ Kalmbach, A.C., บ.ก. (August 1944). "Almost Identical Twins". Trains Magazine. 4: 29.
- ↑ Solomon 2009, p. 72.