ข้ามไปเนื้อหา

ยาไอซ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ยาไอซ์ หรือ เมทท์แอมเฟตตามีน เป็นหัวเชื้อเคมีสารอนุพันธ์ุสกัดบริสุทธิ์ในกลุ่มแอมเฟตามีน อนุพันธ์ประกอบส่วนหนึ่งที่พบเป็นองค์ประกอบทางเคมีอยู่ในยาบ้า จัดประเภทนับเป็นยากลุ่มออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทประเภทที่ 1 เช่นเดียวกันโดยเกี่ยวพันกันทั้งกลุ่ม ตามพระราชบัญญัติยาเสพติด (พรบ. ยาเสพติด) พ.ศ. 2522ข้อมูลนี้จริงหรอ

ประวัติ

[แก้]

แอมเฟตามีน เป็นสารที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นมาในปี ค.ศ. 1887 โดย นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันชื่อ เอเดเลียโน (Edeleno) ในรูปของแอมเฟตามีนซัลเฟต (Amphetamine Sulphate) ต่อมาในปี ค.ศ. 1888 นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่น ก็สามารถ สังเคราะห์อนุพันธ์ของแอมเฟตามีนได้อีกตัวหนึ่งคือ เมแทมเฟตามีน (Methamphetamine) ซึ่งมีผลต่อระบบ ประสาทส่วนกลางได้รุนแรงกว่า

ในอดีตที่ ประเทศสหรัฐอเมริกาแอมเฟตามีนถูก ใช้เป็นยารักษาโรคหลายชนิด ที่นิยมแพร่หลายเป็นยาดมแก้หวัด คัดจมูก ชื่อยาเบนซีดรีน (Ben zedrine) มีไส้กระดาษชุบด้วยน้ำยาบรรจุไว้ใน หลอดให้สูดดม แต่ก็มีผู้นำมาใช้ในทางที่ผิดเพื่อกระตุ้นร่างกาย และลดความอ้วน โดยนำไส้กระดาษซับมาจุ่มน้ำเพื่อละลายตัวยา แล้วนำมาใช้กินแทน ต่อมามีการผลิตแอมเฟตามีนอยู่มาในรูปยาเม็ดใช้กันอย่างแพร่หลายจนกลายเป็นยาสามัญประจำบ้าน ไม่ต้องมีใบสั่งยาก็ซื้อหามาใช้ได้ ในขณะนั้นมีการโฆษณาสรรพคุณของ แอมเฟตามีนว่าสามารถรักษาโรคได้ถึง 39 โรค เช่น โรคจิต โรคประสาท โรคซึมเศร้า โรคปวดศีรษะ เป็นต้นโดยไม่ได้ตระหนักถึงฤทธิ์ของยาที่ทำให้เสพติดกันมากนัก และมีประชาชนจำนวนมากที่นำมาใช้ในทางที่ผิด ในปี ค.ศ. 1939 สำนักงานคณะกรรมการ อาหารและยาของสหรัฐอเมริกาประกาศให้ยาจำพวกแอมเฟตามีนเป็นยาควบคุมซึ่งต้องมีใบสั่งยาจากแพทย์จึงจะซื้อได้ ทำให้การใช้ยาชนิดนี้ลดน้อยลงจากท้องตลาด และเริ่มมีการผลิตและจำหน่ายผิดกฎหมายอย่างแพร่หลาย และได้เข้ามาแพร่ระบาดในประเทศไทย ในช่วงปี ค.ศ. 1967

ลักษณะของเม็ดยา

[แก้]

ยาไอซ์เป็นผลึกใสคล้ายก้อนน้ำแข็ง จึงเป็นที่มาของชื่อยาไอซ์ ความบริสุทธิ์ของยาค่อนข้างสูง ออกฤทธิ์แรงกว่ายาบ้ามากจึงมีคนเรียกว่ายาไอซ์' ในขณะที่ต่างประเทศมักนิยมเรียกว่า Crystal Meth

การออกฤทธิ์

[แก้]

