ยูยูฮาคุโชมาเคียวโทอิซึเซ็ง
ยูยูฮาคุโชมาเคียวโทอิซึเซ็ง | |
---|---|
ผู้พัฒนา | เทรเชอร์ |
ผู้จัดจำหน่าย | |
กำกับ | เท็ตสึฮิโกะ คิกูจิ |
โปรแกรมเมอร์ |
|
ศิลปิน |
|
แต่งเพลง |
|
ชุด | ยูยูฮาคุโช |
เครื่องเล่น | เมกาไดรฟ์ |
วางจำหน่าย | |
แนว | ต่อสู้ |
รูปแบบ | ผู้เล่นเดี่ยว, หลายผู้เล่น |
ยูยูฮาคุโชมาเคียวโทอิซึเซ็ง (ญี่ปุ่น: 幽☆遊☆白書 魔強統一戦; อักษรโรมัน: Yu Yu Hakusho Makyō Tōitsusen)[1] เป็นเกมต่อสู้ ค.ศ. 1994 ที่พัฒนาโดยเทรเชอร์ และเผยแพร่โดยเซกาสำหรับระบบเมกาไดรฟ์ ซึ่งอิงจากซีรีส์มังงะคนเก่งฟ้าประทานโดยโยชิฮิโระ โทงาชิ ซึ่งเนื้อเรื่องดำเนินตามตัวเอก อุราเมชิ ยูสึเกะ ที่ได้รับมอบหมายจากจ้าวยมบาลแห่งโลกวิญญาณด้วยการไขคดีสไตล์นักสืบที่เกี่ยวข้องกับทั้งมนุษย์และปีศาจที่คุกคามโลกที่มีชีวิต เรื่องราวเริ่มให้ความสำคัญกับศึกศิลปะการต่อสู้อย่างมากในขณะที่มันดำเนินไป
เกมนี้มีตัวละครที่สามารถเล่นได้ 11 ตัวจากมังงะ และมีรูปแบบการเล่นเป็นการต่อสู้แบบ 2 มิติดั้งเดิม คู่ชิงในแต่ละยกพยายามทำลายพลังชีวิตของกันและกัน โดยใช้การโจมตีระยะสั้นและระยะไกล รวมถึงคอมโบพิเศษ นอกจากนี้ยังรวมกลไกอื่น ๆ เช่น การให้ผู้เล่นสูงสุดสี่คนทำการแข่งขันพร้อมกัน และปล่อยให้นักสู้สลับกันระหว่างระนาบแนวนอนในฉากหน้าและฉากหลัง เกมมีตัวเลือกสำหรับผู้เล่นหลายคนซึ่งรวมถึงแมตช์แบทเทิลรอยัล, แท็กทีม และโหมดทัวร์นาเมนต์
ภาคมาเคียวโทอิซึเซ็งได้รับการสร้างขึ้นตอนจุดสูงสุดของเกมต่อสู้ระดับโลกสำหรับคอนโซลภายในบ้านในช่วงต้นทศวรรษ 1990 ซึ่งนำโดยเกมที่ได้รับความนิยมอย่างสตรีทไฟเตอร์ II หลังจากบริษัทเปิดตัวในระบบนี้กับกันสตาร์ฮีโรส์ เทรเชอร์ก็เริ่มพัฒนามาเคียวโทอิซึเซ็งในฐานะหนึ่งในสี่เกมของเมก้าไดรฟ์ที่ได้รับการเผยแพร่โดยเซกา ไม่เหมือนกับชื่อเกมอื่น ๆ ที่เหลือ มาเคียวโทอิซึเซ็งไม่เคยได้รับการเปิดตัวในทวีปอเมริกาเหนือหรือยุโรป ซึ่งเกมที่วางจำหน่ายอย่างเป็นทางการที่อื่นอยู่ในประเทศบราซิลผ่านทางเตกตอยใน ค.ศ. 1999 โดยมีชื่อว่ายูยูฮาคุโช: ซันเซตไฟเตอส์ แม้จะมีจำนวนจำกัด แต่เกมดังกล่าวได้รับการประเมินโดยสิ่งพิมพ์ภาษาอังกฤษหลายฉบับ และได้รับการตอบรับในเชิงบวกจากนักวิจารณ์เป็นส่วนใหญ่ รูปบบการเล่นและตัวเลือกผู้เล่นสี่คนได้รับการยกย่องจากนักวิจารณ์หลายคน ซึ่งหลายคนมองว่าเกมนี้เป็นเกมต่อสู้ที่ดีที่สุดในยุค 16 บิต แม้ว่าจะถูกติเตียนเรื่องกราฟิกและเสียงก็ตาม
รูปแบบการเล่น
