ข้ามไปเนื้อหา

ยูกิโอ เทรดดิงการ์ดเกม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยูกิโอ เทรดดิงการ์ดเกม
ด้านหลังการ์ดยูกิโอ
ผู้จัดทำญี่ปุ่น:
โคนามิ
(1999−ปัจจุบัน)
สหรัฐ:
Upper Deck Company
(2002−2008)
โคนามิ
(2008−ปัจจุบัน)
จำนวนผู้เล่น• 1 vs. 1
• 2 vs. 2[1]

ยูกิโอ เทรดดิงการ์ดเกม (อังกฤษ: Yu-Gi-Oh! Trading Card Game) หรือ ยูกิโอ ออฟฟิเชียลการ์ดเกม (ญี่ปุ่น: 遊☆戯☆王オフィシャルカードゲームโรมาจิYū-Gi-Ō Ofisharu Kādo Gēmu) เป็นเกมการ์ดสะสม (collectible card game) ของแฟรนไชส์เกมกลคนอัจฉริยะ เผยแพร่ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) โดยบริษัท โคนามิ ในประเทศญี่ปุ่น

วิธีการเล่น

[แก้]

การวัดผลแพ้-ชนะ

[แก้]

เกมๆ หนึ่ง จะนำเนินไปเรื่อยๆ ตามขั้นตอน จนกว่าจะเกิดเหตุการณ์ต่อไปนี้ขึ้น โดยผู้เล่นอีกฝ่ายจะเป็นผู้ชนะ

  • ค่าพลังชีวิต (ไลฟ์พอยนต์) ของผู้เล่นกลายเป็น 0
  • ผู้เล่นไม่สามารถจั่วการ์ดได้ เนื่องจากกองการ์ดไม่มีการ์ดเหลือพอที่จะกระทำ (เด็คเอ้าท์)
  • ผู้เล่นประกาศยอมแพ้

นอกจากนี้ จะมีการ์ดที่สามารถทำให้ผู้เล่นชนะเกมได้ โดยไม่สนใจเงื่อนไขข้างต้น เป็นการชนะแบบพิเศษ

โซน

[แก้]

เป็นช่องในสนามที่กำหนดให้ลง

  • เด็ค/กองการ์ด
ผู้เล่นสามารถจัดเด็คได้ 40 ถึง 60 ใบ เพื่อจั่วออกมาและเรียกใช้
  • เอ็กซ์ตร้าเด็ค
ผู้เล่นสามารถใส่การ์ดได้ 15 ใบในเอ็กซ์ตร้าเด็ค โดยต้องเป็นมอนสเตอร์ฟิวชั่น, ซิงโคร, เอ็กซีส และลิงก์ ส่วนมอนสเตอร์เพนดูลัมที่อยู่บนสนามจะไม่ถูกส่งลงสุสาน แต่จะไปอยู่บนเอ็กซ์ตร้าเด็คในสภาพหงายหน้าแทน
  • มือ
ชุดการ์ดที่ผู้เล่นสามารถใช้ได้ทันที
  • สุสาน
เป็นโซนของการ์ดที่ถูกส่งไปหลังจากต่อสู้หรือด้วยเอฟเฟกต์การ์ด, ใช้เป็นเครื่องสังเวยหรือที่ถูกส่งจากมือช่วงในเอนด์เฟสหากมีการ์ดเกิน 6 ใบในมือ
  • โซนมอนสเตอร์หลัก
มีอยู่ 5 โซน ใช้ในการลงการ์ดมอนสเตอร์
  • โซนมอนสเตอร์เอ็กซ์ตร้า
มีอยู่ 2 โซน ใช้ในการลงการ์ดมอนสเตอร์จากเอ็กซ์ตร้าเด็ค แบ่งกันใช้ระหว่าผู้เล่นสองฝ่าย
  • โซนเวทมนตร์และกับดัก
มีอยู่ 5 โซน ใช้ในการลงการ์ดเวทมนตร์และกับดัก
  • โซนเวทมนตร์พื้นที่
มีอยู่โซนเดียว ใช้กับการ์ดเวทมนตร์พื้นที่
  • โซนเพนดูลัม
มีอยู่ 2 โซน สำหรับการทำเพนดูลัมโซนให้กับมอนสเตอร์เพนดูลัม ล่าสุด ได้เปลี่ยนไปอยู่ในโซนเวทย์กับดัก ริมซ้ายและขวา
  • นอกเกม
เป็นโซนสำหรับการ์ดที่ถูกนำออกไปจากเกม

เฟส

[แก้]

