ยุทธการที่กอกามีลา
36°33′36″N 43°26′38″E / 36.56°N 43.444°E
ยุทธการที่กอกามีลา | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ สงครามพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช | |||||||||
ยุทธการที่กอกามีลาบนพรมผนังเฟลมิช ช่วงต้นศตวรรษที่ 18 | |||||||||
| |||||||||
คู่สงคราม | |||||||||
มาซิดอน สันนิบาตเฮลเลนิก | จักรวรรดิอะคีเมนิด | ||||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||||
พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช เฮฟีสเทียน พาร์มีเนียน |
พระเจ้าดาไรอัสที่ 3 เบสซัส โอรอนทีสที่ 2 † | ||||||||
กำลัง | |||||||||
47,000 คน[1] |
50,000–100,000[2] | ||||||||
ความสูญเสีย | |||||||||
ทหารราบ 100 คน ทหารม้า 1,000 คน (แอร์เรียน) ; ทหารราบ 300 คน (ควินตัส เคอร์เชียส รูฟัส) ; ทหารราบ 500 คน (ไดโอโดรัส ซิคุลัส) |
40,000 คน (ควินตัส เคอร์เชียส รูฟัส) 47,000 คน (เวลแมน)[3] 90,000 คน (ไดโอโดรัส ซิคุลัส) ถูกจับ 300,000+ คน (แอร์เรียน) [4] |
ยุทธการที่กอกามีลา (อังกฤษ: Battle of Gaugamela) หรือ ยุทธการที่อาร์เบลา (Battle of Arbela) เป็นยุทธการที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 331 ปีก่อนคริสต์ศักราช เป็นการสู้รบระหว่างทัพมาซิดอนร่วมกับสันนิบาตโครินธ์ นำโดยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชและทัพเปอร์เซีย นำโดยพระเจ้าดาไรอัสที่ 3 ยุทธการครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของสงครามพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช สนามรบอยู่ใกล้กับเมืองเออร์บิล ประเทศอิรักในปัจจุบัน
เบื้องหลัง
[แก้]หลังความพ่ายแพ้ที่อิสซัส พระเจ้าดาไรอัสที่ 3 ทรงลี้ภัยไปอยู่ที่บาบิโลน ส่วนพระราชวงศ์ของพระองค์ถูกพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชจับตัวไว้ได้ ความพ่ายแพ้ครั้งนี้ทำให้พระองค์สูญเสียพระราชอำนาจในเอเชียน้อยใต้ และความพ่ายแพ้ต่อมาที่กาซาและไทร์ ทำให้พระองค์สูญเสียดินแดนลิแวนต์
พระเจ้าดาไรอัสพยายามเจรจากับพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ 3 ครั้ง[5] ครั้งแรกเรียกร้องให้พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ถอนทัพและปล่อยเชลยศึก แต่พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ทรงปฏิเสธ ครั้งที่สองพระเจ้าดาไรอัสเสนอให้มีการอภิเษกสมรสระหว่างพระเจ้าอเล็กซานเดอร์กับเจ้าหญิงบาร์ซิน พระธิดาของพระองค์ พร้อมกับยกดินแดนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำฮาลีสให้ แต่พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ก็ทรงปฏิเสธ[6] ครั้งสุดท้ายพระเจ้าดาไรอัสกล่าวยกย่องพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ปฏิบัติต่อพระราชวงศ์ของพระองค์เป็นอย่างดี และเสนอจะยกดินแดนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำยูเฟรทีส พร้อมทั้งให้เป็นผู้ปกครองจักรวรรดิอะคีเมนิดร่วมกับพระองค์ รวมถึงทรัพย์สมบัติและบริวารต่าง ๆ แต่พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ก็ทรงปฏิเสธอีกครั้ง พระองค์สั่งให้พระเจ้าดาไรอัสยอมแพ้หรือสู้รบกันเพื่อตัดสินว่าใครจะเป็น "เจ้าแห่งเอเชีย"[7]
การสู้รบ
[แก้]พระเจ้าดาไรอัสทรงเลือกที่ราบโล่งเพื่อให้ทัพของพระองค์ได้เปรียบ การประมาณการฝ่ายเปอร์เซียในปัจจุบันอยู่ที่ 52,000[8]-120,000 คน[9] รวมถึงรถศึกติดใบมีดและช้างศึก ในขณะที่ทัพของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มีการประมาณการอยู่ที่ 47,000 คน[1] พระเจ้าอเล็กซานเดอร์แบ่งทัพออกเป็นสองฝั่ง โดยพระองค์นำทัพฝั่งขวา ส่วนแม่ทัพพาร์มีเนียนนำทัพฝั่งซ้าย ส่วนตรงกลางจัดเป็นรูปขบวนแฟแลงซ์ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์นำทัพฝั่งขวาบุก ทำให้ฝ่ายเปอร์เซียต้องส่งทัพฝั่งซ้ายมาสกัด ส่งผลให้เกิดช่องว่างพอที่จะทำให้พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ฝ่าเข้าไปเกือบถึงจุดที่พระเจ้าดาไรอัสประทับอยู่ พระเจ้าดาไรอัสส่งรถศึกติดใบมีดออกมาตอบโต้แต่ไม่ได้ผล การรบมาถึงจุดตัดสินเมื่อพระเจ้าอเล็กซานเดอร์สั่งรวมกำลังเจาะเข้าตรงกลางทัพเปอร์เซีย พระเจ้าดาไรอัสตัดสินพระทัยที่จะหนีก่อนทัพมาซิดอนจะบุกมาถึงพระองค์ ด้านพระเจ้าอเล็กซานเดอร์นำทัพกลับไปช่วยทัพของพาร์มีเนียนและขับไล่ทัพเปอร์เซียที่เหลืออยู่ออกไปได้[10]
หลังยุทธการครั้งนี้ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ทรงราชาภิเษกขึ้นเป็น "เจ้าแห่งเอเชีย" ด้านพระเจ้าดาไรอัสที่หลบหนีไปตั้งใจจะรวบรวมกำลังเพื่อสู้กับพระเจ้าอเล็กซานเดอร์อีกครั้ง แต่ถูกเบสซัส แม่ทัพคนหนึ่งของพระองค์ปลงพระชนม์เสียก่อน การสวรรคตของพระองค์นำไปสู่การล่มสลายของจักรวรรดิอะคีเมนิด[11]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Green, Peter (2013). Alexander of Macedon, 356–323 B.C.: A Historical Biography. Berkeley and Los Angeles, California: University of California Press. ISBN 978-0-520-95469-4., p.288
- ↑ Clark, Jessica H.; Turner, Brian (2017). Brill’s Companion to Military Defeat in Ancient Mediterranean Society (ภาษาอังกฤษ). BRILL. p. 78. ISBN 9789004355774. สืบค้นเมื่อ 30 August 2019.
- ↑ Welman
- ↑ Arrian 1893.
- ↑ Diodorus Siculus 1963, footnote 79.
- ↑ Diodorus Siculus 1963, 17.39.1–2.
- ↑ Diodorus Siculus 1963, 17.54.1–6.
- ↑ Delbrück 1990.
- ↑ Warry (1998) estimates a total size of 91,000, Welman 90,000, Thomas Harbottle 120,000, Engels (1920) and Green (1990) no larger than 100,000.
- ↑ "Battle of Gaugamela". Ancient History Encyclopedia. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "Achaemenid Empire Timeline". Ancient History Encyclopedia. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ยุทธการที่กอกามีลา