[แก้]ยูยูฮาคุโชมาเคียวโทอิซึเซ็งเป็นเกมต่อสู้ที่สร้างจากซีรีส์มังงะเรื่องราวเหนือธรรมชาติ คนเก่งฟ้าประทาน ซึ่งเขียนและวาดโดยโยชิฮิโระ โทงาชิ มังงะเรื่องนี้เดินเรื่องตามตัวเอกวัยรุ่น อุราเมชิ ยูสึเกะ ที่สละชีวิตเพื่อช่วยเด็กและได้รับการคืนชีพโดยจ้าวยมบาลแห่งโลกวิญญาณเพื่อไขคดีสไตล์นักสืบที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์และปีศาจที่คุกคามโลกที่มีชีวิต[2] เนื้อเรื่องเน้นหนักไปที่ศิลปะการต่อสู้ในขณะที่ดำเนินไป ภาคมาเคียวโทอิซึเซ็งให้ผู้เล่นเลือกหนึ่งใน 11 ตัวละครหลักจากมังงะ เกมนี้ไม่มีโหมดเนื้อเรื่อง, ไม่ดัดแปลง หรือผูกเข้ากับเนื้อเรื่องของเนื้อหาแหล่งที่มา และมีลักษณะไม่กี่อย่างจากนักพากย์ที่สนับสนุน[3] เกมดังกล่าวใช้แม่แบบเกมต่อสู้ที่ได้รับความนิยมจากซีรีส์สตรีทไฟเตอร์ ซึ่งวัตถุประสงค์ของการแข่งแต่ละแมตช์คือเพื่อให้ผู้เล่นหนึ่งคนหรือผู้เล่นหลายคนกำจัดคู่ต่อสู้โดยการลดมาตรวัดพลังชีวิตโดยใช้การโจมตีระยะสั้นและระยะไกลต่าง ๆ บรรดานักสู้จะเคลื่อนที่ในแนวนอนบนสนามรบ 2 มิติ และสามารถกระโดดจากพื้นเพื่อเข้าหาหรือข้ามคู่ต่อสู้ได้ การแข่งแบบตัวต่อตัวสามารถกระทำได้ แต่ภาคมาเคียวโทอิซึเซ็งอนุญาตให้มีตัวละครได้ถึงสี่ตัวในการต่อสู้พร้อมกันในแมตช์เดียว การดำเนินการที่เพิ่มเข้ามานี้เสริมด้วยการรวมเลเยอร์ที่สองในแต่ละสเตจ เช่นเดียวกับซีรีส์กาโรเด็นเซ็ตสึ ผู้เล่นสามารถกระโดดไปยังระนาบแนวนอนที่แยกในฉากหลัง[2][4][5][6][7] ส่วนการแข่งนั้นไม่จำกัดเวลา[2]
เนื่องจากฝ่ายตรงข้ามหลายคนสามารถเผชิญหน้าได้ทั้งด้านหน้าหรือด้านหลังผู้เล่น การกดแป้นควบคุมทิศทางถอยหลังจะทำให้ตัวละครหันหน้าไปในทิศตรงกันข้ามจากเดิม แทนที่จะถอยหนีหรือบล็อกการโจมตีของศัตรู ภาคมาเคียวโทอิซึเซ็งเข้ากันได้กับทั้งเกมแพดแบบสามปุ่มและหกปุ่มของเมกาไดรฟ์ ปุ่ม "A", "B" และ "C" ของคอนโทรลเลอร์แบบสามปุ่มสามารถจับคู่กับการโจมตีแบบเบา, การโจมตีหนัก และการป้องกันได้ ในขณะที่การเคลื่อนไหวอย่างการพุ่งไปข้างหน้า, การพุ่งถอยหลัง และการผลัดเปลี่ยนระนาบทำได้โดยใช้การผสมผสานพื้นฐาน ของแป้นทิศทางและปุ่ม ส่วนอินพุต "X", "Y" และ "Z" เพิ่มเติมบนคอนโทรลเลอร์แบบหกปุ่มช่วยให้สามารถจับคู่การทำงานทั้งหกเหล่านี้กับปุ่มแต่ละปุ่มได้[7][8] ตัวละครทุกตัวสามารถใช้คอมโบ และการโจมตีพิเศษเฉพาะตัวที่อาจทำได้บนพื้นดินหรือในอากาศ ซึ่งบางส่วนสามารถชาร์จสำหรับความเสียหายที่มากกว่า[6] เนื่องจากตัวควบคุมสามปุ่มเป็นแบบมาตรฐานและการกดปุ่มถอยหลังจะเปลี่ยนทิศทางของตัวละคร การทำคอมโบจึงค่อนข้างง่ายในการดำเนินการ[3][7] ส่วนความสามารถบางอย่างต้องการ "พลังงานวิญญาณ" ที่แสดงด้วยมาตรวัดที่สองภายใต้พลังชีวิตของนักสู้ และสามารถเติมได้โดยกดปุ่มโจมตีค้างไว้ การจู่โจมแบบชาร์จสามารถยกเลิกและจัดเก็บไว้ชั่วคราวได้โดยการกดถอยหลังบนแป้นทิศทาง