ยุทธการที่แม่น้ำซาบ
ยุทธการที่แม่น้ำซาบ | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ การปฏิวัติราชวงศ์อับบาซียะฮ์ | |||||||
แผนที่แม่น้ำซาบในประเทศอิรัก | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
รัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์ | รัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์ | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
แอบูมูสลีม[1] อัสซัฟฟาห์[2] อับดุลลอฮ์ อิบน์ อะลี[3][4] อะบูเอาน์ | มัรวันที่ 2 (ได้รับบาดเจ็บในขณะปฎิบัติหน้าที่)[ต้องการอ้างอิง] | ||||||
กำลัง | |||||||
ประมาณ 40.000 นาย[ต้องการอ้างอิง] | ประมาณ 120,000 นาย[5] |
ยุทธการที่แม่น้ำซาบ (อาหรับ: معركة الزاب) เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 25 มกราคม ค.ศ. 750 ที่ริมฝั่งแม่น้ำซาบใหญ่ (Great Zab) ในประเทศอิรักปัจจุบัน เป็นการสู้รบระหว่างฝ่ายราชวงศ์อุมัยยะฮ์กับฝ่ายราชวงศ์อับบาซียะฮ์ ยุทธการครั้งนี้ทำให้ราชวงศ์อุมัยยะฮ์หมดอำนาจในตะวันออกกลางและราชวงศ์อับบาซียะฮ์ขึ้นมามีอำนาจแทนจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 13
ใน ค.ศ. 747 เกิดการลุกฮือต่อต้านราชวงศ์อุมัยยะฮ์ซึ่งปกครองตะวันออกกลางในช่วง ค.ศ. 661–750 นำโดยราชวงศ์อับบาซียะฮ์ สาเหตุหลัก ๆ มาจากผู้ปกครองที่ใช้อำนาจในทางมิชอบและความเชื่อทางศาสนาที่ว่าราชวงศ์อับบาซียะฮ์นั้นสืบทอดมาจากศาสดามุฮัมมัดและควรมีสิทธิในการปกครองชาวมุสลิม
ต่อมาใน ค.ศ. 750 กองทัพของเคาะลีฟะฮ์มัรวันที่ 2 (Marwan II) ได้นำทัพเข้าสู้รบกับฝ่ายราชวงศ์อับบาซียะฮ์ที่ร่วมกับมุสลิมชีอะฮ์และชาวเปอร์เซียที่ริมฝั่งแม่น้ำซาบใหญ่ ฝ่ายอับบาซียะฮ์ได้ใช้ยุทธวิธีของซีเรียคือก่อแนวไม้แหลมขึ้น (คล้ายกับยุทธวิธีของพลธนูอังกฤษในยุทธการที่อาแซ็งกูร์และเครซี) ทหารม้าอุมัยยะฮ์จึงบุกเข้าแนวไม้แหลมเพื่อหวังทำลายแนวไม้ ซึ่งเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาดและทำให้เสียทหารม้าไปมากมาย ทัพอุมัยยะฮ์แตกพ่าย ส่วนใหญ่ถูกทหารอับบาซียะฮ์ไล่ฆ่า บางส่วนจมในแม่น้ำซาบ
หลังยุทธการครั้งนี้ มัรวันที่ 2 ได้หลบหนีไปที่เมืองอะบูซีร์ (Abusir) ริมแม่น้ำไนล์ของอียิปต์ แต่ถูกจับตัวได้และถูกสังหาร[6] อัส-ซัฟฟะห์ (As-Saffah) ได้ขึ้นเป็นเคาะลีฟะฮ์องค์ใหม่และสถาปนาราชวงศ์อับบาซียะฮ์ขึ้นปกครองแทน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ For a source confirming Abu Muslim as a leader in the battle, see EUF Staff (2019). "'Abbāsides: La révolution 'abbāside". Encyclopædia Universalis (ภาษาฝรั่งเศส). Hervé Rouanet, Directeur général (online ed.). Boulogne-Billancourt, France: Encyclopædia Universalis France (EUF), for Encyclopedia Britannica. สืบค้นเมื่อ 17 December 2019.
Abū Muslim déclencha l'opération en 747 et la victoire fut acquise à la bataille du Grand Zāb en 750. Ibrāhīm étant mort entre-temps, Abū Muslim proclama calife son frère Abū l-‘Abbās, dit as-Saffāḥ, en 749 à Kūfa. Abū Muslim started the operation in 747 and victory was gained at the Battle of the Great Zāb in 750. Ibrāhīm having died in the meantime, Abū Muslim proclaimed [as] caliph his brother Abū l-'Abbās, known as as-Saffāḥ, in 749 in Kūfa.
- ↑ Kennedy, H. (2004). The prophet and the age of the caliphates. 2nd ed.
- ↑ Zetterstéen 1987, pp. 22–23.
- ↑ Grohmann & Kennedy 1995, p. 985.
- ↑ Ibn Kathir Al-Bidāya wa-n-Nihāya (The Beginning and The End)
- ↑ Marwan II | biography - Umayyad caliph | Britannica.com[ลิงก์เสีย]
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Afsaruddin, Asma (8 March 2018). "Islamic History: Umayyad Dynasty". Encyclopædia Britannica (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). J.E. Luebering, Exec. Dir., Core Editorial Group (online ed.). Chicago, IL: Encyclopædia Britannica. สืบค้นเมื่อ 17 December 2019. See also the topic, Battle of the Great Zab River.
- "Islamic History: Abbasid Caliphate". Encyclopædia Britannica (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). J.E. Luebering, Exec. Dir., Core Editorial Group (online ed.). Chicago, IL: Encyclopædia Britannica. 2019. สืบค้นเมื่อ 17 December 2019.
{{cite encyclopedia}}
: CS1 maint: others (ลิงก์) See also the topic, Battle of the Great Zab River.
- Kennedy, Hugh N. (n.d.). The Court of the Caliphs – When Baghdad Ruled the Muslim World. Unknown location: Unknown publisher.[ไอเอสบีเอ็น ไม่มี]