ข้ามไปเนื้อหา

ยาดอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยาดองต่าง ๆ

ยาดอง หรือ ยาดองเหล้า คือ ยาที่ใช้เครื่องสมุนไพรห่อแช่เหล้าเป็นต้น กินบำรุงร่างกายหรือแก้โรค อย่างไรก็ตามในปัจจุบันมีทั้งดองเหล้า ดองเกลือ ดองน้ำผึ้งและยาดองที่ไม่มีแอลกอฮอล์ การรับประทานมีการแนะนำว่ากินครั้งละไม่ 30 ซีซี หรือ 1 แก้วเป๊ก มากสุดต้องไม่เกิน 2 แก้วเป๊กต่อวัน ยาดองมีสรรพคุณด้านการบ้ารุงก้าลังแก้ปวดเมื่อย ปวดหลัง ปวดเอว บางต้ารับมีสรรพคุณที่ใช้บ้ารุงโลหิต บำรุงก้าหนัดแก้ปัญหาหย่อนสมรรถภาพทางเพศได้ ฯลฯ[1]

ยาดองมักตั้งชื่อตามชื่อของสมุนไพรที่นำมาใช้เป็นส่วนผสม ซึ่งจะสอดคล้องกับสรรพคุณบางอย่างที่ได้จากสมุนไพรชนิดนั้น ๆ เช่น พญาเสือโคร่ง ม้ากระทืบโรง โด่ไม่รู้ล้ม กำลังช้างสาร สาวร้อยผัวหรือรากสามสิบ และสาวสะดุ้ง เป็นต้น[2]

การดื่มยาดองพบได้ทั่วทุกภาคประเทศไทยและพบในกลุ่มคนทั่วไป พบในเพศชายเป็นหลัก เพราะความเชื่อเรื่องการเสริมสร้างสมรรถภาพทางเพศ มีจำหน่ายตามร้านขายยาดองหรือซุ้มยาดอง ยาดองเป็นที่นิยมในกลุ่มผู้ใช้แรงงาน และมีบางตำรับยาที่ช่วยให้กุลสตรีบำรุงโลหิต หลังคลอดที่อยู่ไฟไม่ได้ จึงมีสตรีดื่มยาดองในตำรับนี้[3]

ยาดองเป็นการนำเอาสมุนไพรมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วนำไปตากแดดหรืออบให้แห้ง จากนั้นให้นำตัวยาทั้งหมดห่อด้วยผ้าขาวบางใส่ลงขวดโหลแช่เหล้าทิ้งไว้ 30–60 วันเป็นอย่างน้อย โดยเหล้าที่ใช้เป็นส่วนผสมนั้นมักจะใช้เป็นเหล้าโรงหรือเหล้าขาวที่มีปริมาณความเข้มข้นของแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ 28–40 ดีกรี[4]

กรณีการเสียชีวิตจากยาดอง ที่พบคือ ยาดองใส่เมทานอล มีรายงานเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2567 โดยมีผู้เสียชีวิต 6 ราย[5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ยาดองสมุนไพร สุขภาพในน้ำสีอัมพัน" (PDF).
  2. "ชื่อยาดองไทย สมุนไพร และสรรพคุณ". เดอะแมตเทอร์.
  3. ณัฏฐิรา กาญจนศิลป์, พงษ์บริพัตร พันธางกูร. "ยาดองเหล้าสมุนไพรไทย". มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์.
  4. ชญาณิศร์ โพธิ์ทอง. "มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการผลิตและการจำหน่ายยาดองเหล้า" (PDF).
  5. "เสียชีวิตอีก 2 คลัสเตอร์เหล้าเถื่อนตายแล้ว 6 คน". ไทยพีบีเอส.