แล้วปล่อยออกทันทีที่ระดับความแรงนั้นในครั้งต่อไปที่ผู้เล่นใช้[7] เกมดังกล่าวมีโหมดต่าง ๆ จำนวนมากที่ประกอบด้วยการต่อสู้แบบผู้เล่นเดี่ยวสำหรับการแมตช์แบบตัวต่อตัวที่ต่อเนื่องกัน, โหมดฝึกฝนที่ไม่มีที่สิ้นสุด และตัวเลือกแบบหลายผู้เล่นยังแบ่งออกเป็นแบตเทิลรอยัลที่มีผู้เข้าร่วมสี่คน และแมตช์แท็กทีมกับทีมตรงข้ามสองคน[8] นอกจากนี้ สามารถเลือกโหมดทัวร์นาเมนต์แบบคร่อมซึ่งผู้เล่นแต่ละคน, ทีมผู้เล่น และคอมพิวเตอร์สามารถต่อสู้ได้จนถึงการแข่งชิงแชมป์รอบสุดท้าย ผู้เล่นที่เป็นมนุษย์สูงสุดสี่คนสามารถเข้าร่วมในโหมดหลายผู้เล่น โดยใช้อุปกรณ์มัลติแทปทีมเพลเยอร์ของเซกา[2][7]
การพัฒนาและการตลาด
[แก้]ยูยูฮาคุโชมาเคียวโทอิซึเซ็งได้รับการพัฒนาโดยบริษัทเทรเชอร์ และผลิตร่วมกับโยชิฮิโระ โทงาชิ ผู้เขียนคนเก่งฟ้าประทาน, ชูเอชะผู้พิมพ์มังงะ, บริษัทสตูดิโอปิเอโรของอนิเมะฉบับดัดแปลง และฟูจิเทเลวิชันผู้ออกอากาศทางโทรทัศน์ ตลาดเครื่องเล่นวิดีโอเกมบ้านในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 อยู่ท่ามกลางความคลั่งไคล้เกมต่อสู้เนื่องจากเกมยอดนิยมอย่างสตรีทไฟเตอร์ II[2][3][7] ตลอดจนความนิยมพร้อมกันของคนเก่งฟ้าประทานในประเทศญี่ปุ่นทำให้เกมประเภทนี้ปรากฏบนแพลตฟอร์มเกมในบ้านและอุปกรณ์พกพาหลายแห่ง โดยหลังจากการเปิดตัวของบริษัทเทรเชอร์ในระบบเมกาไดรฟ์กับกันสตาร์ฮีโรส์นั้น เกมภาคมาเคียวโทอิซึเซ็งเป็นหนึ่งในสี่เกมที่บริษัทพัฒนาพร้อมกันสำหรับระบบดังกล่าวโดยมีบริษัทเซกาเป็นผู้เผยแพร่[9][10] ทั้งนี้ เกมภาคมาเคียวโทอิซึเซ็งเป็นเกมต่อสู้เกมแรกของบริษัทเทรเชอร์ และเป็นเกมที่สองที่สร้างจากทรัพย์สินที่ได้รับลิขสิทธิ์ หลังจากแมคโดนัลส์เทรเชอร์แลนด์แอดเวนเจอร์[11]
บริษัทเทรเชอร์เดิมสร้างภาคมาเคียวโทอิซึเซ็งในฐานะเกมต้นฉบับชื่อแอ็กเซียน ก่อนจะแปลงเป็นชื่อยูยูฮาคุโช[12][13] โครงการนี้อำนวยการสร้างโดยเท็ตสึฮิโกะ คิกูจิ และดูแลโดยผู้ก่อตั้งบริษัทเทรเชอร์ รวมถึงมาซาโตะ มาเองาวะ ผู้เป็นประธาน จากข้อมูลของคิกูจิ เกมแอ็กเซียนถือกำเนิดขึ้นในช่วง ค.ศ. 1993 เมื่อบริษัทสังเกตเห็นว่าขาดเกมการต่อสู้เฉพาะตัวของเมกาไดรฟ์ที่ไม่เหมือนใคร อย่างไรก็ตาม การผลิตหยุดชะงักลงเมื่อเกมที่มีโลกและแนวคิดคล้ายกันถูกกำหนดให้เอาชนะแอ็กเซียนออกสู่ตลาด แผนการของบริษัทเทรเชอร์สำหรับเกมของพวกเขาได้รับการพิจารณาใหม่หลายครั้งก่อนที่จะประสานงานลิขสิทธิ์คนเก่งฟ้าประทาน ซึ่งคิกูจิเชื่อว่าจะทำยอดขายได้ดี[12] มาเองาวะกล่าวว่ากลไกการควบคุมและรูปแบบการเล่นรวมถึงด่านหลายระนาบนั้นได้รับการสร้างขึ้นแล้วสำหรับเกมแอ็กเซียนก่อนที่กระบวนการที่ยากลำบากในการปรับปรุงเกมใหม่ด้วยเนื้อหาของคนเก่งฟ้าประทาน[14] โดยบริษัทเซกามอบหมายให้โยอิจิ ชิโมซาโตะ สนับสนุนการผลิตเกมนี้หลังจากที่เขาเข้าร่วมแผนกวิจัยผู้บริโภคภายนอกของบริษัทใน ค.