ช่วงเวลาที่ต้องทำในเวลาเล่นการ์ดตามลำดับ

  • ดรอว์เฟส
ช่วงเวลาจั่วการ์ด
  • สแตนบายเฟส
ช่วงเวลาเตรียมพร้อม ไม่มีความสำคัญ นอกจากจะมีความสามารถของการ์ดมาเกี่ยวข้อง
  • เมนเฟส 1
ช่วงเวลาอัญเชิญมอนสเตอร์ลงสนาม ใช้งานหรือหมอบคว่ำการ์ดเวทมนตร์/กับดัก เตรียมการต่อสู้
  • แบทเทิลเฟส
ช่วงเวลาทีสั่งให้มอนสเตอร์บนสนามโจมตีใส่มอนสเตอร์อีกฝ่ายหรือผู้เล่น
  • เมนเฟส 2
ช่วงเวลาที่อัญเชิญมอนสเตอร์หากยังไม่ได้อัญเชิญในเทิร์นนี้หรือผลของเอฟเฟค ใช้งานการ์ดเวท/กับดัก หมอบการ์ดเวท/กับดัก ต่อจากแบทเทิ่ลเฟส
  • เอนด์เฟส
ช่วงเวลาที่เล่นการ์ดในเทิร์นเราเสร็จ แล้วเปลี่ยนเป็นตาคนอื่น

การ์ดมอนสเตอร์

[แก้]

องค์ประกอบของการ์ดมอนสเตอร์

[แก้]
  • ค่า ATK และ DEF
มอนสเตอร์แต่ละตัวจะมีพลังโจมตีและพลังป้องกัน สำหรับการคำนวณความเสียหายในการต่อสู้
  • ธาตุ
การจำแนกประเภทมอนสเตอร์แบบหนึ่ง แบ่งออกเป็น แสง, มืด, ดิน, ลม, ไฟ, น้ำ
  • เผ่า
การจำแนกประเภทมอนสเตอร์อีกแบบหนึ่ง คู่กับธาตุ มีการ์ดมอนสเตอร์อยู่ 25 ประเภทคือ มังกร, จอมเวทย์, อันเดธ, นักรบ, นักรบสัตว์, สัตว์ป่า, สัตว์ปีก, อสูร, นางฟ้า, แมลง, ไดโนเสาร์, สัตว์เลื้อยคลาน, ปลา, มังกรทะเล, เครื่องจักร, สายฟ้า, น้ำ, ไฟ, หิน, พืช, สัตว์เทพมายา, มังกรมายา, เทพผู้สร้าง, ไซคิก และไซเบิร์ส
  • เอฟเฟค
การ์ดทุกใบจะมีข้อมูลที่เขียนอยู่ล่างล่างของการ์ด โดยมักจะเป็นข้อมูลความสามารถพิเศษ
  • เลเวล/แรงค์
ระดับของมอนสเตอร์ ตั้งแต่ 1 ถึง 12. "แรงค์" เป็นระดับพิเศษเฉพาะมอนสเตอร์เอ็กซีสเท่านั้น แยกกับมอนสเตอร์ชนิดอื่น โดยมีแรงค์ตั้งแต่ 0 ถึง 13 (แรงค์ 13 มีเฉพาะในอนิเมะเท่านั้น)
  • เพนดูลัมสเกล
มอนสเตอร์เพนดูลัม 2 สเกล โดยมอนสเตอร์เพนดูลัมในสเกลจะเรียกเพนดูลัมสเกลแทนเลเวล ซึ่งทำให้สามารถอัญเชิญพิเศษมอนสเตอร์เพนดูลัมแบบพิเศษได้มีตั้งแต่สเกล 0 ถึง 13
  • ลิงก์เรตติ้ง
ระดับของมอนสเตอร์ลิงก์ โดยเป็นมอนสเตอร์ที่ไม่มีทั้งเลเวล, แรงค์และพลังป้องกัน แต่มีลิงก์เรตติ้ง โดยมีลิงก์เรตติ้งตั้งแต่ 1 ถึง 8 (ปัจจุบันมีถึงเพียงลิงค์ 6)
  • ลิงก์มาร์คเกอร์
ลูกศรสีหรือลิงก์มาร์คเกอร์บนการ์ดมอนสเตอร์ลิงก์ที่ชี้ไปนั้นสามารถเรียกมอนสเตอร์จากเอ็กซ์ตร้าเด็คมาได้เท่ากันจำนวนลูกศรสีที่ชี้ไปไม่ว่าจะชี้ไปที่พื้นที่ของเราหรือศัตรู