การออกฤทธิ์ต่อร่างกาย การออกฤทธิ์ของแอมเฟตามีนจะส่งผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งทำหน้าที่เก็บความจำความคิดและควบคุมการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ เช่นการเคลื่อนไหว การทรงตัว การถ่ายทอดความรู้สึกทำให้ตื่นตัว เคลิบเคลิ้ม ร่าเริง ไม่เหนื่อย ไม่ง่วง ตาแข็ง นอนไม่หลับคล้ายเป็นยาเพิ่มพลัง มีผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดกระตุ้นหัวใจทำให้เกิดอาการใจสั่น การไหลเวียนเลือดล้มเหลว เจ็บหน้าอกกระทบต่อทางเดินหายใจ จังหวะการหายใจไม่ปกติ มีผลต่อระบบการเดินอาหาร ปากแห้ง เบื่ออาหาร ไม่หิว คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสียและส่งผลต่อพฤติกรรมทางเพศ ซึ่งเมื่อเสพติดยาแล้วจะส่งผลให้สมรรถภาพทางเพศลดลง แต่ในผู้ใช้ไอซ์บางกลุ่มก็มักเสพเพื่อกระตุ้นอารมณ์ทางเพศหรือเพิ่มอรรถรสในการร่วมเพศ ทำให้ร่วมเพศได้นานขึ้นบางรายเสพแล้วมีความต้องการทางเพศสูง จึงมักเป็นที่นิยมในกลุ่มสาวไซด์ไลน์ แต่ต้องใช้ยาในปริมาณที่พอดี ในกลุ่มผู้เสพที่มีอายุในข่วงวัยทำงานพบมากที่ใช้ไอซ์เป็นประจำแต่สามารถควบคุมปริมาณการเสพได้จึงใช้แอมเฟตามีนให้เป็นประโยชน์ได้ในชีวิตประจำวันทุกวัน เสพในขนาดที่ไม่สูงนักจะทำให้ผู้ใช้รู้สึกสบายใจ กระปรี้กระเปร่า สมองปรอดโปร่ง คิดงานหรือสร้างสรรค์งานได้อย่างอัจฉริยะ ไม่ง่วงเหงา หาวนอนแต่หากใช้เป็นประจำและในปริมาณที่มากจะทำให้เกิดอันตรายเพราะเสมือนร่างกายจะถูกใช้งานหนัก ไม่มีเวลาพักผ่อน สุขภาพของผู้ใช้ยาจะทรุดโทรมและเมื่อมีการเพิ่มขนาดและความถี่ในการใช้ยามากขึ้น ที่สุดจะส่งผลกระทบต่อระบบประสาท เกิดอาการทางจิต พฤติกรรมเปลี่ยนไปในทางก้าวร้าว หงุดหงิด ขาดเหตุผลหลงผิด ประสาทหลอน ความจำเสื่อม กล้ามเนื้อกระตุก มีการเคลื่อนไหวมากขึ้น อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่ายถึงกับเพ้อคลั่งและหากใช้ยาในปริมาณที่สูงมาก อาจทำให้ชักและหมดสติได้การใช้ยาที่จะก่อให้เกิดการติดยาจะมีการใช้ยาเป็นประจำ และต้องเพิ่มปริมาณขึ้นเรื่อย ๆ เพราะมีการทนทานต่อยา (Tolerance) ต้องการยาในปริมาณที่มากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งทางจิตใจและร่างกายการพึ่งพาทางจิต (Dependence) เกี่ยวข้องกับอารมณ์ ทำให้ต้องการยาอยู่เรื่อย ๆ เมื่อหยุดใช้ยาทันทีจะมีอาการขาดยา (Withdrawal) จะแสดงอาการอ่อนเพลียมาก ง่วงนอนจัด ปวดกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง หิวจัด ความคิดสับสนวกวน หงุดหงิด หลังจากหยุดยาอาจเกิดอาการสะท้อนกลับ (Rebound Phenomene) ของอารมณ์จากตื่นตัว ร่าเริง จะเป็นซึมเศร้าและถึงขั้นฆ่าตัวตายได้ซึ่งก็จะส่งผลกระทบไปรอบด้านทั้งทางตรงและทางอ้อม

แอมเฟตามีนที่เป็นส่วนประกอบของยาบ้า สามารถ เสพเข้าสู่ ร่างกายทั้งการรับประทาน ฉีดเข้าเส้นเลือด และสูดดมไอ แต่การออกฤทธิ์และความรุนแรงจะแตกต่างกัน หากใช้โดยวิธีรับประทานกว่ายาจะผ่านกระเพาะอาหาร เข้าสู่กระแสเลือดแล้วไปออกฤทธิ์ที่สมองต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 20-30 นาที และยาบางส่วนจะถูกทำลายที่กระเพาะอาหารและที่ตับ ทำให้ความรุนแรงของยาลดน้อยลง การฉีดเข้าเส้นเลือด และการสูบไอ ฤทธิ์ของยาจะผ่านเข้าสู่สมองเร็วมากในระยะเวลาไม่กี่วินาที ทำให้ผู้เสพเกิดอาการกระชุ่มกระชวย และมีความสุข (Euphoria) ทันที เป็นเหตุให้ผู้เสพติดใจในฤทธิ์ของยาอย่างรวดเร็ว ยาบ้าจะออกฤทธิ์อยู่ในร่างกายประมาณ 1 วัน ขึ้นอยู่กับปริมาณการขับถ่ายออกจากร่างกาย การขับจะเร็วกว่าเมื่อปัสสาวะเป็นกรด ดังนั้นการ รักษาผู้ที่มีอาการจากฤทธิ์ยาบ้า เราจึงให้วิตามินซี หรือสารอื่นๆ ที่ทำให้ปัสสาวะเป็นกรด เพื่อเร่งการขับถ่ายทางปัสสาวะ

การนำไปใช้

[แก้]