ศ. 1993[15] แม้ว่าผู้พัฒนาจะดูมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับบริษัทเซกา แต่มาเองาวะก็อ้างว่าการสื่อสารของผู้จัดจำหน่ายไม่ดี และไม่ได้ให้ความช่วยเหลือแก่บริษัทเทรเชอร์ในระหว่างการสร้างเกม[16]
ทีมงานของบริษัทเทรเชอร์ประกอบด้วยคิกูจิในฐานะผู้กำกับและนักออกแบบกราฟิกหลัก; ศิลปินกราฟิกคือมาโกโตะ โองิโนะ และฮิโรชิ อิอูจิ; โปรแกรมเมอร์คือมาซากิ อุเกียว และมิตสึรุ ไยดะ รวมถึงซาวด์เอฟเฟกต์นำและผู้แต่งเพลงคือซาโตชิ มูราตะ ซึ่งคิกูจิรู้สึกขอบคุณผู้สร้างแอนิเมชันของเกมที่ใช้ภาพสะท้อนสไปรต์ของตัวละคร แต่บอกเป็นนัยว่าการไม่คำนึงถึงจำนวนหน่วยความจำที่พวกเขาต้องการทำให้เกิดปัญหา[12] ส่วนอุเกียวพบว่ามันเป็นเรื่องท้าทายที่สุดที่จะเขียนโปรแกรมให้มีตัวละครสี่ตัวพร้อมกันบนหน้าจอ และทำให้พวกเขาสามารถเปลี่ยนทิศทางที่พวกเขาเผชิญได้อย่างอิสระ[12] นอกจากคัตสึฮิโกะ ซูซูกิ, อากิ ฮาตะ และโนริโอะ ฮันซาวะ แล้ว มูราตะยังแต่งเพลงต้นฉบับสำหรับเกมนี้ ในขณะเดียวกันก็จัดเตรียมเพลงโฮโฮเอมิโนะบากูดังและอันบาลานซ์นะคิสโอะชิเตะจากอนิเมะคนเก่งฟ้าประทานเช่นกัน[12][17] อนึ่ง ธีมหลักของเกมนี้คือ "โทเกไนโฮโน" (溶けない炎, เปลวไฟที่ไม่ละลาย) เขียนและเรียบเรียงโดยฮาตะ ซึ่งเป็นผู้บรรเลงเพลงในเวอร์ชันร้องสำหรับซีดีซาวด์แทร็กอย่างเป็นทางการ รวมถึงหนึ่งในอัลบัมของเธอเองในเวลาต่อมา[18] เกมดังกล่าวยังมีตัวอย่างเสียงตัวละครดิจิทัลจำนวนมากที่แสดงถึงเสียงพากย์อนิเมะเช่นกัน[19][20] โดยคิกูจิพอใจกับคุณภาพของเสียงพูดของเกมนี้แม้ว่าเมกาไดรฟ์จะมีความสามารถในการสังเคราะห์เสียงได้ด้อยกว่าเมื่อเทียบกับซูเปอร์แฟมิคอมซึ่งเป็นคู่แข่งหลักของเครื่องเล่นดังกล่าวก็ตาม[12]
ภาคมาเคียวโทอิซึเซ็งวางจำหน่ายในประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 1994[21] เวอร์ชันเมกาไดรฟ์ประสบความสำเร็จในเชิงพาณิชย์ในญี่ปุ่นน้อยกว่าในต่างประเทศ และเนื่องจากบริษัทเทรเชอร์รักษาผลกำไรด้วยการจัดส่งผลิตภัณฑ์จำนวนเล็กน้อย เกมดังกล่าวจึงมีเพียงไม่กี่หน่วยที่จำหน่ายปลีก[3][7] ซึ่งมาเองาวะผู้ร่วมก่อตั้งได้ยืนยันว่าเทรเชอร์ได้พัฒนาเกมโดยคำนึงถึงตลาดต่างประเทศอยู่เสมอ[16] แม้จะมีปัจจัยเหล่านี้ แต่ภาคมาเคียวโทอิซึเซ็งก็ไม่เคยได้รับการแปลอย่างเป็นทางการในทวีปอเมริกาเหนือหรือยุโรป ซึ่งอาจเป็นเพราะแฟรนไชส์คนเก่งฟ้าประทานไม่เป็นที่รู้จักในภูมิภาคเหล่านั้นในช่วงอายุของเมกาไดรฟ์[2][4][7] และยังคงเป็นเกมเมกาไดรฟ์ของบริษัทเทรเชอร์ที่ไม่มีการเปิดตัวในดินแดนเหล่านี้[22] อย่างไรก็ตาม เกมดังกล่าวได้รับอนุญาตโดยบริษัทเตกตอย ซึ่งแปลเป็นภาษาโปรตุเกส และวางจำหน่ายในประเทศบราซิลใน ค.