ยุทธ์ ชัยประวิตร
ดร.ยุทธ์ ชัยประวิตร (ชื่อเดิม: อายุทธ์ จิรชัยประวิตร; เกิดเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2510) จบการศึกษาระดับประถมกับมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มัธยมปลายจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ปริญญาตรีเกียรตินิยมจาก คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโท จากมหาวิทยาลัยโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ปริญญาเอก จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ
ดร.ยุทธ์ เป็นอาจารย์พิเศษในระดับปริญญาโทของมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ มีประสบการณ์ทำงานเป็น ประธานอนุกรรมการ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) เป็นผู้ช่วยเลขาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีผลงานทางด้านการตรวจสอบ วิจัยและเสนอแนะเกี่ยวกับกิจการโทรคมนาคมหลายเรื่อง
ในการเลือกตั้งในปลายปี พ.ศ. 2550 ดร.ยุทธ์ ในขณะนั้นซึ่งยังใช้ชื่อว่า อายุทธ์ ได้สมัครเป็นสมาชิกพรรคมัชฌิมาธิปไตย และลงเลือกตั้งในเขต 2 กรุงเทพมหานคร ซึ่งประกอบด้วยเขตสาทร บางคอแหลม ยานนาวา คลองเตย และวัฒนา คู่กับนายพิเชียร อำนาจวรประเสริฐ และนางสาวสุภาภรณ์ แสงทอง อดีตนักแสดง แต่ไม่ได้รับเลือก [1] โดยในช่วงการหาเสียงเลือกตั้ง นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ หัวหน้าพรรคมัชฌิมาธิปไตย ได้กล่าวถึง ดร.ยุทธ์ว่า มีความเก่งกาจ ความรู้สูง เป็นคนหนุ่มรุ่นใหม่ อีกทั้งยังหน้าตาดี จนสามารถนำไปเปรียบกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ได้[2]
ต่อมาในปี พ.ศ. 2554 ดร.ยุทธ์ ได้รับเลือกจากคณะกรรมการสรรหาให้เป็นกรรมการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) แทนนายอรรถชัย บุรกรรมโกวิท ที่มีคุณสมบัติขัดต่อกฎหมาย[3]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2549 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ http://www.dailynews.co.th/election/?p=1068
- ↑ พรรคมัชฌิมาธิปไตย กับ ‘ประชัย เลี่ยวไพรัตน์’
- ↑ เลือก"ยุทธ์ ชัยประวิตร"นั่ง 1 ใน22 กสทช.แทน"อรรถชัย บุรกรรมโกวิท" จากโอเคเนชั่น[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑๔๗, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๙
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ส่วนตัว เก็บถาวร 2007-12-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- นักวิชาการชาวไทย
- อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์
- บุคคลจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
- นิสิตเก่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยโตเกียว
- ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์
- บุคคลจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
- บุคคลจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
- วิศวกรชาวไทย
- นักวิจัย
- นักการเมืองไทย
- พรรคมัชฌิมาธิปไตย
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2510
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่