ละลายน้ำแล้วฉีดเข้าเส้นเลือด บางคนนำไปเผาไฟแล้วสูดดมควันเหมือนการเสพยาบ้า ยาตัวนี้ทำให้อารมณ์เคลิบเคลิ้มสนุกสนานสดชื่นกระปรี้กระเปร่า ทำให้ติดได้ง่ายกว่า และมีอันตรายต่อร่างกาย อารมณ์และสังคมของผู้เสพมากกว่ายากลุ่มแอมเฟตามีนอื่นๆ ไม่ได้มีแพร่หลายกันทั่วไปเนื่องจากหายากและราคาค่อนข้างแพง มักจะใช้กันในสังคมไฮโซ นายนันท์ชัตสัณห์ สกุลพงศ์ นักจิตวิทยา ศูนย์บำบัดจังหวัดเชียงใหม่ ให้ข้อมูลว่า ยาไอซ์จะใช้เหมือนกับยากลุ่มยาบ้าอื่นๆ คือ สูดดม กลืนหรือสอดใส่ทวารหรืออาจใช้วิธีการสูบหรือฉีด ซึ่งผลจากยาจะรวดเร็วกว่า ผลกระทบของยาไอซ์จะแตกต่างกันไปในแต่ละคน ขึ้นอยู่กับขนาดร่างกาย น้ำหนัก ปริมาณและวิธีการใช้ยาเสพติด

ผลของยาไอซ์

[แก้]

ผลของยาไอซ์ที่มีต่อร่างกาย

[แก้]

รูม่านตาขยาย เหงื่อออกมาก การมองเห็นพร่ามัว วิงเวียน ร่างกายซูบผอม ริมฝีปากแห้ง ความดันโลหิตสูงขึ้น อัตราการหายใจสูงขึ้น อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น ปวดหัวอย่างรุนแรง อัตราการเต้นของหัวใจเร็วขึ้นและผิดปกติ มือและนิ้วสั่น คลื่นไส้อาเจียน ที่สำคัญคือมีภาวะผิดปกติเสียหายอย่างถาวรของเส้นโลหิตในสมอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ใช้ในปริมาณสูง หรืออาจจะช็อกหมดสติไปได้

ผู้ใช้เป็นประจำทั่วไป

[แก้]

ผู้ใช้ยาไอซ์เป็นระยะเวลานานจะมีคือ มีอาการคล้ายคลึงบางส่วนกับโรคซึมเศร้า ลดความอยากบริโภคของขบเคี้ยว ของจุกจิกขนมเบเกอรี่หวานที่มีน้ำตาลเพราะร่างกายถูกเติมเต็มด้วยตัวยาเมทแอมเฟตตามีนเข้าสู่ระบบเผาผลาญพลังงาน(เมทตาบอลิซึ่ม)แทนที่กันไปแล้วจึงไม่สนใจในอาหารและขนมคบเคี้ยวแบบในบุคคลอื่นๆโดยทั่วไปและส่งผลดีทางอ้อมในการควบคุมวินัยเพื่อการลดน้ำหนักให้ลดอย่างเห็นผลชัดเจนในผู้ใช้ที่แพทย์สั่งหรือต้องการผลข้อดังกล่าวเป็นหลักบางราย เพิ่มอัตราย้ำคิดย้ำทำ เพิ่มแนวโน้มความเสี่ยงของปอดสำหรับผู้เสพโดยการเผาผลึกเป็นควันแบบมวนบุหรี่และปืนควันบารากู่หรือเครื่องสูบบุหรี่ไฟฟ้าและไตเพราะขาดแรงจูงใจในการดื่มน้ำได้ ประสาทหลอนในบางรายแต่ไม่จำเป็นทุกราย บ้างพบความเชื่อมโยงทางอ้อมจากพฤติกรรมที่ส่งผลระยะยาวอาจทำให้เป็นหนึ่งในสาเหตุของการมีปัญหาเกี่ยวกับหินปูนและฟันสำหรับผู้ที่ใช้และไม่เอาใจใส่ต่อกิจวัตรประจำวันทำความสะอาดร่างกายโดยปัญหามาจากส่งผลต่ออารมณ์และบางรายที่ขาดความรู้อนามัยส่วนบุคคลในส่วนการอบรมเรื่องการดูแลสุขภาพอนามัยในช่องปากให้เกิดการขาดวินัยในการแปรงฟันในขณะเคลิ้มใจแต่หากดูแลสุขภาพช่องปากสม่ำเสมอไม่ลืมแปรงฟันหรือพบทันตแพทย์ทุก6 เดือนตามปกติเพื่อขูดหินปูนก็ไม่มีแนวโน้มในปัญหาดังกล่าวอย่างใด มีโรคต่างๆ เกี่ยวกับหัวใจ นอกจากนั้นในผู้เสพโดยเลือกวิธีการฉีดยาไอซ์เข้าทางเลือดทำให้ผู้ใช้อาจมีภาวะสุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสทางกระแสเลือดจากผู้อื่นได้ เช่น ตับอักเสบ B และ C โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีการใช้อุปกรณ์ฉีดยาร่วมกันซึ่งไม่แนะนำเช่นนั้นควรแยกอุปกรณ์และใช้แล้วทิ้งเลยทุกครั้งเพื่อความปลอดภัยในการไม่สลับหรือแยกไม่ได้จากการวางป่ะปนกัน

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]