ศ. 1999 ในชื่อยูยูฮาคุโช: ซันเซตไฟเตอส์[19][23] โดยอนิเมะพากย์ภาษาโปรตุเกสโดยเรจีมาเชทชี[23] ได้เริ่มออกอากาศในทวีปอเมริกาใต้แล้ว ในขณะที่เมกาไดรฟ์ยังคงรักษาสถานะที่แข็งแกร่งในประเทศบราซิลตลอดทศวรรษส่วนใหญ่เนื่องมาจากความร่วมมือในการจัดจำหน่ายระหว่างเตกตอยและเซกา[24][25] ซึ่งนอกเหนือจากข้อความแล้ว ภาคมาเคียวโทอิซึเซ็งทั้งสองเวอร์ชันเกือบจะเหมือนกันหมด ทั้งนี้ การแปลภาษาโปรตุเกสขึ้นชื่อในเรื่องที่ตรงตามตัวอักษรมากเกินไป จนไม่สามารถเข้าใจได้ ควบคู่ไปกับการเปลี่ยนชื่อตัวละครหลายตัว[7][19] เช่นเดียวกับฉบับภาษาญี่ปุ่น ซึ่งมีการจัดส่งสำเนาน้อยมาก[2][19] และไม่พบการเผยแพร่ภาคมาเคียวโทอิซึเซ็งซ้ำในรูปแบบดิจิทัลมานานกว่าสองทศวรรษหลังจากเปิดตัวครั้งแรก ซึ่งอาจเนื่องมาจากปัญหาลิขสิทธิ์[7][26][27] หลังจากความสำเร็จของนินเท็นโดคลาสสิกมินิ: แฟมิลีคอมพิวเตอร์ และนินเท็นโดคลาสสิกมินิ: ซูเปอร์แฟมิคอม ของบริษัทนินเท็นโดใน ค.ศ. 2016 และ 2017 ตามลำดับ มาเองาวะได้แสดงความสนใจให้เซกาเปิดตัวเมกาไดรฟ์เวอร์ชันเฉพาะงานที่คล้ายกัน[16] ในที่สุด เมกาไดรฟ์มินิก็ได้วางจำหน่ายทั่วโลกใน ค.ศ. 2019 และภาคมาเคียวโทอิซึเซ็งก็รวมอยู่ในเวอร์ชันภาษาญี่ปุ่น[28]
การตอบรับและสิ่งสืบทอด
[แก้]การตอบรับ | ||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
เมื่อเกมยูยูฮาคุโชมาเคียวโทอิซึเซ็งก็ได้รับคะแนนบทวิจารณ์เฉลี่ยจากนิตยสารญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียงหลายฉบับ เช่น แฟมิซือ และบีป! เมกาไดร์ฟ[21][29] แม้ว่าจะไม่เคยมีการแปลอย่างเป็นทางการในภูมิภาคอื่นนอกเหนือจากทวีปอเมริกาใต้ แต่ก็มีการนำเข้าโดยสิ่งพิมพ์และสิ่งพิมพ์ออนไลน์ในทวีปอเมริกาเหนือกับยุโรปและได้รับการยกย่องมากกว่าที่ทวีปดังกล่าว ซึ่งนิก เดส บาร์เรส จากนิตยสารเกมแฟน ทอม สแตรตตัน จากเกมเมอส์รีพับลิก และบรรณาธิการของนิตยสารรีโทรเกมเมอร์ต่างกล่าวชื่นชมเกมนี้เป็นอย่างมาก โดยเดส บาร์เรส ระบุถึงเกมนี้ว่าเป็น "เกมต่อสู้ 16 บิตที่ดีที่สุดเท่าที่เคยมีมา" ในบทวิจารณ์เมื่อ ค.ศ. 1994 และสรุปว่า "ยูยูฮาคุโชเป็นเกมที่ต้องเห็นด้วยตาตัวเองถึงจะเชื่อ"[5] ส่วนสแตรตตันยังได้อธิบายถึงเกมนี้ใน ค.ศ. 1999 ว่าเป็น "เป็นบรรดานักสู้ 16 บิตที่ดีที่สุดเกมหนึ่งที่เคยมีมา"[6] ตลอดจนนิตยสารรีโทรเกมเมอร์ได้ยกย่องเกมนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า โดยอธิบายว่าอาจเป็นเกมยูยูฮาคุโชที่ดีที่สุด รวมถึงเป็นหนึ่งในเกมเมกาไดร์ฟและเกมต่อสู้ที่ดีที่สุดในยุค 16 บิต[2][25][35] ส่วนเคิร์ต คูลาตา จากนิตยสารออนไลน์ฮาร์ดคอร์เกมมิง 101 กล่าวว่าเกมดังกล่าวสามารถกลายเป็นหนึ่งในเกมลิขสิทธิ์อนิเมะที่ดีที่สุดที่สามารถเทียบชั้นกับเกมต่อสู้ในรายการแข่งขันอื่นได้[7]
