ข้ามไปเนื้อหา

ยีราฟโซฟี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เด็กทารกขณะกำลังเล่นกับยีราฟโซฟี

ยีราฟโซฟี (อังกฤษ: Sophie the Giraffe) เป็นของเล่นยางกัด สำหรับเด็กทารกที่มีการงอกของฟันเพื่อบริหารการฝึกเคี้ยว โดยเป็นในรูปแบบหุ่นยีราฟยางพาราสูง 6 นิ้ว[1]

ประวัติ

[แก้]

ของเล่นชนิดนี้ได้ผลิตขึ้นในประเทศฝรั่งเศส ในชื่อ โซฟีลาจีราฟ (Sophie la Girafe) ตั้งแต่ ค.ศ. 1961 โดยผลิตครั้งแรกในอะนีเอเร-ซุร์-อัวซ ใกล้กับกรุงปารีส โดยบริษัทเดอลาคอสท์ หลังจากนั้น ใน ค.ศ. 1991 ได้มีการผลิตโดยบริษัทวุลี ซึ่งตั้งอยู่ที่รูมิลี ในเฟรนช์แอลป์ โดยชื่อของเล่นนี้อ้างมาจากการเปิดตัวในวันที่ 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1961 ซึ่งเป็นวันที่เกี่ยวข้องกับชื่อโซฟี และประสบความสำเร็จในสถานะไอคอนประจำชาติฝรั่งเศส ตามรายงานจากนิตยสารสเลท ที่มียอดจำหน่าย (816,000 ตัวใน ค.ศ. 2010) มากกว่าจำนวนทารกแรกเกิด (796,000 คน)

โซฟียังได้รับความนิยมในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นของเล่นที่หาได้ง่ายในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา และแม้กระทั่งปรากฏตัวในภาพยนตร์ อ้อนมาจากตะกร้า (ค.ศ. 1987) และมันได้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ทารกขายดีที่นำเสนอโดยแอมะซอน.คอม[1] และได้เปิดตัวในรัฐแคลิฟอร์เนียในพื้นที่ฮอลลีวูดอินเทรนด์[2] มันได้รับความนิยมผ่านการบอกเล่าปากต่อปาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแอมะซอน.คอม ตั้งแต่ ค.ศ. 2008 เหตุผลต่อความสำเร็จนี้มาจากการตลาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม[1] และจากความหวาดระแวงของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นต่อการรักษาความปลอดภัยและมาตรฐานสุขภาพของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในประเทศจีนตั้งแต่ ค.ศ. 2007 [3]

ใน ค.ศ. 2009 โซฟีเป็นที่ยอมรับในฐานะสินค้าแห่งปีโดยสมาคมของเล่นค้าปลีกพิเศษแห่งอเมริกา

ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2011 ได้เกิดปัญหาจากนิตยสารสำหรับผู้บริโภคชาวเยอรมัน เออโค-เทสท์ ซึ่งได้รายงานว่าไม่ควรมีการจำหน่ายยีราฟโซฟีในประเทศเยอรมนีเนื่องด้วยละเมิดต่อกฎหมายข้อจำกัดในค่าของสารประกอบไนโตรซามีน จากการทดสอบพบที่ 0.781 มก./กก. ในขณะที่ค่ามาตรฐานของเบอดาร์ฟสเกเกนชเตนเดอแฟร์ออร์ดนุง (Bedarfsgegenständeverordnung, BedGgstV) ในอาหารและผลิตภัณฑ์ของเยอรมนีกำหนดไว้ที่ 0.1 มก./กก. ส่วนบริษัทวุลีได้กล่าวในเบื้องต้นว่าเป็นกฎระเบียบบังคับใช้แบบอื่น ซึ่งได้ตามแนวทางที่ยุโรปกำหนดใช้กับของเล่นอยู่ที่ระดับจำกัดของ 0.1 มก./กก. อยู่แล้ว และได้มีคำสั่งเบื้องต้นของศาลแขวงเบอร์ลินในการห้ามเผยแพร่รายงานของเออโค-เทสท์ โดยเรื่องดังกล่าวได้ถูกลบออกจากเว็บไซต์ของนิตยสาร จากนั้นคำสั่งนี้ได้ถูกยกในเดือนมกราคม ค.ศ. 2012 เมื่อเคมิชเชอะ อุนด์ เฟอแทริแนร์อุนเทอร์ซูคคุงส์อัมท์ ชทุทการ์ท (Chemische und Veterinäruntersuchungsamt Stuttgart, CVUA) ได้ทำการร้องเรียนซ้ำกับของเออโค-เทสท์ โดยได้ร้องเรียนต่อเทคนิชเชอร์ อือแบร์ฟาคุงส์แฟร์ไรน์ (Technischer Überwachungsverein, TÜV) ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านความปลอดภัยในเยอรมนี โดยฟ้องบริษัทวุลี และ เออโค-เทสท์ ได้นำรายงานขึ้นทางเว็บไซต์ออนไลน์ของพวกเขาอีกครั้ง ทางวุลีจึงได้ตอบสนองด้วยการเรียกคืนยีราฟโซฟีและผลิตภัณฑ์ที่มีความคล้ายกันออกจากร้านค้าปลีกของเยอรมัน และเสนอที่จะเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ให้ใหม่ในช่วงเดือนมีนาคม ค.ศ. 2012 หรือหลังจากนั้น โดยทางบริษัทวุลีได้กล่าวว่าจะยึดมั่นตามข้อจำกัดของเยอรมันอย่างเข้มงวด[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 Levin, Josh (7 March 2011). "I'm French, Chew on Me: Sophie the Giraffe, the European teething toy that's sweeping America". Slate magazine. สืบค้นเมื่อ 7 March 2011.
  2. How Sophie the giraffe became a status teether in The Los Angeles Times October 3rd 2009.
  3. As More Toys Are Recalled, Trail Ends in China , The New York Times, June 19th 2007.
  4. "Öko-Test's summary of the claims, response, court actions and recall (in German)",'Öko-Test', June 9, 2012.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]