ประเภทมอนสเตอร์

[แก้]
การ์ดที่อยู่ในเด็คหลัก
[แก้]
มอนสเตอร์ปกติ (กรอบการ์ดสีเหลือง)
ไม่มีความสามารถพิเศษ ใช้ในการต่อสู้เป็นหลัก
เอฟเฟกต์มอนสเตอร์ (กรอบการ์ดสีน้ำตาล)
มอนสเตอร์ที่มีความสามารถพิเศษ
มอนสเตอร์พิธีกรรม (กรอบการ์ดสีฟ้า)
มอนสเตอร์ที่เกิดจากการสังเวยมอนสเตอร์ตัวอื่นด้วยเอ็ฟเฟ็กต์ของการ์ดเวทย์พิธีกรรม
เพนดูลัมมอนสเตอร์ (ส่วนบนของกรอบเป็นสีตามแต่ประเภทของมอนสเตอร์ส่วนกรอบล่างเป็นสีเขียว)
มอนสเตอร์กึ่งเวท สามารถใช้เป็นมอนสเตอร์ หรือ เวทมนตร์ (บนโซนเพนดูลัม) กรณีที่จะถูกส่งลงสุสานจากสนาม จะไปหงายหน้าในเอ็กซตร้าเด็คแทน ในกรณีที่ใช้เป็นเวทมนตร์ครบ 2 ใบ จะสามารถอัญเชิญเพนดูลั่มมอนสเตอร์ที่มีเลเวลหรือแรงค์อยู่ระหว่างเพนดูลั่มสเกลของทั้ง 2 ใบหลายตัวพร้อมกันได้
การ์ดที่อยู่ในเอ็กซ์ตร้าเด็ค
[แก้]
มอนสเตอร์ฟิวชั่น (กรอบการ์ดสีม่วง)
มอนสเตอร์ที่เกิดจากการรวมวัตถุดิบเข้าด้วยกันทั้งจากการ "ฟิวชั่น" ,ความสามารถของการ์ดอื่นๆหรือแล้วแต่เงื่อนไขการอัญเชิญของมอนสเตอร์ฟิวชั่นตัวนั้น ๆ
มอนสเตอร์ซิงโคร (กรอบการ์ดสีขาว)
มอนสเตอร์ที่เกิดจากการรวมเลเวลมอนสเตอร์จูนเนอร์ กับมอนสเตอร์ตัวอื่น
มอนสเตอร์เอ็กซีด (กรอบการ์ดสีดำ)
มอนสเตอร์ที่เกิดจากการใช้มอนสเตอร์ 2 ตัวขึ้นไปที่มีเลเวลเหมือนกัน วางซ้อนทับกัน
มอนสเตอร์ลิงก์ (กรอบการ์ดสีน้ำเงินเข้ม)
มอนสเตอร์ที่เกิดจากการรวมวัตถุดิบตามเงื่อนไข โดยจะเป็นมอนสเตอร์ที่ไม่มีทั้งเลเวล, แรงค์และพลังป้องกัน แต่มีค่าลิงก์และลิงก์มาร์คเกอร์

การ์ดเวทมนตร์

[แก้]

เป็นการใช้การ์ดที่ไม่ใช่มอนสเตอร์ช่วยในการแข่งขัน โดยมีหลายแบบดังนี้

  1. ปกติ : ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง
  2. ความเร็วสูง/ฉับพลัน : สามารถใช้งานได้ตามใจชอบในเทิร์นของเรา หรือหมอบไว้ใช้แบบการ์ดกับดัก
  3. ต่อเนื่อง : ใช้แล้ว จะคงอยู่บนสนาม
  4. สวมใส่ : ใช้สวมใส่ให้กับมอนสเตอร์เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่ง
  5. สนาม : คล้ายกับเวทมนตร์ต่อเนื่อง แต่จะใช้ในช่องพิเศษ
  6. การ์ดพิธีกรรม :เป็นการ์ดที่ใช้อัญเชิญมอนสเตอร์พิธีกรรม

การ์ดกับดัก

[แก้]

เป็นการ์ดที่คล้ายกับการ์ดเวท มีสีม่วงอ่อน แต่จะต้องหมอบคว่ำไว้ และสามารถสั่งใช้งานได้ตามใจชอบ (นอกจากจะมีเงื่อนไขเป็นอื่น)

  1. การ์ดปกติ : ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง
  2. การ์ดต่อเนื่อง : ใช้แล้ว จะคงอยู่บนสนาม
  3. เคาน์เตอร์ : ใช้เพื่อตอบโต้การกระทำต่าง ๆ

ยูกิโอ สปีดดูเอล

[แก้]

ยูกิโอ รัชดูเอล

[แก้]

ยูกิโอ เทรดดิงการ์ดเกม ในประเทศไทย

[แก้]

ปัจจุบันการ์ดเกมยูกิโอในประเทศไทย ยังไม่ได้มีลิขสิทธิ์แปลเป็นภาษาไทยอย่างเป็นทางการ แต่มีการนำเข้าการ์ดลิขสิทธิ์แท้จากต่างประเทศ โดยการ์ดภาษาญี่ปุ่น เดิมมีบริษัท NIDA เป็นตัวแทนจำหน่าย แต่ปัจจุบันบริษัท คิดซ์ แอนด์ คิทซ์ จำกัด ได้เป็นตัวแทนจำหน่ายแทน ส่วนการ์ดภาษาอังกฤษ นำเข้ามาตามความต้องการของผู้ค้าอื่น ๆ

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Yu-Gi-Oh! TRADING CARD GAME". yugioh-card.com. สืบค้นเมื่อ August 24, 2014.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]