ตัวเลือกรูปแบบการเล่นและหลายผู้เล่นถือเป็นจุดเด่นสำหรับนักวิจารณ์จำนวนมาก นิตยสารเรโทรเกมเมอร์สรุปว่าภาคมาเคียวโทอิซึเซ็งเป็น "เกมที่สนุกมากในโหมดผู้เล่นเดี่ยว" โดยเป็นเกมต่อสู้แบบอนิเมะที่เกินจริงและแปลกประหลาด นอกจากนี้ ยังชื่นชมโหมดหลายผู้เล่นเช่นกัน[36] สแตรตตัน, คูลาตา และนิตยสารอิเล็กทรอนิกเกมมิงมันท์ลี (EGM) ต่างพบว่ารูปแบบการเล่นนั้นมีความสมดุลดี[6][7][8] สแตรตตันได้ใช้เลเยอร์สองชั้นของเกมเป็นตัวอย่างว่าทำอย่างไรจึงจะรักษาสมดุลนี้ได้ โดยอธิบายว่าผู้เล่นสามารถปัดป้องศัตรูได้อย่างมีกลยุทธ์ด้วยการสลับระนาบหรือชาร์จการโจมตีเพื่อรับมือกับศัตรูที่กระโดดเข้ามาในระนาบของพวกเขา[6] ส่วนคูลาตาได้ให้เครดิตกลไกการเปลี่ยนระนาบในลักษณะเดียวกันสำหรับการให้ความสำคัญกับการป้องกันและการรุกของผู้เล่นอย่างเท่าเทียมกัน และสังเกตว่าการโจมตีด้วยโพรเจกไทล์นั้นจะมีพลังน้อยกว่าต่อยและเตะมาตรฐาน เมื่อเทียบกับเกมแนวต่อสู้ในยุคเดียวกัน[7] นอกจากนี้ กัส สวอน และสตีฟ เมร์เรตต์ ผู้เขียนนิตยสารมีนแมชชีนส์เซกา รวมทั้งทอดด์ ชีโอเลก ผู้ร่วมให้ข้อมูลจากอนิเมะนิวส์เนตเวิร์กต่างรู้สึกพอใจกับโหมดเกมเสริมที่มีหลากหลาย[3][31] อย่างไรก็ตาม สวอนและเมร์เรตต์ได้ติเตียนรูปแบบการเล่นโดยรวมมากกว่า โดยชี้ให้เห็นถึงจังหวะที่ "เชื่องช้า" และปัญญาประดิษฐ์ที่ไม่เฉียบแหลม ทั้งคู่กล่าวว่าเกมนี้ไม่สามารถเทียบกับสตรีทไฟเตอร์ II และมอร์ทัลคอมแบต II ได้ เนื่องจากเกมทั้งสองเกมเข้าถึงเกมเมอร์ชาวตะวันตกได้ง่ายกว่าใน ค.ศ. 1994[31] ส่วนนิตยสารอิเล็กทรอนิกเกมมิงมันท์ลียอมรับว่ามีปัญหาในการตามทันการกระทำของตัวละครหลายตัวในการต่อสู้เดียว[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 幽☆遊☆白書 魔強統一戦
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 2.7 Retro Gamer staff (August 2009). "Import Only: Yu Yu Hakusho Sunset Fighters". Retro Gamer. No. 66. Imagine Publishing. pp. 46–7. ISSN 1742-3155.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 Ciolek, Todd (October 29, 2008). "Field of Fire - The X Button". Anime News Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 4, 2018. สืบค้นเมื่อ November 22, 2018.
