ยุทธการที่วงรอบปูซาน
ยุทธการที่วงรอบปูซาน | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ สงครามเกาหลี | |||||||
300px|border|alt=Men sit in foxholes watching over a lower terrain feature ทหารของหน่วยทหารราบสหรัฐที่ 27 กำลังรอการโจมตีของเกาหลีเหนือที่กำลังข้ามแม่น้ำนักดงจากตำแหน่งบนวงรอบปูซาน, 4 กันยายน ค.ศ. 1950. | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
เกาหลีเหนือ | |||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
ดักลาส แมกอาเธอร์ Walton Walker Chung Il-Kwon Shin Sung-Mo George Stratemeyer Arthur Dewey Struble |
Choi Yong-kun Kim Chaek Kim Ung Kim Mu Chong | ||||||
หน่วยที่เกี่ยวข้อง | |||||||
Eighth Army Fifth Air Force Seventh Fleet ROK Army ROK Navy (Main article) |
People's Army | ||||||
กำลัง | |||||||
141,808 total (92,000 combat)[1] | 98,000 (70,000 combat)[2] | ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
South Korea: 40,000?+[3] United States: 4,599 killed 12,058 wounded 2,701 missing 401 captured[4] 60 tanks United Kingdom: 5 killed, 17 wounded India: 1 killed 2 war correspondents 60,504 total casualties |
63,590 total casualties 3,380 captured[5] 239 T-34 tanks 74 SU-76 guns |
ยุทธการที่วงรอบปูซาน เป็นการสู้รบขนาดใหญ่ระหว่างกองทัพของกองบัญชาการสหประชาชาติ(UN Command)และกองทัพเกาหลีเหนือที่ยืดเยื้อเป็นเวลานาน นับตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม ถึง 18 กันยายน ค.ศ. 1950 มันเป็นหนึ่งในการสู้รบที่สำคัญเป็นครั้งแรกของสงครามเกาหลี กองทัพทหารบกยูเอ็นกว่า 140,000 นายที่หลังจากถูกผลักดันจนเกือบจะพ่ายแพ้ ได้รวมตัวกันเพื่อทำการสู้รบตั้งรับครั้งสุดท้ายกับการรุกรานของกองทัพประชาชนเกาหลี จำนวน 98,000 นายที่แข็งแกร่งกว่า
กองทัพยูเอ็น,ได้พ่ายแพ้ซ้ำแล้วซ้ำเล่าโดยการรุกของกองทัพประชาชนเกาหลี ได้ถูกบีบบังคับให้ล่าถอยไปยัง"วงรอบปูซาน" แนวป้องกันระยะทาง 140 ไมล์(230 กิโลเมตร)บริเวณรอบพื้นที่ทางปลายสุดด้านตะวันออกเฉียงใต้ของเกาหลีใต้ซึ่งรวมถึงท่าเรือพูซัน กองกำลังทหารยูเอ็นซึ่งประกอบด้วยกองทัพส่วนใหญ่จากสาธารณรัฐเกาหลี สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักรที่ได้ตั้งฐานทัพแห่งสุดท้ายบริเวณวงรอบ ได้ต่อสู้รบกับการโจมตีอย่างต่อเนื่องของกองทัพประชาชนเกาหลีเป็นเวลาหกสัปดาห์ ในขณะที่พวกเขาได้สู้รบกันบริเวณรอบๆเมืองแทกู, มาซัน(Masan) โปฮัง(Pohang)และแม่น้ำนักดง(Nakdong River) การโจมตีครั้งใหญ่ของกองทัพประชาชนเกาหลีไม่ประสบความสำเร็จในการบีบบังคับกองกำลังทหารยูเอ็นให้ล่าถอยห่างจากเส้นวงรอบ แม้ว่าจะมีการผลักดันครั้งใหญ่สองครั้งในเดือนสิงหาคมและกันยายน
กองกำลังทหารเกาหลีเหนือได้หยุดชะงักจากความขาดแคลนปัจจัยและความสูญเสียครั้งใหญ่ ทำให้เกิดการโจมตีอย่างต่อเนื่องของกองทัพยูเอ็นในความพยายามที่จะเจาะทะลวงเส้นวงรอบและทะลายแนว อย่างไรก็ตาม, สหประชาชาติได้ใช้ท่าเรือนี้เพื่อสร้างความได้เปรียบอย่างล้นหลามในกองกำลังทหาร อุปกรณ์ และโลจิสิกส์ และกองทัพเรือและกองทัพอากาศที่เหลืออยู่ไม่ได้ถูกขัดขวางโดยกองทัพประชาชนเกาหลีในช่วงระหว่างการรบ ภายหลังหกสัปดาห์ กองทัพประชาชนเกาหลีได้พังทะลายและล่าถอยในความพ่ายแพ้หลังกองทัพยูเอ็นได้เปิดฉากการโจมตีตอบโต้กลับที่อินช็อน เมื่อวันที่ 15 กันยายน และกองทัพยูเอ็นที่อยู่ในวงรอบได้บุกทะลวงจากวงรอบในวันต่อมา การรบครั้งนี้เป็นการรุกของกองทัพประชาชนเกาหลีที่ไปได้ไกลกว่า เช่นเดียวกับผลลัพธ์ของการสู้รบในสงครามกลายเป็นทางตัน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Fehrenbach 2001, p. 113.
- ↑ Appleman 1998, p. 395.
- ↑ Appleman 1998, p. 605.
- ↑ Ecker 2004, p. 32.
- ↑ Appleman 1998, p. 546.