- ↑ 4.0 4.1 Miller, Patrick (February 11, 2016). "17 mold-breaking fighting games that all developers should study". Gamasutra. UBM plc. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 31, 2018. สืบค้นเมื่อ November 16, 2018.
- ↑ 5.0 5.1 Des Barres, Nick (October 1994). "Japan Now". GameFan. Vol. 2 no. 10. DieHard Gamers Club. p. 166. ISSN 1092-7212.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 Stratton, Tom (November 1999). "Retro Archives: Yu Yu Hakusho". Gamer's Republic. Vol. 2 no. 6. Millennium Publications. p. 98. ISSN 1520-5169.
- ↑ 7.00 7.01 7.02 7.03 7.04 7.05 7.06 7.07 7.08 7.09 7.10 7.11 7.12 Kulata, Kurt (May 2, 2008). "Yu Yu Hakusho: Makyou Touitsusen". Hardcore Gaming 101. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 29, 2018. สืบค้นเมื่อ November 20, 2018.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 8.3 Electronic Gaming Monthly staff (December 1994). "International Outlook". Electronic Gaming Monthly. Vol. 7 no. 12. Ziff Davis. pp. 110–3. ISSN 1058-918X.
- ↑ Gantayat, Anoop (March 6, 2006). "Maegawa Talks Gunstar". IGN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 1, 2018. สืบค้นเมื่อ November 10, 2018.
- ↑ Sega staff. "名作アルバム -『ガンスターヒーローズ』- P4" [Class Album - Gunstar Heroes - Part 4] (ภาษาญี่ปุ่น). Sega. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 14, 2015. สืบค้นเมื่อ November 11, 2018.
- ↑ Retro Gamer staff (July 2011). "From The Archives: Treasure". Retro Gamer. No. 91. Imagine Publishing. pp. 68–75. ISSN 1742-3155.
- ↑ 12.0 12.1 12.2 12.3 12.4 12.5 Etsuko Shimada (July 1994). "Special Report: 幽☆遊☆白書". Beep! MegaDrive (ภาษาญี่ปุ่น). No. 58. SoftBank Creative. pp. 35–36. OCLC 852214170. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 20, 2022.
- ↑ Kikuchi Tetsuhiko (December 29, 1996). はんの個人誌 落描帳総集編 (壱~参) [Han's Personal Magazine Doodle Book Omnibus (1~3)] (ภาษาญี่ปุ่น). Self-published doujinshi. pp. 1–130.
- ↑ Famitsu staff (November 15, 2018). "メガドライブ生誕30周年記念特集!" [Special feature on the 30th anniversary of the birth of Mega Drive!]. Weekly Famitsu (ภาษาญี่ปุ่น). No. 1561. Gzbrain. OCLC 852442485.
- ↑ Sega staff (March 17, 2005). "Sega Voice Vol. 13" (ภาษาญี่ปุ่น). Sega. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 24, 2016. สืบค้นเมื่อ November 11, 2018.
- ↑ 16.0 16.1 16.2 McFerrin, Damien (October 31, 2017). "Treasure's Masato Maegawa Wants Sega To Make A Mega Drive Mini". Nintendo Life. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 2, 2018. สืบค้นเมื่อ November 10, 2018.
- ↑ "幽遊白書 魔強統一戦 サウンドトラック" [Yu Yu Hakusho Makyō Tōitsusen Soundtrack] (ภาษาญี่ปุ่น). Treasure. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 2, 2018. สืบค้นเมื่อ November 12, 2018.
- ↑ Hata Aki (December 21, 2007). "隷属快美の娘達~BEST SONGS II~ / 畑 亜貴" [Reizoku Kaibi no Musumetachi ~BEST SONGS II~ / Aki Hata] (ภาษาญี่ปุ่น). Aki Hata. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 1, 2018. สืบค้นเมื่อ November 17, 2018.
- ↑ 19.0 19.1 19.2 19.3 Tectoy staff (February 9, 2017). "Yuyu Hakusho para Mega Drive – O jogo que só saiu no Japão e no Brasil!" [Yu Yu Hakusho for Mega Drive – The game that only came out in Japan and Brazil!] (ภาษาโปรตุเกส). Tectoy. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 4, 2018. สืบค้นเมื่อ November 12, 2018.
- ↑ Beep! MegaDrive staff (September 1994). "Treasure Factory Deluxe: Yu Yu Hakusho Makyō Tōitsusen". Beep! MegaDrive (ภาษาญี่ปุ่น). SB Creative. pp. 48–9. OCLC 852214170.
- ↑ 21.0 21.1 21.2 Famitsu staff (October 7, 1994). "New Games Cross Review 新作ゲームクロスレビュー". Weekly Famitsu (ภาษาญี่ปุ่น). No. 303. ASCII Corporation. p. 40. OCLC 852442485. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 4, 2018. สืบค้นเมื่อ December 1, 2018.
- ↑ Retro Gamer staff (February 2013). "Sega Mega Drive: Collector's Guide". Retro Gamer. No. 112. Imagine Publishing. p. 74. ISSN 1742-3155.
- ↑ 23.0 23.1 Ação Games staff (August 1999). "Notas: Novo game em português" [Notes: New game in Portuguese]. Ação Games (ภาษาโปรตุเกส). No. 142. Editora Abril. p. 12. ISSN 0104-1630.
- ↑ JBox staff (June 16, 2007). "Yu Yu Hakusho" (ภาษาโปรตุเกส). JBox. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 3, 2018. สืบค้นเมื่อ November 10, 2018.
- ↑ 25.0 25.1 25.2 Retro Gamer staff (November 2006). "Company Profile: Tec Toy". Retro Gamer. No. 30. Imagine Publishing. p. 50. ISSN 1742-3155.
- ↑ Kennedy, Sam (January 4, 2007). "Treasure Talks 360, Wii, and PS3". 1Up.com. IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 27, 2007. สืบค้นเมื่อ November 25, 2018.
- ↑ Fletcher, JC (November 7, 2007). "IMPORTSHOCK! More Sega imports on the way". Engadget. Weblogs, Inc. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 29, 2018. สืบค้นเมื่อ November 24, 2018.
- ↑ Cabrera, David (September 29, 2019). "The Japanese Sega Genesis Mini: How American players are missing out". Polygon. Vox Media. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 29, 2021. สืบค้นเมื่อ August 21, 2022.
- ↑ 29.0 29.1 Beep! MegaDrive staff (October 1994). "Be-Mega Hot Menu: Yu Yu Hakusho Makyō Tōitsusen". Beep! MegaDrive (ภาษาญี่ปุ่น). SB Creative. p. 20. OCLC 852214170.
- ↑ Joypad staff (November 1994). "Import Super Famicom: YuYuHakusho Makyotoissen". Joypad (ภาษาฝรั่งเศส). No. 33. p. 166. ISSN 1163-586X.
- ↑ 31.0 31.1 31.2 Swan, Gus; Merrett, Steve (February 1995). "Mega Drive Review: Yu Yu Hakusho". Mean Machines Sega. No. 28. EMAP. pp. 68–70. ISSN 0967-9014.
- ↑ Cordon, Ivan (May 1998). "Jogos da Edição: Yu Yu Hakusho 2 - Mega Drive" [Game Reviews: Yu Yu Hakusho 2 - Mega Drive]. Ação Games (ภาษาโปรตุเกส). No. 127. Editora Abril. pp. 36–7. ISSN 0104-1630.
- ↑ Mega Console staff (February 1995). "Review Mega Drive: Yu Yu Hakusho". Mega Console (ภาษาอิตาลี). No. 12. Italy: Futura Publishing. pp. 78–80. OCLC 955744385.
- ↑ PlayStation Magazine staff (April 15, 1998). 超絶 大技林 '98年春版: メガドライブ - 幽☆遊☆白書 魔強統一戦 [Chōzetsu Daigirin '98 Spring Edition: Mega Drive - Yu Yu Hakusho Makyō Tōitsusen]. PlayStation Magazine (ภาษาญี่ปุ่น). Vol. 42. Tokuma Shoten Intermedia. p. 885. ASIN B00J16900U.
- ↑ Retro Gamer staff (December 2004). "Feature Profile: Treasure Trove". Retro Gamer. No. 8. Live Publishing. p. 50. ISSN 1742-3155.
- ↑ Retro Gamer staff (October 2005). "Great import-only games". Retro Gamer. No. 18. Live Publishing. p. 50. ISSN 1742-3155.